รายงานหน้า2 : ‘ดร.สุรเกียรติ์’ปาฐกถา จีนเขย่าโลก ไทยจะอยู่อย่างไร

หมายเหตุศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย (APRC) และกรรมการการประชุมโบอ่าวแห่งเอเชีย (Boao Forum for Asia) ปาฐกถาพิเศษในงานครบรอบ 67 ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรื่อง “ยุทธศาสตร์ สี จิ้นผิง” เขย่าโลก ไทยจะอยู่อย่างไร

วันนี้เป็นวันสำคัญเนื่องในโอกาสครบ 67 ปีของสมาคม หัวข้อที่ได้รับมอบหมายผมคิดว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ผมต้องขอเรียนว่าทางสมาคมเลือกหัวข้อให้ผมพูดได้ยากกว่าที่คิดมากมาย และอยากที่จะพูดเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุผล 2 ประการครับ

ประการแรก คือ หัวข้อบอกว่ายุทธศาสตร์สี จิ้นผิง เขย่าโลก ไทยจะอยู่ได้อย่างไร อันนี้ก็ได้ทาบทามมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ความจริงวันนี้ผมคิดว่าจะง่ายกว่ามากเลย ถ้าจะเปลี่ยนชื่อหัวข้อเป็นปูตินเขย่าโลก ไทยจะอยู่อย่างไร รู้สึกว่าท่านสี จิ้นผิง จะถูกแย่งซีนไปอย่างราบคาบในช่วงที่ผ่านมา

ประการที่ 2 ที่มีความยากลำบากในการพูดเป็นอย่างยิ่ง คือว่าวันที่เป็นวันครบรอบ 67 ปีนี้ จีนมีการประชุมของสภาที่ปรึกษาการเมือง หรือ CPPCC ไปแล้วเมื่อวานนี้ ต่อด้วยการประชุมของสภาประชาชนแห่งชาติ หรือ NPC ในวันนี้ ทุกครั้งการประชุมก็จะมีวาระที่สำคัญๆ ของจีน สิ่งที่ผมพูดในเรื่องของจีนในวันนี้อาจจะถูกหมดและอาจจะผิดหมดเลยก็ได้ เพราะไม่ทราบว่าสิ่งที่ NPC จะประชุมกันและสิ้นสุดในวันนี้จะมีผลเป็นอย่างไร จากประสบการณ์ที่เคยทำงานในตำแหน่งทางการก็ได้มีส่วนอยู่ในหลายๆ เวทีระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องสันติภาพดูแลเรื่องความมั่นคงสาขาเหล่านี้มา

Advertisement

ผมคิดว่าข้อนี้ยังไงก็ยังมีความสำคัญอยู่ แต่ก่อนที่เราจะไปสรุปว่ายุทธศาสตร์สี จิ้นผิง เขย่าโลกเราจะอยู่ได้อย่างไร อยากจะตีโจทย์แรกก่อนว่าความสำคัญของจีนคืออะไร ทำไมท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ถึงจะเขย่าโลกได้ ถ้าจีนไม่มีความสำคัญมากพอก็ไม่น่าที่จะเขย่าโลกได้ เรารู้กันอยู่ว่าจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมาก เป็นประเทศที่เติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา แซงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี มาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ว่ามีอะไรอย่างอื่นอีกหรือเปล่า

อันแรกเลยผมคิดว่าจีนผงาด หรือ China rising จีนเข้ามามีบทบาทสำคัญของโลก ทั้งในด้านการทหาร ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองระหว่างประเทศ และที่สำคัญคือในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผงาดในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องการทหารอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องขนาดของเศรษฐกิจอย่างเดียว เศรษฐกิจก็ไม่ใช่เรื่องขนาดทางเศรษฐกิจ แต่เป็นความสามารถของจีนที่ลดความเหลื่อมล้ำขจัดความยากจนได้ภายในเวลาไม่กี่สิบปี ทำให้เหลือคนที่ยากจนจริงอีกไม่เท่าไหร่ แล้วก็จะให้หมดไป

สำหรับเส้นที่จะวัดความยากจน ด้านการเมืองระหว่างประเทศ การเมืองในภูมิภาค จีนก็ผงาด มีบทบาทโดดเด่นในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนั้น ถึงแม้จีนจะยังมีเป้าหมายการเป็นผู้นำทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในปี 2030 แต่ที่ผ่านมา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ก็ได้เห็นแล้วว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนไม่ถึงขนาดเป็นที่สองรองใคร บางเรื่องเป็นที่สองรองจากสหรัฐ บางเรื่องอาจจะนำสหรัฐด้วยซ้ำ

ประการที่ 2 ที่จีนมีความสำคัญคือ การเน้นเศรษฐกิจภายใน ทำให้จีนมีความมั่นคงโดดเด่น อันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ก็เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย เน้นกิจการภายในประเทศของตนเป็นหลัก สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เน้นเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนภายในประเทศเป็นหลัก ญี่ปุ่นมักจะเห็นส่งออกสินค้าออกมามากมายใน 30 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ญี่ปุ่นเน้นมากที่สุดคือเศรษฐกิจภายในประเทศ ออสเตรเลียก็เช่นเดียวกัน จีนเองก็เน้นความสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจตลอด ปีที่แล้วได้ออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีขึ้นมา จีนได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจควบคู่ ที่เรียกว่า Dual Circulation คือเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เน้นการลดความเหลื่อมล้ำ ก็ทำได้สำเร็จพอสมควร เน้นการสร้างพื้นฐานการวิจัยเทคโนโลยีของจีนเอง ใช้คำว่าเป็น Homegrown เป็นเทคโนโลยีที่จีนสร้างขึ้นเอง ที่ใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อให้เกิดความ Foundation of Research พื้นฐานของการวิจัยในเรื่องนวัตกรรม นวัตกรรมเหล่านั้นจีนต้องการให้ Globalize ต้องการให้นวัตกรรมที่โฮมโกรนที่เกิดขึ้นมา ที่คิดขึ้นมาจากจีนไปสู่ทั่วโลกด้วย

ในเรื่องของเศรษฐกิจจีนได้นำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในความเป็นอยู่เรื่องสมาร์ตซิตี้ ในเรื่องความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เรื่องการผลิต เรื่องการบริการอะไรต่างๆ เราก็ทราบดีอยู่แล้ว จีนเน้นเรื่องสังคม ให้ความสำคัญกับชนชั้นกลางเป็นอย่างมาก จนจีนเกิดชนชั้นกลางขึ้นจำนวนมาก เป็นส่วนใหญ่ประเทศในระยะเวลาสั้น จีนมี Netizen คือ Citizen ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเกือบจะถึงพันล้านคนแล้วเวลานี้ จีนฟังเสียงประชาชนในประเทศถึงแม้ว่าคนจะพิพากษ์ว่าจีนไม่เป็นประชาธิปไตย แต่จีนก็บอกว่าก็มีการเลือกตั้ง

แต่สิ่งที่ผมสัมผัสมาคือว่า ผู้นำของจีนฟังเสียงของประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งการต่างประเทศ เศรษฐกิจ การมีงานทำ ความเหลื่อมล้ำ จีนให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดีย แม้จะถูกค่อนแคะว่าปิดกั้นโซเชียลมีเดียจากต่างประเทศ แต่จีนเปิดกว้างโซเชียลมีเดีย ในประเทศของจีนเองไม่ว่าจะเป็นอาลีบาบา เทนเซนต์ วีแชต หรือไป่ตู

จีนให้ความสะดวกสบายของประชาชนในการดำเนินชีวิตด้วยเทคโนโลยี เน้นความรักชาติ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก จีนไม่ได้เน้นในเรื่องของเศรษฐกิจมากเท่าความรักชาติ ไม่ได้เน้นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศมากเท่าความรักชาติ การที่จะอ่านจีนต้องอ่านว่าทั้งรัฐบาลและกองทัพจีน ประชาชนจีน พยายามสร้างความรักชาติ ความรักพรรคให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว เราดูสปีชของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นชัดเจนว่าให้ความสำคัญกับพัฒนาการของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ครบร้อยปีไปไม่นาน แล้วก็เดินไปข้างหน้าอีก 100 ปีว่าจะเป็นอย่างไร

จีนให้ความสำคัญกับความมั่นคงภายในของจีนเป็นอย่างยิ่ง จีนให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของผู้นำ ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นผู้นำคนเดียวไปยาวๆ ถึงแม้ว่าท่านสี จิ้นผิง จะแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ก็แก้ธรรมนูญการปกครองก็สามารถเป็นผู้นำได้มากกว่า 2 วาระ แต่เป็นความต่อเนื่องในเรื่องนโยบายของผู้นำ ตั้งแต่ท่านเจียนซีหมิน มาจนถึงท่านสี จิ้นผิง ในปัจจุบัน เน้นอะไรต่างๆ ที่ต่างกันมาก แต่ในเชิงนโยบาย เชิงทิศทาง มีความต่อเนื่องเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศจีนใน 40 ปีที่ผ่านมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม ต้องยอมรับว่าในสิ่งที่ผู้นำของจีนมีแล้วก็เป็นสิ่งที่หลายประเทศเมียงมองอยู่ อาจจะด้วยความอิจฉาเล็กน้อย ก็คือสามารถเฟ้นทีมงานที่เก่งในแต่ละด้านเข้ามาทำงานกับผู้นำ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้นำของจีนนั้นฟังความเห็นของนักวิชาการและของต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง เราจะเห็นเลยหลายๆ เรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถึงแม้จีนจะเงียบๆ ก็มีการปรับสมดุล ปรับทิศทาง เราเห็นความยืดหยุ่นในนโยบายของจีน เพราะฉะนั้นการเน้นกิจกรรมภายในของจีนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในความเห็นของผม ที่สำคัญทำให้จีนไปยืนอยู่ ณ จุดนี้ ถือได้ว่าจีนมีความสำคัญ ประเทศนั้นถ้าภายในไม่เข้มแข็งในทุกๆ ด้าน ยากที่จะมียุทธศาสตร์ที่จะไปขับเคลื่อนนโยบายของตนเองให้มีผลไปยังต่างประเทศได้

ความสำคัญของจีนอย่างที่ 3 ก็คือการประชุมสภาที่ปรึกษาการเมืองจีน (CPPCC) และต่อด้วยสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน ก็จะต้องรายงานทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งฟุบไปพอสมควร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโควิด-19 ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนโยบายของจีนเองที่ไม่ต้องการให้เกิดฟองสบู่ อีกส่วนหนึ่งก็เป็นนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ภาคเศรษฐกิจใดที่เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่นมาก ท่านประธานาธิบดีก็จะจัดการโดยไม่เลือกพรรคเลือกพวก วันนี้คงจะมีการทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่าปีที่แล้วที่จีนบอกว่าจะไม่มีเป้าหมายของการเจริญเติบโต ปีนี้จะปรับเป็นว่ามีหรือไม่ จีนจะทำอย่างไรกับอุปสงค์อุปทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ความปั่นป่วนในอุปทานที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 นโยบายภาษีจะเป็นเรื่องที่พูดกันสำคัญในวันนี้ว่าจะมีการลดภาษีปรับภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านใดหรือไม่ นโยบายซีโร่โควิด ซึ่งให้ความสำคัญมาตลอดจนถึงการจัดแข่งโอลิมปิกฤดูหนาวเพิ่งจะมีการพิจารณากัน ในขณะที่ฮ่องกงยังใช้นโยบายซีโร่โควิดอยู่ในหลายมณฑล

แม้กระทั่งการฝากเงินกับธนาคารทำให้เกิดเรื่อง Financial Inclusion ทำให้ทุกคนเข้าถึงการเงินได้ มีบทบาทที่สำคัญที่เดินไปสู่เทคโนโลยีเรียกกันว่าจีนไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ Chain Operations เหมือนการบายพาสไม่ผ่านธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง จะใช้ศัพท์ทางด้านของรัฐศาสตร์ก็เหมือนการกระจาย อำนาจเป็น Decentralization คือสิ่งที่แบงก์ชาติจีนทำ คนเหล่านี้ที่ทำเรื่องคริปโท Bitcoin Blockchain

จีนมียุทธศาสตร์ Made in China 2025 เน้นเศรษฐกิจเสรี สินค้าที่ผลิตโดยประเทศต่างๆ ในเอเชีย ตลาดอเมริกาและแอฟริกาที่ส่งไปขายในจีนจะถูกกระทบด้วย หัวข้อที่ว่า สี จิ้นผิง เขย่าโลก มันเป็นไปได้จริงด้วยเหตุผลนานัปการ สามารถเปลี่ยนภูมิภาคสถาปัตย์ทางเศรษฐกิจและการเมืองโลก บวกกับยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ที่สำคัญผู้บริหารจำนวนมากยังนึกภาพของจีนเป็นคอมมิวนิสต์ จีนจะครองโลกเป็นการคุกคามต่อความมั่นคง

ผมได้เล่าให้ฟังได้พูดถึง Jubilation ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของจีนที่ให้ความเห็นชอบตามมาตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นการหมุนเวียนอย่างควบคู่กัน เน้นด้านเศรษฐกิจในประเทศเป็นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จีนต้องการจะอัดเงินจำนวนมากเพื่อทำวิจัยพื้นฐานเพื่อเป็นฐานของเทคโนโลยี จะได้ไม่ต้องพึ่งใคร ตอนนี้จีนกับสหรัฐแข่งขัน ส่วนญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในเอเชียเตรียมผลักดันให้จีนมีบทบาทมากขึ้น จีนเองก็มีบทบาทในได้หลายยุทธศาสตร์ที่ผมพูดไปแล้วมากขึ้น มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเอเชียกับอาเซียนมากขึ้น

กว่ายุโรปจะกลับมาตั้งตัวใหม่จีนมีอะไรต่ออะไรหลายๆ อย่าง แล้วก็ประกาศยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก ไม่เรียกแถวบ้านเรา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก ไม่เรียกอาเซียน แต่เรียกอินโดแปซิฟิก ขณะที่อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รวมอเมริกาเป็น 4 ประเทศ เป็นการประชุมโดยไม่มีรัสเซียและจีน และในการประชุม จี7 ครั้งล่าสุด ก็มีนโยบายวิพากษ์วิจารณ์จีนออกมาหลายข้อหลายอย่าง

จนที่สุดการแข่งกันหามิตรภาพผ่านการทูตเชิงสุขภาพ ตั้งศูนย์ใหญ่อยู่ที่เวียดนามเพื่อเป็นศูนย์กลางในเรื่องของสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการทูตเชิงวัคซีน การให้การบริจาควัคซีนกับประเทศในเอเชีย ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับจากอเมริกา สี จิ้นผิง บอกว่าวัคซีนเป็น Public Goods เป็นสินค้าสาธารณะ และสหรัฐยังมองว่าวัคซีนนั้นคนที่คิดค้นขึ้นต้องมีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เวลานี้ทั้งจีนและอเมริกาแข่งกันที่จะบอกว่าธรรมาภิบาลของเรื่องสาธารณสุขในเรื่องสุขภาพของโลก พูดถึงองค์การอนามัยโลกต้องมีการปฏิรูป แล้วก็มีการใช้การทูตเชิงสุขภาพในชุมชนที่มีการปิดประเทศใน ขณะที่อเมริกาไม่ให้ส่งออกเครื่องช่วยหายใจ ขณะที่ท่านสี จิ้นผิง ประชุมกับผู้นำอียู กับผู้นำแอฟริกา และให้ท่านหวังอี้ ประชุมกับผู้นำอาเซียน

ท่านสี จิ้นผิง พูดมาหลายปีแล้วว่าโลกนี้ต้องเป็นประชาคม ที่เรามีอนาคตร่วมกันเพื่อมนุษยชาติ โลกนี้ต้องเป็นระเบียบระหว่างประเทศ ที่มีกฎมีเกมในเอเชีย ใช้ไอเดียเดียวกับ Indo-Pacific Concept ทั้งหมดรวมกับมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกเป็น Indo-Pacific พอเสร็จแล้วก็เอาไอเดียที่ใช้กับเศรษฐกิจในประเทศที่ประกาศไปมาใช้กับ Indo-Pacific คือ Buildable แล้วก็จะมีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ Indo-Pacific ให้มีความชัดเจนขึ้น เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเน้นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของ District Supply Chain อุปทานที่ถูกกระทบจากโควิด จากสงครามการค้ากับสงครามเทคโนโลยีสินค้าจากฟิลิปปินส์ส่งมาไทย ไทยส่งไปจีน

จีนยังมียุทธศาสตร์ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองและโลก ได้แข่งขันกับมหาอำนาจอื่นได้ เราจะไม่เลือกจีนหรือสหรัฐ ตรงนี้แล้วก็เห็นว่าอาเซียนมี 600 กว่าล้านคน มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งก็อยากให้อาเซียนร่วมมือกับจีน เพื่อเพิ่มความเข้มแข็ง สหรัฐก็อยากให้อาเซียนร่วมมือ เราก็ต้องอาศัยประเทศลุ่มแม่น้ำโขงอาเซียนในการสร้างสมดุลกับประเทศมหาอำนาจ เราจะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นประเทศลุ่มแม่น้ำโขงทำอย่างไรบ้างก็คุยกันได้อีก

ผมคิดว่าเราต้องเข้าหาอินเดียมากกว่านี้ ต้องเข้าหาแต่แรกๆ ต้องดึงประโยชน์จากยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยมาให้ได้ เราต้องมีการต่างประเทศว่าจะให้ใครมาร่วมมือกัน เราต้องสร้างความเป็นเพื่อนจับมือให้อุ่น เราต้องมียุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image