‘สมชาย’ วิเคราะห์ จม.อานนท์ ชวน ‘นร.กฎหมาย’ คิด สถานการณ์เลวร้ายในห้องขัง คือการบังคับสารภาพหรือไม่ ?

‘สมชาย’ วิเคราะห์ จม.อานนท์ ชวน ‘นร.กฎหมาย’ ขบคิด สถานการณ์เลวร้ายในห้องขัง คือการ ‘บังคับสารภาพ’ หรือไม่ ?

เมื่อวันที่ 9 เมษายน แฟนเพจชื่อ “ศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง” ได้โพสต์ข้อเขียน รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยระบุว่า

จดหมายจากอานนท์ นำภา บอกอะไรแก่นักเรียนกฎหมายได้บ้าง

นักเรียนกฎหมายคงคุ้นเคยว่าการสารภาพที่มาจากการบังคับ (forced confession) เป็นสิ่งที่มิอาจรับฟังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผลมาจากการใช้กำลังทำร้าย หรือข่มขู่ หรือวิธีการอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน เนื่องจากการสารภาพจะมิได้เกิดขึ้นด้วยเจตจำนงของบุคคลนั้นๆ อย่างแท้จริง

ธงชัย วินิจจะกูล เคยตั้งคำถามว่ากรณีการไม่ให้ประกันตัวแล้วทำให้ผู้ต้องหาต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์อันเลวร้ายในห้องขัง แม้จะไม่ใช่ด้วยการใช้กำลังทางกายภาพต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องขัง จะถือเป็นการบังคับให้สารภาพชนิดหนึ่งได้หรือไม่

Advertisement

ข้อเท็จจริงในคดี 112 หลายคดีก็คือว่าผู้ต้องหาที่อยู่ในเรือนจำตัดสินใจรับสารภาพเพื่อให้การดำเนินคดีจบลงโดยเร็ว และอาจนำไปสู่การขออภัยโทษเพื่อให้พ้นจากการคุมขังที่เร็วขึ้น

นักเรียนกฎหมายที่ไม่มืดบอดต่อความเป็นจริงของสังคมไทยอาจต้องช่วยกันขบคิดเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ว่าสถานการณ์เฉพาะหน้านี้จะยุติลงในรูปลักษณ์เช่นใดก็ตาม

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

Advertisement

สำหรับจดหมายจาก นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนายชน ทซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังด้วยข้อหาอาญา มาตรา 112 ความว่า

“การขังเพื่อบังคับเพื่อให้จำยอมต่อมโนสำนึกผิดชอบชั่วดี ใช้การจำขังขึงพืดจำเลยในการนามกฎหมาย เพื่อให้การต่อสู้เพื่อความถูกต้องถูกทำลาย อันเป็นผลให้สังคมแช่แข็งตัวเองไว้ ในความมืดมิดและความกลัว ไม่กล้าที่จะพูดความจริง กันอย่างตรงไปตรงมา เพื่อหาทางออกให้สังคม ทุกอย่างถูกทำไปในนามของกฎหมาย จำเลยในนามของคนเรียนกฎหมาย ไม่อาจจะยอมรับความอัปยศนี้ได้อีกต่อไป”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image