สุจิตต์ วงษ์เทศ : เพลงดนตรีกวีนิพนธ์ ชอบแล้วจำเอง ไม่ต้องบังคับ

ถ้าชอบแล้วจำได้เอง ไม่ท่อง ใครไม่เชื่อก็ลองดูบ่อยๆ ลูกทุ่งหมอลำซิ่ง (หมอลำคณะศิลปินภูไท ภาพจาก https://www.ntbdays.com/witeebanna/1612)

ท่องบทอาขยาน, ท่องหน้าที่พลเมือง, ท่องสูตรคูณ ถูกปลุกผีขึ้นมาอีกอย่างเงียบๆ เพราะไม่มีใครสนใจการ “ปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง” หมุนกลับเข็มนาฬิกา

ผมไม่เห็นด้วยกับการบังคับท่องจำทุกชนิด และคิดว่าเลิกกันแล้วเรื่องท่องอาขยาน แต่ยังไม่เลิก

บทอาขยานเป็นของดีที่ควรรู้รสคำและรสความ แต่ไม่ต้องท่องจำด้วยการถูกบังคับ ถ้าใครชอบเป็นพิเศษก็ท่องเอง จำได้เอง ไม่ต้องบังคับคุกคามถึงขั้นถูกประณาม “ชังชาติ”

ครูบาอาจารย์อยากเน้นเป็นพิเศษอะไร? ตรงไหน? เอาใส่อินเตอร์เน็ต ใครอยากรู้เปิดดูเอง ไม่ต้องบังคับ

Advertisement

“อย่าสอนแบบ Passive Learning การถ่ายทอดความรู้แบบสำเร็จรูปให้เด็กท่องจำ” ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช (รองประธานมูลนิธิสยามกัมมาจล) มีปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ไทยรัฐวิทยากับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” โดยมีสาระสำคัญอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาไทย มีบางช่วงบางตอนอยู่ในไทยรัฐ (ฉบับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2562 หน้า 12) ขอตัดทอนบางตอนมาแบ่งปันอีก ดังนี้

“ครูต้องสอนแบบ Active Learning โดยครูต้องออกแบบกิจกรรมให้เด็กทำแล้วชวนเด็กคิด ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง

บทบาทของครูที่สำคัญในยุคปัจจุบันไม่ใช่การบอก แต่คือการถาม ถามให้เด็กสะท้อนคิด…”

Advertisement

“ทฤษฎีไม่ต้องสอน เพราะเด็กไปค้นในอินเตอร์เน็ตเองได้ ในนั้นมีทั้งผิดและถูก แต่เขาสามารถตรวจดูได้จากการปฏิบัติแล้วเห็นผลอย่างไร”

“ศตวรรษที่ 21 ต้องการคนที่คิดอะไรใหม่ๆ แหวกแนว

การเรียนสมัยก่อนได้ข้อมูลก็พอ แต่ในยุคใหม่ต้องเป็น Transformative เรียนแล้วเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นด้วย”

ครูบาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยังมีการเรียนการสอนแบบท่องจำ เหมือนการศึกษาพระสงฆ์เรียนนักธรรมเรียนบาลี

ยังหวงวิชาเหมือนการศึกษาดนตรีไทย แล้วห้ามศิษย์ของตนเรียนรู้จากครูบ้านอื่น ใครฝ่าฝืนโดนเฉดหัว ผู้รับเคราะห์ คือ นักศึกษา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image