คอลัมน์ โลกสองวัย : ที่มาของลอยกระทง และเพลงวันลอยกระทง

ประเดี๋ยวเดียว หมายถึงวันลอยกระทงอีกปีหนึ่ง เพลงวันลอยกระทงเป็นเพลงฮิตติดปากติดหูชาวต่างชาติมานานนับหลายสิบปี ใครไม่เชื่อบ้างว่าฝรั่งมังค่ารู้จัก “ไทยแลนด์” จากเพลงลอยกระทง ทั้งยังรู้ด้วยว่า “รำวง” เป็นท่ารำประกอบเพลง “ลอยกระทง”

การ “รำวง” ของสาวไทยส่วนใหญ่จะสวยงามอ่อนช้อย ขณะที่ชายไทยจำนวนไม่น้อยยังรำวงมาตรฐานได้หลายท่า หากหลายคนที่ไม่เคยร่ำเรียน แม้จะออกท่า “ควักกะปิ” บ้าง แต่ยังอ่อนช้อยกว่าท่า “ควักกะปิ” ของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะฝรั่งชายและแหม่มทั้งหลาย

เพลงวันลอยกระทงมีความ “คลาสสิก” มีทั้งสัญลักษณ์และเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและสากลในตัวเอง คือเป็นเพลงที่เรียกว่า “ไทยสากล” และมีท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย คล้ายท่าเต้นรำ หรือลีลาศเพลงช้าประเภท “วอลท์ซ” แต่เร็วกว่า และเดินเป็นวง จะใหญ่เล็กขึ้นกับผู้รำ ไม่จำกัดจำนวน

การ “ลอยกระทง” ว่ากันว่า เป็นวันสำคัญทางศาสนาฮินดูของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินทางจันทรคติไทย ส่วนตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักตกราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ บางปีเทศกาลลอยกระทงจะตกในเดือนตุลาคม เช่นเมื่อ พ.ศ.2544 ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม เช่นเดียวกับ พ.ศ.2563 ปีหน้า

Advertisement

ประเพณีลอยกระทงกำหนดขึ้นเพื่อการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อเจ้าแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหา

นที ทั้งบางหลักฐานว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์ หรือพระมหาเสวก ประเทศไทยกำหนดจัดวันลอยกระทงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะบริเวณที่ติดแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน

บางประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมักลอยในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในงาน “ไหลเฮือไฟ” ประเทศกัมพูชา มีลอยกระทงสองครั้ง คือลอยกระทงกลางเดือน 11 ราษฎรจะทำกระทงเล็กบรรจุอาหารลงไปด้วย ส่วนกลางเดือน 12 จะมีกระทงหลวงเป็นกระทงใหญ่ ราษฎรจะไม่ได้ทำ กระทง นี้จะมีอาหารบรรจุด้วย มีคติส่งส่วนบุญไปให้เปรต

Advertisement

ส่วนประเทศพม่า หรือเมียนมา กระทงตกแต่งคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ และเส้นผม ใส่เหรียญลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในแหล่งน้ำ เช่นเดียวกับพื้นที่ติดทะเลเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา

เพลง “ลอยกระทง” มีเมื่อ พ.ศ.2492 ครบ 60 ปีในปีนี้ อาจารย์อติพร สุนทรสนาน ทายาทของครูเอื้อ “สุนทราภรณ์” สุนทรสนาน เล่าว่า ในค่ำคืนวันลอยกระทงประมาณ พ.ศ.2492 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานวันลอยกระทงที่มหาวิทยาลัย ริมฝั่งเจ้าพระยา จัดให้วงดนตรี

สุนทราภรณ์ไปบรรเลงเพลง ทางคณะขอให้ สุนทราภรณ์ แต่งบทเพลงในงานวันลอยกระทงเป็นที่ระลึก

เมื่อได้รับการขอมา ครูเอื้อจึงร่วมกับ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล จัดการแต่งเพลงวันลอยกระทงในขณะนั้น โดยครูแก้วเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง และครูเอื้อประพันธ์ทำนอง ใช้เวลาประพันธ์เพลงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง (30 นาที)

แต่งเสร็จ ซ้อมร้องเพลงซ้อมรำจนลงตัว วงดนตรีสุนทรา

ภรณ์จึงนำขึ้นร้องและบรรเลงเพลงรำวงวันลอยกระทงบนเวทีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งแรกในค่ำคืนนั้น

“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง

“ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง

“รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ”

(ร้องซ้ำอีกเที่ยวหนึ่ง)

สั้นๆ ง่ายๆ เนื้อร้องไม่ยาวยืดเยื้อ ได้เนื้อหาใจความ สมเป็นเทศกาลรื่นเริงของชายหญิง ร้องง่าย

น้องหนูรู้แล้วว่า เพลงวันลอยกระทง เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้แต่งทั้งเนื้อร้องทำนอง

ส่วนประวัติวันลอยกระทง มีหลายตำนาน ทั้งที่ไทยนำมาแต่งเติมเสริมจนมีนางนพมาศให้อ้างกันด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image