คอลัมน์ โลกสองวัย : ความสำคัญของ 24 มิถุนายน

แฟ้มภาพ

ยาวนานมาได้ 78 ปีก้าวขึ้นสู่ปีที่ 79 ของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองราชอาณาจักรไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับอารยประเทศ

ระบอบการปกครองรัฐอันเป็นที่นิยมคือระบอบประชาธิปไตย กับระบอบเผด็จการ ในแต่ระบอบยังมีคววามแตกต่างตามระบบ เช่น ระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และรูปแบบของแต่ละระบอบ

รายละเอียดและความแตกต่างเป็นอย่างไร ขอให้ผู้สันทัดกรณีด้านการเมืองการปกครองเป็นผู้ชี้แจงและอธิบายอย่างพิสดารหรือพอเป็นสังเขปขึ้นกับผู้ต้องการทราบเถิด

ส่วนของราชอาณาจักรไทย การเมืองการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสืบเนื่องมาจากการเมืองการปกครองแบบเดิมคือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งคณะราษฎรอันประกอบด้วยทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งเข้ายึดอำนาจการเมืองการปกครองและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยยังคงมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

Advertisement
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ประจำเดือนมิถุนายน 2562

นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ประจำเดือนมิถุนายน 2562 นำเสนอเรื่อง “วันชาติ 24 มิถุนายน : ความรุ่งโรจน์และร่วงโรยผ่านการนำเสนอของสื่อมวลชน” โดย ณัฐกมล ไชยสุวรรณ เป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียง ปรับปรุงเนื้อหาจากวิทยานิพนธ์ “สื่อมวลชนกับการสร้างความชอบธรรมของคณะราษฎร : กรณีศึกษาวันชาติ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482-พ.ศ.2503” ตามหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ พ.ศ.2559

การกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันสำคัญของประเทศไทยวันหนึ่ง หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4 วัน หลวงวิจิตรวาทการน่าจะเป็นบุคคลแรกที่ได้เขียนบทนำในหนังสือพิมพ์ว่า “วันที่ 24 มิถุนายน จะเป็นวันประจำชาติไทยต่อไป” ก่อนจะกลายมาเป็นวันชาติจริงๆ ในอีก 7 ปีต่อมา

Advertisement

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่ออำนาจของคณะราษฎรเริ่มมีความมั่นคงทางการเมืองและปราศจากการต่อต้านจากฝ่ายตรงข้ามแล้ว คณะราษฎรให้ความสำคัญกับวันที่ 24 มิถุนายน กับวันที่ 27 มิถุนายน (เป็นวันที่ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว) เท่าๆ กัน

ความชอบธรรมในการยกระดับให้วันที่ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติ นอกจากอุดมการณ์ของกองทัพ และอุดมการณ์ชาตินิยมจะมีบทบาทแล้ว การทำให้ประเทศสยามมีเอกราชสมบูรณ์โดยยกเลิกสนธิสัญญากับทุกประเทศจนได้รับเอกราชทางศาลและยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งมีการเจรจาเรื่อยมาโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม มีการเจรจากับโปรตุเกสเป็นประเทศสุดท้ายเมื่อ 4 กรกฎาคม 2481

การแก้ไขสนธิสัญญาทำให้สยามเป็นเอกราช เป็นนโยบายหลักที่ 1 ของนโยบายหลัก และเป็นวันหยุดราชการ ส่วนวันที่ 27 มิถุนายน ยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดต่อไป

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนบทความระลึกวันปฏิวัติในหนังสือพิมพ์ประชามิตร เน้นย้ำว่า

“24 มิถุนายน เป็นวันที่ระลึกสำคัญ หากปล่อยผ่านไป ความเสียสละที่อยู่ในการปฏิวัติอาจจะคลายความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ลงไปไม่น้อย การระลึกจะช่วยให้รักษาสภาพจิตต์ใจของการปฏิวัติไว้ได้” ทั้งยังได้แสดงความกตัญญูต่อสมาชิกคณะราษฎรว่า “ประเทศชาติจะเจริญไม่ได้ ถ้าเราลืมวีรบุรุษของเรารวดเร็วเกินไป วีรบุรุษไม่มาตรหมายการตอบแทน แต่การแสดงความกตัญญูเปนคุณธรรมของอารยชนโดยแท้”

วันชาติ 24 มิถุนายน 2490 หลังรัฐประหาร พ.ศ.2490 คณะราษฎรหมดพลังทางการเมืองลงไป แม้จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะกลับมามีบทบาทอีกครั้ง แต่บรรยากาศงานวันชาติ 24 มิถุนายน ไม่คึกคักดังเคย ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังใช้วันชาติปราศรัยเน้นการกลับ ให้อภัยกลุ่มการเมืองต่างๆ โดยเห็นแก่ประเทศ คำนึงถึงผลรวมของประเทศมากกว่า

เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหาร พ.ศ.2501 แม้ระยะแรกยังใช้วันที่ 24 มิถุนายน ปราศรัย แต่ที่สุดจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน 2503 ไม่มีสถานะเป็นวันชาติอีกต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image