สู่ความสมบูรณ์ : คอลัมน์ แท็งก์ความคิด

เปียโนแม้จะมีโน้ตหลักๆ 7 ตัว แต่ก็มีคีย์กดจำนวน 88 คีย์

เปียโนคอนแชร์โต คือบทเพลงที่มีเครื่องดนตรีโซโลเป็นเปียโนแล้วเล่นกับวงออเคสตรา

วันก่อนมีโอกาสได้ไปชมการแสดงของวงดนตรีคลาสสิกจากเกาหลีใต้

ชื่อวง วงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KOREAN SYMPHONY ORCHESTRA)

Advertisement

มี Chi-Yong Chung เป็นวาทยกร

Chi-Yong Chung oyho เป็นทั้งผู้อำนวยการและหัวหน้าวาทยกรของวง

เขาได้รับการยกย่องในด้านการตีความคีตกรรมว่าทำได้ดี

Advertisement

ส่วนนักเปียโนโซโลก็เป็นสาวชาวเกาหลีใต้ ชื่อ Jiyeong Mun 

Jiyeong Mun คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน the Geneva International Competition ในปี 2014

และ Busoni International Competition ในอิตาลี ปี 2015

ชนะการแข่งขันเปียโนที่ขึ้นชื่อว่ามีชื่อเสียงที่สุดคือ Arthur Rubinstein International Piano Master Competition ในปี 2009

the Ettlingen International Competition สำหรับนักเปียโนเยาวชน ในเยอรมนีในปี 2012

และ the Takamatsu International Piano Competition ในประเทศญี่ปุ่นในปี 2014

การแสดงวันนั้นจัดขึ้นในมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 20

ส่วนวงเกาหลีใต้ที่ยกมาร่วม เขาบอกว่ามาเนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ไทย-เกาหลีใต้

สถานที่จัดยังคงเป็นศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ

วันนั้นการแสดงมีบทเพลงน่าฟัง คือ My Fatherland ประพันธ์โดย เบ็ดริช สเมทานา

ชาวเช็ก

เปียโน คอนแชร์โต้ ประพันธ์โดย เอ็ดเวิร์ด กรีก ชาวนอร์เวย์

และ ซิมโฟนี หมายเลข 1 ของ โยฮันเนส บรามส์ ชาวเยอรมัน

ฟังแล้วชอบทุกบทเพลง ฟังแล้วสัมผัสได้ว่านักดนตรีมีความสามารถทั้งดีด สี ตี เป่า

เสียงแต่ละเสียงที่ขับขานออกมานั้นคมชัด

ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เล่นในรูปแบบวง ในบทเพลง My Fatherland

ไม่ว่าจะเป็นการบรรเลงในรูปแบบเปียโน คอนแชร์โต

หรือการกลับมาโหมประโคมในบทเพลง ซิมโฟนี หมายเลข 1 ของบรามส์ เป็นการส่งท้าย

ทุกบทเพลงล้วนส่งเสียงออกมายังผู้ฟังได้อย่าง ?ฮาร์โมนี?

โฟกัสไปที่บทเพลงเปียโน คอนแชร์โต ของนักประพันธ์ที่ชื่อ เอ็ดเวิร์ด กรีก ซึ่งมีด้วยกัน 3 ท่อน

ขอบอกว่าท่อนแรก Allegro molto moderato ที่เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโน ดังกระแทกๆ เป็นจังหวะหนักแน่นนั้น ได้ดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจ

และจากนั้นเปียโนอีกเช่นกัน ได้นำให้ผู้ฟังติดตามบทเพลงไปสู่ท่อน 2 และท่อนสุดท้ายอย่างตั้งใจ

บทเพลงเปียโน คอนแชร์โตบทนี้ ส่วนแรกประพันธ์ตามฉันทลักษณ์ โซนาตา ฟอร์ม

มีช่วงอินโทร ช่วงนำเสนอ ช่วงพัฒนาทำนอง ช่วงย้อนกลับ และช่วงสุดท้ายหรือโคด้า

ยิ่งช่วงคาเดนซาที่ Jiyeong Mun โซโลเปียโน ยิ่งฟังแล้วแจ่ม

รวมๆ แล้วแค่ท่อนเดียว ก็ทำให้ผู้ฟังประทับใจ

ท่อนที่สอง Adagio การบรรเลงดำเนินไปด้วยจังหวะช้า

และท่อนสุดท้าย llegro moderato molto e marcato-Quasi presto-Andante maestoso

ฟังทั้งบทเพลงแล้วประทับใจในฝีมือของนักเปียโนสาว

เสียงเปียโนที่บรรเลงนั้นสมบูรณ์แบบ เมื่อประสานกับวงเกาหลีแล้ว ฟังกลมกล่อม

ยิ่งตอนที่ Jiyeong Mun ไล่เสียงโน้ตทีละตัวนั้น ฟังแล้วคมชัด

ฟังแล้วสมบูรณ์

สมบูรณ์จากโน้ตทีละตัว กลายเป็นความสมบูรณ์ทั้งหมด

คงต้องใช้เวลาฝึกฝน ต้องมีความมานะพยายามอย่างมากกว่าจะสามารถทำได้แบบนี้

เมื่อนักดนตรีบรรเลงได้ดีเยี่ยมก็เป็นบุญหูของผู้ฟัง เพราะได้รับอรรถรสอย่างเต็มที่

การแสดงบทเพลงเปียโน คอนแชร์โต ในวันนั้นรู้สึกแบบนี้

แม้อรรถรสในการฟังอาจจะสะดุดไปกับการปรบมือเกินธรรมเนียมการฟังเพลงคลาสสิกไปบ้าง

แต่เสียงจากฝีมือนักดนตรีเกาหลีก็สามารถเติมเต็มอรรถรสที่สะดุดหยุดไปบ้างนั้นได้

เสียงที่ได้ยินกระตุ้นให้รู้สึกถึงความสำคัญของทุกๆ องคาพยพ

ความสมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ เพราะทุกส่วนทำงานได้สมบูรณ์

เสมือนกับการกดโน้ตทุกๆ ตัวโน้ตที่ปรากฏในบทเพลง

หากทุกตัวโน้ตมีความสมบูรณ์ บทเพลงที่ได้ยินย่อมสมบูรณ์แบบ

เฉกเช่นการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความสมบูรณ์จากทุกส่วนงาน

ต้องอาศัยความสามารถของทุกๆ คนที่ร่วมงาน

ทุกแผนกต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อให้ทีมงานได้ผลงานที่เยี่ยมที่สุด

ทุกฝ่ายทุกแผนกต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์

ผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์

เป็นประโยชน์ทั้งแก่ส่วนรวมและส่วนตัว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image