ประวิตร ย้ำทุกหน่วย เร่งคลี่คลายน้ำท่วมทุกพื้นที่ ช่วยประชาชนให้เร็วที่สุด

ประวิตร ย้ำทุกหน่วย เร่งคลี่คลายน้ำท่วมทุกพื้นที่ ช่วยประชาชนให้เร็วที่สุด

​เมื่อวันที่ 29 กันยายน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เดินทางตรวจเยี่ยมและติดตามความพร้อมและกล่าวมอบนโยบายในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาอุทกภัย ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน พร้อมด้วย ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. และผู้แทนจาก 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ในวันนี้มาเพื่อติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ในพื้นที่ประสบอุทกภัยให้คลี่คลายโดยเร็วที่สุด เน้นย้ำให้กรมชลประทานให้เร่งระบายน้ำโดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็ว ขอเน้นย้ำให้ร่วมมือกัน ประสานงานกันให้ทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะการคาดการณ์ที่จะยังมีพายุเข้ามาอีก

กรมอุตุนิยมวิทยาและ สสน.ต้องเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนให้ทุกหน่วยทำการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและเตรียมการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ การกำหนดทิศทางการระบายน้ำ ต้องไม่เกิดผลกระทบที่จะทำให้ประชาชนท้ายน้ำเดือดร้อน โดยมอบหมายให้ สทนช.ประสานการปฏิบัติการคาดการณ์กับกรมอุตุฯ และ สสน. เพื่อติดตาม อำนวยการให้ทุกหน่วยทำงานได้สอดคล้องกัน มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ทั้งเรื่องการรับพายุและการช่วยเหลือประชาชน กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ควบคุมการระบายน้ำลงลำน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้น

Advertisement

โดยให้พิจารณากักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้ได้มากที่สุดควบคู่กันไปด้วย ขณะเดียวกัน กรมชลประทานต้องบริหารการจัดจราจรน้ำ การชะลอน้ำเพื่อหน่วงน้ำไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรง โดยการผันน้ำเข้าไปพื้นที่ลุ่มต่ำหรือแก้มลิงต่างๆ และในส่วนปลายน้ำนั้นให้ทำการเร่งระบายออกโดยเร็ว รวมถึงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบภัย กำกับการปฏิบัติแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งแผนการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้รัดกุม พร้อมทั้งเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยโดยเร็ว

และที่สำคัญทุกหน่วยงานต้องแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบล่วงหน้าถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นลงไปถึงระดับหมู่บ้านหรือตำบล และต้องแจ้งให้ทราบถึงการปฏิบัติของหน่วยงานอย่างชัดเจนด้วย รวมถึงนำผลงานที่ปฏิบัติไปประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำของประเทศ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการขับเคลื่อนแผนการจัดการน้ำท่วมของรัฐบาล โดยการกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ มีดังนี้
– ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ ปัจจุบันปรับปรุงได้แล้ว 181 แห่ง
– พัฒนาระบบป้องกันชุมชนเมือง 6 แห่ง
– พัฒนาเขื่อนป้องกันตลิ่งได้ 122.8 กม.
การขับเคลื่อนแผนบริหารทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ (ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง เจ้าพระยา ป่าสัก ท่าจีน) ตามแผนแม่บทน้ำ 20 ปี
– กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ตอนบน (ปิง วัง ยม น่าน) ต้องพัฒนาแหล่งเก็บน้ำสำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำและตัดยอดน้ำหลากเพื่อบรรเทาน้ำท่วม เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4,600 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงจัดหาพื้นที่หน่วงน้ำ ชะลอน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำอีก 1.8 ล้านไร่ ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น แก้มลิงบางระกำ การปรับปรุงคลองยม-น่าน การฟื้นฟูบึงราชนก บึงบอระเพ็ด
– กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการขับเคลื่อน 9 แผนบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ขณะนี้มีความก้าวหน้าประมาณ 32% ผลการขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา การปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก การเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานเดิมทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก เป็นต้น
-การหากขับเคลื่อน 9 แผนบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาได้แล้วเสร็จ จะเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ โดยระบายน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยาได้เพิ่มขึ้นถึง 4,295 ลบ.ม./วิ และสามารถผันน้ำไปฝั่งตะวันออกได้ 960 ลบ.ม./วิ (จากเดิม 160) และฝั่งตะวันตกผันได้ 535 ลบ.ม./วิ (จากเดิม 465) โดยเริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2561 เน้นแผนงานโครงการที่ทำได้ก่อน คาดว่าจะขับเคลื่อนได้ทั้งหมดภายในปี 2570 ซึ่งจะทำให้พื้นที่น้ำท่วมใน 17 จังหวัดลดลง จาก 9.31 ล้านไร่ คงเหลือ 3.05 ล้านไร่
– การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เพื่อเก็บน้ำ และตัดยอดน้ำหลาก ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่
(1) การฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด โดยใช้หลักการ “ให้ หวง ห้าม” กำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์ พร้อมจัดทำแผนหลักการพัฒนาระยะ 10 ปี โดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การปรับเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ ปรับปฏิทินการปลูกพืช ขุดลอกตะกอนดิน ทำ deep pool และปรับปรุงประตูระบายน้ำในคลองสาขา
(2) การฟื้นฟูบึงราชนก โดยจัดทำแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึง รวม 23 โครงการ (ปี’63-71) จะเพิ่มน้ำต้นทุนได้ 28.85 ล้าน ลบ.ม. ลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้ 10,575 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์รวม 3,960 ไร่ ปัจจุบันมีการขุดลอกคลองเชื่อมโยงและแก้ไขปัญหาการบุกรุกบางส่วน
2.3 ผลการขับเคลื่อนแผนบริหารทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล

Advertisement

1.การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองเจริญ (พรด) อ่างเก็บน้ำบ้านโหล่น อ่างเก็บน้ำลำชีลอง อ่างเก็บน้ำห้วยสามหมอ และอ่างเก็บน้ำวังตาลาด สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก ได้ประมาณ 92.65 ล้าน ลบ.ม.
2.โครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำแบบขั้นบันไดในลำน้ำชีตอนบน โดยปรับปรุงฝายเดิมให้เป็นประตูระบายน้ำและก่อสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มเติมอีก 6 แห่ง ได้แก่ ปตร.บ้านหนองคู ปตร.บ้านไร่ลำชี ปตร.กะฮาด ปตร.บ้านหนองแหน ปตร.แก้งสนามนาง และ ปตร.โนนเขวา สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก ได้ประมาณ 63 ล้าน ลบ.ม.
3.โครงการระบบป้องกันน้ำท่วมและการระบายน้ำ เช่น ระบบระบายน้ำหลักฯ ชุมชนเกษตรสมบูรณ์ระบบระบายน้ำหลักฯ ชุมชนภูเขียว เป็นต้น สามารถป้องกันพื้นที่น้ำท่วมได้ 9,400 ไร่ เช่น
1.ท้ายเขื่อนเจ้าพระ
ยผ. ระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนนอกคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา 14 พื้นที่ (48 ชุมชน ทำแล้ว 32 แห่ง)
ชป. คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร ปตร.โผงเผง ปตร.บางบาล
2.ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
– ปรับปรุง ปตร.พระธรรมราชา (ธัญบุรี ปทุมธานี) ปตร.กลางคลองหกวาสายล่าง ปตร.พระมหินทร์ ปตร.พระศรีเสาวภาค ปรับปรุง ปตร.พระศรีศิลป์ (หนองแค สระบุรี) เพื่อเตรียมรองรับขยายคลองจาก 210 เป็น 400 ลบ.ม./วินาที
3.ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
กทม. ทำอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา คลองพระยาราชมนตรี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image