นักวิชาการ เตือน 9 ปัญหาสถานการณ์โควิดวันนี้ สะท้อน ไทยกำลังก้าวสู่ภาวะโกลาหล

นักวิชาการ เตือน 9 ปัญหาสถานการณ์โควิด สะท้อนไทยกำลังก้าวสู่ภาวะโกลาหล

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เขียนข้อความทางเฟซบุ๊กแสดงความเห็นเรื่องสถานการณ์โควิดไทย ระบุว่า

สถานการณ์โควิดไทยกำลังก้าวสู่ภาวะ chaos (วุ่นวาย โกลาหล – แปลโดยมติชนออนไลน์) แบบแผนการแพร่ระบาดโควิดในเวลานี้ เป็นการระบาดแบบทั่วหน้า หรือ ระบาดไปทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่ใช่เป็นกลุ่ม ๆ แบบเดิม สิ่งนี้เกิดขึ้น เพราะความผิดพลาดและไร้ประสิทธิภาพอย่างรุนแรงในการจัดการโควิด-19 ของรัฐบาลประยุทธ์

1 แหล่งตรวจโรคไม่เพียงพอ

1.1 มีประชาชนจำนวนรอคิวล้นทะลัก นอนรอข้างถนน เพื่อตรวจว่า ตนเองติดเชื้อโควิดหรือไม่

Advertisement

1.2 คนจำนวนมากเดินไปหาโรงพยาบาลหลายแห่ง แต่ถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า

2. แหล่งรักษาพยาบาลไม่พอ

2.1 คนจำนวนมากเมื่อรู้ว่า ตนเองเป็นโควิด ไม่อาจหาสถานพยาบาลเข้ารักษาได้ หลายคนนอนตายคาบ้าน

2.2 มีผู้ป่วยหนักจำนวนมาก ที่รอเครื่องช่วยหายใจ

2.3 โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประกาศว่าเตียงเต็ม

2.4 มีความพยายามเพิ่มโรงพยาบาลสนาม แต่ดูล่าช้า และไม่พอ จึงออกมาตรการให้ประชาชนจำนวนหนึ่งที่อาการไม่หนักมากรักษาตนเองที่บ้าน

2.5 มีนโยบายปิดแคมป์แรงงาน ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโควิดไปทั่วประเทศ จะเห็นได้ชัดว่า หลังปิดแคมป์คนงาน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วันจากระดับ 3-4 พันคนต่อวัน กลายเป็น 7- 9 พันคนต่อวัน

3. วัคซีน

3.1 วัคซีนหลักบางตัวที่ใช้มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการหยุดยั้งการแพร่เชื้อ โควิดได้ แม้จะฉีดแล้วสองเข็ม ก็ยังมีคนติดเชื้อจำนวนมาก ดังนั้นวัคซีนนี้ไร้สมรรถนะในการหยุดยั้งการระบาดของโรค กระนั้นรัฐบาลก็ยังยืนยันการใช้วัคซีนตัวนี้ต่อไป

แม้ว่าในภายหลังจะมีการสั่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่ามาใช้บ้างแล้วก็ตาม แต่ไม่เพียงพอและล้าช้ามาก การเลือกใช้วัคซีนที่คุณภาพต่ำในช่วงต้นของรัฐบาลเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง

อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของการใช้วัคซีนคือ การป้องกันการติดเชื้อ ส่วนการบรรเทาความรุนแรงของการเจ็บป่วยเป็นเป้าหมายรองเท่านั้น แต่ที่ผ่านมารัฐบาลมักนำเป้าหมายรองมาตอกย้ำเพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดของตนเอง

3.2 ยุทธศาสตร์การเลือกกลุ่ม และจัดลำดับความสำคัญกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนผิดพลาด และไม่คงเส้นคงวา ทั้งยังมีการให้โควต้าแก่ข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองบางคน ก็ยิ่งทำให้ยุทธศาสตร์สับสน และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการใช้วัคซีนเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดโรคได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image