‘วรรณคดีไทย’ ฉบับอ่านง่าย สบายมาก เพื่อคนไม่อยากอ่าน

วรรณกรรม เป็นคำเดียวกับวรรณคดี ที่แปลจากคำฝรั่งว่า Literature

ทุกวันนี้บางทีเรียกวรรณคดี หมายถึงวรรณกรรมโบราณที่ส่วนมากแต่งด้วยร้อยกรอง

ไม่ว่าจะเรียกไร? อย่างไร? วรรณกรรมไทย หรือวรรณคดีไทย ก็ไม่เป็นที่นิยมของสังคมไทยที่เป็นผลจาก “ไม่อ่าน” เมื่อเทียบสังคมอื่นๆ เช่น สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, จีน ฯลฯ

เพราะส่วนมากเป็นวรรณกรรมโบราณ ใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารยุคดั้งเดิมเก่าแก่ที่คนสมัยนี้เข้าใจยาก หรือไม่เข้าใจเลย

Advertisement

นามานุกรมวรรณคดีไทย จัดทำโดยมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

เป็นหนังสือชุดมีหลายเล่ม สรุปย่อสาระสำคัญเป็นภาษาปัจจุบันอ่านง่ายๆ เกี่ยวกับวรรณคดีไทยตั้งแต่ยุคอยุธยาถึงยุคธนบุรี, รัตนโกสินทร์

จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญมากๆ อย่างหนึ่งกระตุ้นให้คนที่สนใจได้อ่านอย่างสะดวก จะยกตัวอย่างโดยสรุปสั้นๆ บางชื่อ ดังนี้

Advertisement

สุนทรภู่

สุนทรภู่ (มาจากชื่อเดิมคือ “ภู่” รวมกับทินนามคือ “สุนทรโวหาร” เป็น”สุนทรภู่”) เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329

สถานที่เกิดคือบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบัน

นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง แต่มีผู้เชื่อว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวเพชรบุรี ส่วนมารดานั้น สันนิษฐานว่าอพยพจากกรุงศรีอยุธยาสมัยเสียกรุงมาตั้งรกรากอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมาบิดามารดาหย่ากัน บิดาไปบวชอยู่ที่เมืองแกลง มารดามีสามีใหม่และมีบุตรสาวอีกสองคนชื่อฉิมกับนิ่ม

พระรถขี่ม้าวิเศษเหาะหนีออกจากเมืองยักษ์ของนาง เมรี เพื่อเอายาวิเศษไปรักษาป้าและแม่ จิตรกรรมปลาย ร.3 บนผนังบานแผละในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ

หลังจากนั้นมารดาก็เข้าวังไปเป็นพระนมพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข สุนทรภู่จึงได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่เด็ก

สุนทรภู่ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2398 อายุได้ 70 ปี สุนทรภู่เป็นกวีที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศในการแต่งกลอนแปด

สุนทรภู่เขียนบอกไว้เองในนิราศหลายเรื่องว่าเกิดในวังหลัง อยู่กับแม่ในเรือนแพ ปากคลองบางกอกน้อย ที่เคยเป็นสถานีรถไฟธนบุรี ปัจจุบันเป็นบริเวณโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
สุนทรภู่เขียนบอกไว้เองในนิราศหลายเรื่องว่าเกิดในวังหลัง อยู่กับแม่ในเรือนแพ ปากคลองบางกอกน้อย ที่เคยเป็นสถานีรถไฟธนบุรี ปัจจุบันเป็นบริเวณโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งขวาของภาพคือปากคลองบางกอกน้อย (ภาพจาก Earth Eye View ใน http://pantip.com)

กาพย์ขับไม้เรื่องพระรถ

กาพย์ขับไม้เรื่องพระรถ (หรือเรื่องพระรถเสน) เป็นวรรณคดีที่ใช้ในพิธีกรรม เนื่องจากเป็นบทสำหรับขับไม้ในงานสมโภชชั้นสูง ได้แก่ การสมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระเจ้าลูกเธอขึ้นพระอู่และโสกันต์

ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ แต่สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นสมัยอยุธยา

เนื้อเรื่องพระรถเมรีมีที่มาจากปัญญาสชาดกเรื่องรถเสนชาดก ซึ่งเป็นชาดกที่ได้เนื้อเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน

โดยเฉพาะชื่อตัวเอกของเรื่องคือท้าวรถเสนและนางกังฮี ตรงกับชื่อบรรพบุรุษของราชวงศ์ล้านช้าง ดังปรากฏในพงศาวดารล้านช้าง การที่บทขับไม้ซึ่งร้องในพระราชพิธีสมโภชชั้นสูงขับนิทานเรื่องนี้ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของราชสำนักอยุธยากับอาณาจักรล้านช้าง

พระรถขี่ม้าวิเศษเหาะหนีออกจากเมืองยักษ์ของนาง เมรี เพื่อเอายาวิเศษไปรักษาป้าและแม่ จิตรกรรมปลาย ร.3 บนผนังบานแผละในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
พระรถขี่ม้าวิเศษเหาะหนีออกจากเมืองยักษ์ของนาง เมรี เพื่อเอายาวิเศษไปรักษาป้าและแม่ จิตรกรรมปลาย ร.3 บนผนังบานแผละในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ

ศรีปราชญ์ กับ กำสรวลศรีปราชญ์

ชื่อศรีปราชญ์ ไม่ปรากฏว่าเป็นราชทินนาม มีเพียงการอ้างถึงอยู่ในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด

คำให้การทั้งสองฉบับให้ข้อมูลเชิงประวัติไว้เพียงคร่าวๆ ว่าศรีปราชญ์สิ้นชีวิตในรัชกาลพระเจ้าเสือ ด้วยเหตุที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราชสั่งประหาร เนื่องจากระแวงว่าศรีปราชญ์มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อย แต่คำให้การข้างต้นทั้งสองฉบับมิได้ระบุถึงผลงานของศรีปราชญ์ไว้แต่อย่างใด

ผู้ที่ทำให้เกิดแนวความคิดที่ว่าศรีปราชญ์คือกวีผู้แต่งโคลงกำสรวล และอนิรุทธ์คำฉันท์ กับทั้งโคลงกวีโบราณ ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งอีกหลายบทนั้น ได้แก่ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ์) ได้แต่งตำนานศรีปราชญ์ขึ้นประมาณ พ.ศ. 2470 โดยอาศัยคำให้การดังกล่าวข้างต้นเป็นฐาน และจบลงตามคำที่เล่าไว้ในคำให้การทั้งสองฉบับ แต่เพิ่มสีสันด้วยการอ้างถึงโคลงโบราณที่ว่า ธรณีภพนี้เพ่ง ทิพญาณ หนึ่งรา

ประวัติของศรีปราชญ์จึงยังไม่เป็นที่ยุติ

กำสรวลสมุทร

กำสรวลสมุทรเป็นงานประพันธ์สมัยอยุธยาซึ่งเรียกกันหลายชื่อ เช่น กำสรวลโคลงดั้น กำสรวลศรีปราชญ์ โคลงกำสรวล

ก่อน พ.ศ. 2519 ตำราประวัติวรรณคดีส่วนมาก มักเล่าถึงประวัติการแต่งกำสรวลสมุทรโดยโยงสัมพันธ์กับตำนานศรีปราชญ์ที่พระยาปริยัติธรรมธาดาแต่งขึ้น แต่ตำนานนั้นมีข้อพิรุธมาก

เมื่อวิเคราะห์ตัวบท นอกจากสำนวนภาษาเก่าทัดเทียมระดับยวนพ่ายและมหาชาติคำหลวง ครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฐานะของผู้แต่งซึ่งใช้คำแทนตัวว่า “ศรี” นั้น ก็หาใช่ลักษณะนักโทษเนรเทศตามตำนานไม่ หากแต่ดูเป็นผู้มีความสำคัญสูงยิ่ง เพราะกล่าวถึงตนเองอย่างมั่นใจ ใช้ราชาศัพท์ทั้งแก่นางและตนเองหลายครั้ง

จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นไปได้ที่ผู้แต่งน่าจะได้แก่สมเด็จพระบรมราชาที่ 3

 อุณรุท บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
อุณรุท บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ

อนิรุทธ์ กับ อุณรุท

อนิรุทธ์คำฉันท์ เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา แต่งด้วยคำประพันธ์ฉันท์ กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ไม่ทราบแน่ว่าใครเป็นผู้แต่ง

เดิมเชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง แต่จากการศึกษาของนักวรรณคดีเชื่อกันว่าศรีปราชญ์ไม่มีตัวตน

อาจเป็นไปได้ที่อนิรุทธ์คำฉันท์จะแต่งในสมัยเดียวกับสมุทรโฆษคำฉันท์ และผู้แต่งอาจเป็นคนกลุ่มเดียวกัน เพราะสำนวนโวหารใกล้เคียงกันทั้งแนวนิยมด้านวรรณศิลป์และความเก่าใหม่ของภาษา

บทละครเรื่องอุณรุทเป็นบทละครในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2330

เรื่องอุณรุทเป็นนิทานวีรบุรุษ คือเป็นเรื่องชีวิตการผจญภัยและความรักของพระ อุณรุทผู้เป็นนัดดาของพระกฤษณะ

เรื่องอุณรุทเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่องอนิรุทธ์คำฉันท์และยังมีบทละครครั้งกรุงเก่า

mana 27 1_1500x1479

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image