สุจิตต์ วงษ์เทศ : เรือนผีขวัญ หลายพันปีมาแล้ว

เรือนเก็บอัฐิของคนตาย วัดร้อยป่าอรัญญา ต.บ้านขว้างคลี อ.โพนสวรรค์ (ภาพจากหนังสือ "ตำนานสยาม" ไม่บอกปีที่พิมพ์)

โลกหลังความตายในภูมิภาคอุษาคเนย์เกี่ยวข้องกับขวัญ (ไม่ใช่วิญญาณตามแบบอินเดีย) มีความเป็นมาหลายพันปีแล้วสืบเนื่องจนทุกวันนี้ แต่สืบค้นไม่ง่าย เพราะหลายอย่างเปลี่ยนไป เช่น เรือนผีขวัญ

เฮือนเฮ่ว หรือเฮือนแฮ่ว (บางทีเขียนว่า เฮือนเห้ว, เฮือนแห้ว) หมายถึง เรือน (เฮือน) น้อยปลูกคร่อมหลุมฝังศพ (หรือกระดูกคนตาย) ในป่าเฮ่ว หรือป่าแฮ่ว (ป่าเห้ว, ป่าแห้ว)

นอกเรือนต้องปักเสา เรียก กอเฮ่ว (กอแฮ่ว) บนยอดมีร่มปัก และมีท่อนไม้วางขวางใช้ห้อยธงกับมีรูปนกเป็นพาหนะของผีขวัญขึ้นเมืองฟ้า

[นก น่าจะสืบเนื่องจากลายเส้นรูปนกบนขอบนอกหน้ากลองทองมโหระทึก 2,500 ปีมาแล้ว และน่าจะเป็นความเชื่อกลุ่มเดียวกับนกหัสดีลิงค์]

Advertisement

เฮ่ว, แฮ่ว มีรากจากคำว่า เรี้ยว หมายถึง คนตาย

เฮือนเฮ่ว คือ เรือนของคนตาย, ป่าเฮ่ว คือ ป่าของคนตาย ตรงกับภาคกลางว่า ป่าช้า

ช้า เป็นคำไต-ไท แปลว่า ซากศพ (พบในพจนานุกรมลาว)

Advertisement
เรือนแฮ้วที่ฝังศพของไทดำในเวียดนาม (ภาพจากหนังสือ ประวัติศาสตร์สิบสองจุไทของ ภัททิยา ยิมเรวัต มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2544 หน้า 253)

เรือนเก็บอัฐิชาวญ้อ

เรือนน้อยเก็บอัฐิคนตายวัดร้อยป่าอรัญญา ต.บ้านขว้างคลี อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

มีผู้ส่งหนังสือ “ตำนานสยาม” (ไม่บอกชื่อคณะผู้จัดทำ ไม่บอกปีที่พิมพ์ ไม่บอกข้อมูลอะไรเลย) ให้ดูเรื่อง “หมู่บ้านไร้คน”

มีรูปขาวดำประกอบ มีข้อความว่าเป็นที่บรรจุอัฐิคนตายของชาวญ้อ (เป็นกลุ่มพูดตระกูลไต-ไท อยู่ลุ่มน้ำโขง)

เหล่านี้น่าจะสืบเนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมเรื่อง เฮือนเฮ่ว แล้วปรับเปลี่ยนตามความเชื่อใหม่ในทุกวันนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image