กสม.จ่อถกปม ‘อุยกูร์‘ ยัน พ.ร.บ.อุ้มหาย ไม่ใช่ ‘กม.ช่วยโจร’ คุยแล้ว 3 ทัพ ‘บก-เรือ-อากาศ’

กสม.จ่อยกปม อุยกูร์‘ ขึ้นมาถก – ปชช.ชงใช้อำนาจสืบเกิดอะไรที่ ‘สวนพลู’ – ชี้ ‘เยียวยาญาติเหยื่อ’ ยังไม่เกิด ทำได้ทันที แค่รัฐบาลขาดเจตจำนง

เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ชั้น 3 Slowcombo (สโลว์คอมโบ) สามย่าน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงาน ‘Echoes of Hope ให้กฎหมายทำงาน ให้ความยุติธรรมเป็นจริง: 2 ปี พ.ร.บ.ป้องกันทรมาน-อุ้มหาย’ เพื่อร่วมย้อนเส้นทางตลอด 2 ปี ที่ประเทศไทยมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหายฯ ทั้งบทเรียน เรื่องราว หลักการ และความทรงจำ

โดยภาพในงานนอกจากไฮไลต์มี 2 วงเสวนาแล้ว ยังมีกิจกรรมฉายหนังสั้น 2 เรื่อง ได้แก่ สุสานดวงดาว และ ร่างอันตรธาน รวมถึงการแสดง Performance Art จากกลุ่มลานยิ้มการละคร อีกด้วย

ADVERTISMENT

บรรยากาศเวลา 16.30 น. เข้าสู่เสวนาช่วงที่ 2 ‘ครบรอบ 2 ปี พ.ร.บ.ทรมานฯ พัฒนาการ ปัญหา ข้อท้าทายและข้อเสนอแนะ’ โดย นางกัญญา ธีรวุฒิ มารดาของสยาม ธีรวุฒิ ผู้ถูกบังคับให้สูญหาย, นายสมชาย หอมลออ คณะกรรมการ พ.ร.บ., น.ส.แก้วกัญญา แซ่ลี ภรรยาของ พลทหารกิตติธร เวียงบรรพต, น.ส.พรพิมล มุกขุนทด ทนายความ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ น.ส.สุภัทรา นาคะผิว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ดำเนินรายการโดย ฐปณีย์ เอียดศรีไชย 

ในตอนหนึ่ง น.ส.สุภัทรากล่าวว่า การมอนิเตอร์เรื่องซ้อมทรมานและอุ้มหาย เป็นหน้าที่ของ กสม.อยู่แล้ว เพื่อนำเสนอรัฐสภาและ ครม. แต่ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เรื่องการบังคับอุ้มหายนั้น เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมาหายาวนน มีกฎหมายอกกมา ยังมีคำถามจากเจ้าหน้าที่เลยว่า ‘ นี่มันกฎหมายช่วยโจรหรือเปล่า’ ความจริงกฎหมายช่วยปกป้องทุกฝ่าย รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วยซ้ำ เพราะภาพไม่โกหก แต่ความเข้าใจแบบนี้ เป็นวัฒนธรรมของการใช้อำนาจ ต้องใช้เวลาขุดรากถอนโคนออกไป

ADVERTISMENT

น.ส.สุภัทราเผยว่า กรณีอุยกูร์ กสม. พยายามอย่างมาก ในการทำทุกอย่าง เราออกหนังสือถึงนายกฯ ในวันที่มีการส่งตัว เพราะตอนนั้นยังไม่แน่ใจ เฝ้ากันตั้งแต่ตี 2 ดังนั้นการประชุมครั้งต่อไป เราจะมีการหยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุย เพราะอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากมีหลายประเด็น เช่น สมัครใจกลับไป, ไม่มีคนรับตัว เพราะครอบครัวย้ายถิ่นฐานไปอยู่ ตุรกีแล้ว เป็นต้น

เรื่องการบังคับอุ้มหาย ตัว พ.ร.บ.อุ้มหายฯ พูดถึง 1.การป้องกัน และ 2.ปราบปราม ซึ่ง กสม.เราจะพูดถึงการป้องกันด้วยเพราะไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก หลายเรื่องเราก็หยิบยกเองขึ้นมา เช่น กรณี ทหารถูกกระทำในค่าย

ดังนั้น นอกจากเข้าเป็นภาคี ในอนุสัญญา CAT ยังต้องเข้า พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (OPCAT) ด้วย

“ตอนนี้เราจำลองหน่วย ตรวจเยี่ยมเพื่อป้องกัน รวมถึงพูดคุยกับทหาร ในการหามาตรการป้องกัน โดยได้ไปพบทั้ง 3 ทัพแล้ว ทั้งทัพบก เรือ และอากาศ ซึ่งเห็นตรงกันว่าจะต้องมีมาตรการป้องกัน คือสิ่งที่ กสม.พยายามทำอยู่”

อีกประเด็นที่กำลังทำ คือการออกอนุบัญญัติ ของ คณะกรรมการป้องกันการซ้อมทรมานฯ ชุดนี้

9 คนที่สูญหายในประเทศ เราเชื่อว่า เกิดการสูญหายจริงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ กสม.ถูกจำกัด ตรวจสอบข้ามพรมแดนไม่ได้ เราจึงออกรายงาน ส่งต่อให้ คณะกรรมการซ้อมทรมาน ดำเนินการ ซึ่งเรื่องเร่งด่วน ที่คณะกรรรมการต้องทำคือ ‘ออกระเบียบเรื่องการเยียวยา’ ถามกันไปมา 2 ปีก็ไม่ออก ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบต่างเดือดร้อนคงต้องช่วยกันหลายมือ


น.ส.สุภัทรากล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ยังต้องช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอย่างหนึ่งในชีวิต

“แม้แต่ภาวะสงคราม หรือภาวะฉุกเฉิน ก็ไม่ใช่ข้ออ้าง ที่จะเกิดการทรมาน หรือทำให้สูญหายได้ เราพยามเต็มที่ ให้ฝ่ายปฏิบัติ คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ตัดสินใจอะไรต้องมองรอบด้าน ว่าจะมีผลอย่างไรต่อประเทศไทยด้วย” น.ส.สุภัทรากล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในช่วงท้าย มีผู้สอบถามว่า ผ่านมา 6 ชม. หลังเครื่องบิน บินไปส่งชาวอุยกูร์ ซึ่งคืนวันที่ 26 ก.พ.ที่มีการตกลงขนย้ายนั้น อยากทราบว่าเกิดอะไรขึ้น คณะกรรมการฯ สามารถเข้าไปตรวจสอบ ดูเอกสารหลักฐานได้หรือไม่ ตอนนี้เราเห็นเพียงภาพพีอาร์ จากจีน แต่จุดเกิดเหตุในประเทศ ตรงสวนพลู เกิดอะไรขึ้น เรามีอำนาจเข้าไปตรวจสอบอะไรได้บ้าง ถ้าไม่มีอำนาจ ต้องแก้กฎหมายตรงไหนให้มี ?

ด้าน น.ส.สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของ นายวันเฉลิม ผู้ลี้ภัยที่ถูกอุ้มหายที่กัมพูชา กล่าวว่า ตลอดวันนี้ที่นั่งดู ไม่มีหน่วยงานของรัฐมาร่วม อยากถามมากกว่าว่า 2 ปีทำอะไรบ้าง เพราะ กฎหมายใช้จริงไม่ได้เลย ได้เข้าไปสู่กระบวนการเพียง 2 เคส ไม่มีใครที่ตอบคำถามได้ รายงานของ กสม.นั้น ดี แต่มีเพียง 9 เคส

ด้าน นายสมชาย หอมลออ กล่าวว่า หลังมี พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ต้องยอมรับว่ากรณีอุ้มหายลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เจ้าหน้าที่ระแวดระวังพอสมควร

“แต่กรณีอุ้มหายที่เกิดจากกลุ่มอิทธิพล ดีพสเตต เช่น ‘9 ผู้ลี้ภัยอินโดจีน’ และกรณี ‘ส่งผู้ลี้ภัยอุยกูร์ รวมถึงกรณี ‘ส่งกลับผู้ลี้ภัย 7 คน’ ที่ได้รับการรองรับจากสหประชาชาติแล้ว ส่งไปเข้าคุกที่กรุงพนมเปญ นี่เป็นการแทรกแซง โดยผู้มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหามาก”

ประการที่ 2 ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ขาดเจตนารมณ์ทางการเมือง ไม่ตัดสินใจและพยายามเบี่ยงเบน เช่น ‘ระเบียบการเยียวยา’ กว่าจะเสร็จ กรณีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ไม่รู้ว่า 5 ปี จะได้รับการชดใช้หรือไม่

“กระบวนการเยียวยา ไม่ต้องผ่านศาล ออกระเบียบอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติตัวเงินจากกระทรวงการคลัง ซึ่งส่งไปแล้ว 1 ปี มีจดหมายติดตามไปแล้วถึง 5 ฉบับ ไปพูดด้วยตัวเองแล้ว ก็ยังไม่มีการอนุมัติ ทั้งที่เราสามารถเข้าสู่กระบวนการเยียวยาได้ทันที รัฐบาลขาดเจตจำนงที่จะทำ” นายสมชายกล่าว และว่า

ส่วน ‘กรณีอุยกูร์’ นั้น กสม.และคณะกรรมาธิการ มีหน้าที่ตรวจสอบ แต่สงสัยว่า ประธานคณะกรรมาธิการ ที่ไปนั่งแถลง ว่าส่งไปโดยชอบแล้ว จะมานั่งตรวจสอบให้หรือ?

นายสมชายกล่าวต่อว่า ตนอยากย้ำว่าไทย ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของ ลัทธิทางกฎหมาย อำนาจนิยม เราพยายามผลักดันมา 15 ปี เพื่อให้ พ.ร.บ.นี้ ทลายกรอบ โดยนำหลักสากลมาปฏิบัติใช้ แต่เราอาจจะยังฝากความหวังรัฐไม่ได้ ยังต้องการนักกฎหมาย องค์กรอื่นๆ ในการช่วยกันเทคแอกชั่นมากว่านี้

“มีด จะให้คม ต้องใช้บ่อยๆ ผมเชื่อว่าเมื่อเราใช้ไปมันจะฟ้องเอง ว่ากลไกของรัฐ ที่บอกว่าแก้ปัญหาให้ประชาชน จริงหรือไม่ ไม่อย่างนั้นสังคมไม่ตื่นตัว” นายสมชายกล่าว

ด่าน น.ส.สุภัทรา จาก กสม.กล่าวว่า ตัวกฎหมายถือว่าใช้ได้ แมเจะมีการทักท้วงที่เจนีวา เช่น กรณีตากใบ ว่าไม่ควรมีอายุความ ต้องปรับแก้นิยามใหม่ แต่เรื่องการบังคับใช้กฎหมายก็เป็นอีกบริบท ที่ทำให้กฎหมายไม่ถูกบังคับใช้จริง จึงต้องช่วยกันทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เราไม่อยากเห็นเคสต่อไป แต่เรื่องการเยียวยาก็ตามทำควบคู่กันไปด้วย

จากนั้นเวลา 17.45 น. กลุ่มลานยิ้มการละคร ทำการแสดง Performance Art เรื่อง ‘ร่องรอย’

โดย นายสหัสวรรษ ทาติ๊บ จากลานยิ้มการละคร กล่าวหลังแสดงจบว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ยินเคสอุ้มหายแรก คือ วันเฉลิม ตนเคยเพอร์ฟอร์มานซ์ ที่ถนนท่าแพ

ล่าสุด 2 ปีที่ผ่านมา มี พ.ร.บ.อุ้มหาย เกิดขึ้น หลังจากรีเสิร์ชหาข้อมูล อ่านบทความข่าว จึงสอบถามเพื่อนๆ ที่สนใจประเด็นนี้ ได้รับรู้ว่าการรอุ้มห่ย มันไม่ได้อุ้มแค่ในเชิงกายภาพ

“แต่อุ้มใครบางคนไปจากความทรงจำด้วย พยายามทำให้ข้อมูลในประวัติศาสตร์ error ให้คนไม่พูดถึงอีก”

“ข้อมูลทุกอย่างไม่ประติดประต่อ การแสดงจึงออกมาเป็นฟอร์มในลักษณะนี้ โชว์นี้ทำเพื่ออุทิศให้ผู้ที่ถูกอุ้มหาย ล่าสุดผมไปงานศพญาติ ก็ยังได้ทำพิธี แค่กรณีอุ้มหาย เขาคือหายไปเลย” นายสหัสวรรษกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image