สุจิตต์ วงษ์เทศ : “มิวเซียมกรุงเทพฯ” ไม่มีที่กรุงเทพฯ

“มิวเซียมกรุงเทพฯ” ไม่มีที่กรุงเทพฯ

มิวเซียมกรุงเทพฯ”

ไม่มีที่กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ สร้างด้วยสมองและแรงงานของคนหลากหลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” แต่ไม่เกี่ยวกับเทวดาองค์ใดทั้งนั้น

มิวเซียมกรุงเทพฯ” ถ้าจัดแสดงตามหลักฐานวิชาการประวัติศาสตร์สังคมได้ระดับอย่างสากลจะสร้างทั้งคุณค่าและมูลค่า

Advertisement

คุณค่า เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ เพื่อ “รู้เขา รู้เรา รู้โลก” แล้วเกิดพลังสร้างสรรค์มหาศาล

มูลค่า กระตุ้นให้คนทั่วไปนิยมเที่ยวกรุงเทพฯ เกิดรายได้กระจายกว้างขวางหลายระดับ

มิวเซียมกรุงเทพฯ” ตามความหมายสากล ไม่มีที่กรุงเทพฯ ส่วนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (อยู่วังหน้า) จัดแสดงประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างเดียวโดยไม่มีวิถีชาวบ้าน จึงไม่นับเป็น “มิวเซียมกรุงทพฯ”

ความแตกต่างหลากหลายกระตุ้นพลังสร้างสรรค์ให้บ้านเมืองเติบโตแข็งแรงทางเศรษฐกิจสังคม

กรุงเทพฯ มีชุมชนสารพัดชาติพันธุ์จำนวนนับไม่ถ้วน โดยตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่เป็นชุมชนของตนเอง หรือรวมกลุ่มชาติพันธุ์ของใครของมัน มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ราว 500 ปีมาแล้ว แต่ความเป็นไทย (แบบอนุรักษนิยมที่ต่อต้านประชาธิปไตย) พากัน “ด้อยค่า” กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้น ทั้งๆ ไทยเองมีบรรพชนเป็นคนชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเท่ากับดูถูกโคตรเหง้าของตนเอง

เมืองและสังคมที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของผู้คน และเต็มไปด้วยเสรีภาพทางเศรษฐกิจ จะก่อร่างสร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้างในการรับความคิดใหม่ๆ ซึ่งสิ่งนี้จะกลายเป็นมูลฐานสำคัญของการผลิตคนและบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์

ยิ่งไปกว่านั้น คุณลักษณะของเมืองเช่นนี้จะดึงดูดนักสร้างสรรค์จากที่อื่น โดยเฉพาะนักสร้างสรรค์จากเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมการเซ็นเซอร์ที่ไร้เสรีภาพ ให้ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เมืองนั้นๆ กลายเป็นศูนย์รวมและศูนย์กลางของศิลปินและนักสร้างสรรค์ชั้นนำในเวลาต่อมา”

(หากสนใจประเด็นนี้ ดูเพิ่มในบทความ Creativity and Freedom เขียนโดย Michel Serafinelli และ Guido Tabellini https://voxeu.org/article/creativity-and-freedom อ้างในคอลัมน์พื้นที่ระหว่างบรรทัด โดย ชาตรี ประกิตนนทการ ใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 2177 ประจำวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2565 หน้า 32)


คนกรุงเทพฯ “ร้อยพ่อพันแม่” (ซ้าย) ลอยเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา (ภาพเก่า) (ขวา) เดินทางด้วยพาหนะต่างๆ (ภาพเก่า)

บาทหลวงปัลเลอกัวซ์คาดคะเนประชากรสยาม (ทั้งประเทศ) สมัย ร.4 มีราว 6 ล้านคน ส่วนกรุงเทพฯ น่าจะมีประชากรมากกว่า 400,000 (สี่แสน) คน แล้วจำแนกชาติพันธุ์ ดังนี้

จีน                     200,000

สยาม                  120,000

ลาว                    25,000

มอญ                  15,000

มลายู                   15,000

โคชินจีน               12,000

กัมพูชา                      10,000

เข้ารีดชาติต่างๆ       4,000

พม่า                      3,000

รวม                   404,000 คน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image