เมื่อโลกต้องอยู่ร่วมกับโควิด!! NEXT NORMAL ก้าวต่อไปของ ‘ธุรกิจอาหาร’

เมื่อโลกต้องอยู่ร่วมกับโควิด!! NEXT NORMAL ก้าวต่อไปของ ‘ธุรกิจอาหาร’

ธุรกิจอาหารอยู่ในห้วงเวลาเเห่งการเปลี่ยนเเปลง เมื่อโลกยุคใหม่ที่ต้อง “อยู่ร่วมกับโควิด” จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน ธุรกิจก็ต้องปรับให้ทันท่วงที วิกฤตครั้งนี้ จึงมีทั้ง “โอกาส” เเละ “ความท้าทาย”

เเนวทางการรับมือธุรกิจอาหารจะเป็นอย่างไร การปรับตัวเเละก้าวทันด้วยเทคโนโลยี กลยุทธ์สร้างความเเตกต่างเพื่อเป็นตัวท็อปในตลาด กับมุมมองของ 3 กูรูในงานเสวนา “NEXT NORMAL ก้าวต่อไปธุรกิจอาหาร” โดยฟาร์มเฮ้าส์ร่วมกับมติชน อคาเดมี

โลกเปลี่ยน ธุรกิจต้องคว้าโอกาสใหม่

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขึ้นเวทีเสวนาจับไมค์กล่าวถึงมุมมอง Next Digital Economy เศรษฐกิจยุคดิจิทัลกับการเอาตัวรอดของธุรกิจอาหาร ว่า โลกวันนี้เปลี่ยนเเปลงทุกวันทุกเวลา ดังนั้น ทุกคนไม่ว่าอาชีพใด ก็ต้อง “อัพเดต” ตัวเองอยู่เสมอ

Advertisement

สำหรับธุรกิจอาหารนั้น ต้องเจอกับคลื่นสึนามิลูกเเรกทางเทคโนโลยี เเล้วมาเจอสึนามิอีกลูกคือ “โควิด-19” ที่ใครเก่งก็ไปต่อได้เร็ว เเต่ถ้าใครขยับไม่ทันก็ต้องจมลง

ขณะที่โรคระบาด กลายเป็น “ตัวเร่ง” ให้เกิดการเปลี่ยนเเปลง ระหว่างนั้นก็ทำให้รู้ว่า “ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส” เป็นช่วงเวลาของเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่จะมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต เมื่อความก้าวหน้าของเเพลตฟอร์มได้เข้ามาพลิกธุรกิจอาหาร

Advertisement

โดยในช่วงวิกฤต คนไทยถือว่าปรับตัวรับเทคโนโลยีได้ค่อนข้างเร็ว ดูจากอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรี่ การเรียนเเละทำงานออนไลน์ รวมไปถึงการเข้าถึงเเพลตฟอร์มดิจิทัลในโครงการคนละครึ่ง ไทยชนะ เเละเเอพพลิเคชั่นเป๋าตัง เป็นต้น

เเต่ในอีกมุมหนึ่งวิกฤตโควิดก็ทำให้ปัญหาความอ่อนเเอเเละความเหลื่อมล้ำในสังคมเด่นชัดมากขึ้น จำนวนคนไร้บ้าน เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า สิ่งนี้คือปัญหาที่สะท้อนออกมาเพื่อให้เกิดการเเก้ไข เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเเก้ไขให้ได้

ปราปต์ บุนปาน
กรรมการผู้จัดการสายเทคโนโลยีและดิจิทัลมีเดีย บมจ.มติชน

เมื่อพูดถึงโอกาสเเละความท้าทาย ดร.ชัชชาติกล่าวว่า เศรษฐกิจโลกจะยังไม่กลับมาฟื้นตัวได้ง่ายๆ เเละธุรกิจต่างๆ ในไทยยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่ากลับมาได้เท่าระดับก่อนโควิด เพราะพึ่งพาการท่องเที่ยวอยู่มาก บวกกับปัญหา “หนี้ครัวเรือน” ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ลูกค้าเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยน นักท่องเที่ยวยังไม่กลับมาในเร็ววัน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่อย่างจีน ข้าราชการยังพอมีกำลังซื้อ ลูกจ้างทั่วไปต้องประหยัดกันมากขึ้น

ธุรกิจยุคนี้ “ต้องวิ่งไปหาลูกค้า มากกว่าให้ลูกค้ามาหาเรา” ต้องเชื่อมธุรกิจผ่านเเพลตฟอร์ม ผู้บริโภคเชื่อในฟีดเเบ๊ก-รีวิวคุณภาพอาหาร ทำให้เกิดโอกาสใหม่ที่ไม่ต้องเช่าที่ราคาเเพงในกลางเมือง เเต่ขยับมาทำคลาวด์คิทเช่นเเทน หรือเเตกไลน์ไปยังธุรกิจใหม่ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง

ดอกเตอร์ผู้แข็งแกร่งในปฐพียกตัวอย่างกรณีของร้าน “ยู้ ลูกชิ้นปลาเยาวราช” ที่มีการเปลี่ยนผ่านการบริหารงานมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 กับการขยายสาขาใหม่ ต้องสร้างสตอรี่โปรโมตในช่องทางออนไลน์ต่างๆ เเละเปิดขายผ่านเดลิเวอรี่ ขณะเดียวกันก็มีการต่อยอดสินค้าจากการคิดกำจัดก้างและหนังปลาที่มีอยู่ นำมาผลิตเป็นเเบรนด์คอลลาเจนและแคลเซียมอาหารเสริมจากปลา กลายเป็นรายได้เพิ่มเติม

“โลกเปลี่ยนจาก Brand Age ไปสู่ Product Age การทำโฆษณาเพื่อสร้างแบรนด์ จะมีความสำคัญน้อยลง เเต่ลูกค้าจะเชื่อในการบอกต่อ การรีวิว การสนทนากันในกลุ่มเพื่อนทั้งต่อหน้าและโซเชียลมีเดีย ดังนั้น คุณภาพและความไว้วางใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด” ดร.ชัชชาติแนะนำถึงการรับมือของธุรกิจอาหาร ว่าสิ่งแรกต้องเชื่อมั่นว่า ‘ทุกวิกฤตมีโอกาส’ จากนั้นกำหนด ‘กลยุทธ์’ ให้ชัดเจน ทั้งเรื่องราคา ความแตกต่างและกลุ่มเป้าหมาย หาตลาดที่ตัวเองครองตลาดให้ได้ ไม่ว่าจะเล็กระดับหมู่บ้าน หรือใหญ่ถึงระดับจังหวัด ประเทศ แล้วต้องทำสินค้าเเละบริการที่มี ‘คุณภาพ’ เพราะ Product สำคัญกว่า Brand ทั้งนี้ เพื่อสร้างความไว้วางใจ (Trust) ในสินค้าเเละบริการ เมื่อเกิดมีสถานการณ์ไม่เเน่นอนธุรกิจต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เสมอ สิ่งสำคัญ คือพยายามสร้างสินค้าเเละการขายใหม่ที่มีการเเข่งขันน้อยที่สุด

“จำไว้ว่าทุกวิกฤตมีโอกาส อย่าไปท้อเลือกยุทธศาสตร์ให้ชัด อย่าเสียเวลาโฆษณา แต่ให้ทำโปรดักต์ให้เจ๋ง ถ้าโปรดักต์ดี จะมีการบอกปากต่อปาก การสร้างความไว้ใจคือหัวใจ อย่างฟาร์มเฮ้าส์คุณภาพดี ผู้บริโภคไว้ใจอยู่ยืนยาวได้” ดร.ชัชชาติกล่าว

ปรับตัวเเละก้าวทัน ด้วย ‘เทคโนโลยี’

ด้านฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร “อภิเศรษฐ ธรรมมโนมัย” กรรมการรองผู้อำนวยการ บมจ.เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ กับมุมมองจากการเป็นแบรนด์ขนมปังอันดับ 1 ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานอย่าง “ฟาร์มเฮ้าส์”

กล่าวถึง “Next Step 40 ปี ฟาร์มเฮ้าส์” ฝ่าวิกฤตโควิดด้วย Automation Technology ว่า เเม้จะเป็นแบรนด์เก่าแก่ที่ติดตลาดเเละได้รับความนิยมอยู่เเล้ว แต่ก็ต้องปรับตัวและรับมือการเปลี่ยนแปลงของ Digital Transformation อยู่เสมอ ยิ่งในช่วงโควิด-19 เป็นโอกาสที่จะได้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจอาหารมากขึ้นและเร็วยิ่งขึ้น ทั้งการบริหารจัดการ กระบวนการผลิต การขนส่งและการบริการ

“หัวใจของธุรกิจอาหารคือ ความสะอาดและปลอดภัย ในช่วงวิกฤตเราต้องคิดรับมืออย่างรวดเร็ว เช่นการกระจายฉีดวัคซีนในบริษัทให้ทั่วถึง เน้นควบคุมการผลิตด้วยระบบ Automation เเละมีเเผนสำรองอยู่เสมอ”

การมีซัพพลายเออร์และคู่ค้าที่ดี เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจของฟาร์มเฮ้าส์เติบโตมาได้หลายทศวรรษ การมี “สายส่ง” อยู่ทั่วประเทศทำให้เข้าถึงคนไทยได้ง่าย ฟาร์มเฮ้าส์มีรถขนส่ง 1,000 คัน ส่งจากโรงงานไปที่ศูนย์กระจายสินค้ากว่า 40 แห่ง มีรถส่งไปตามร้านค้าต่างๆ กว่า 50,000 ร้านค้า โดยในช่วงโควิด ผู้คนอยู่บ้านและหันมาซื้อของทางออนไลน์มากขึ้น ทางแบรนด์ก็มี “โปรโมชั่นส่งฟรี” เมื่อซื้อสินค้าเพียง 150 บาทขึ้นไป และโปรโมชั่นแจกแถมต่างๆ พร้อมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากขึ้น เช่น ขนมปังบัตเตอร์สก็อต ฯลฯ ทุกกระบวนการจะต้องมีตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานผ่าน อย. ผ่านมาตรฐานระดับโลก และทดสอบรสชาติจากผู้เชี่ยวชาญ

“ฟาร์มเฮ้าส์ มีการปรับตัวอยู่เรื่อยๆ ทั้งการผลิต การบริการเเละพัฒนาบุคลากร อัพสกิลและรีสกิลพนักงานรุ่นเก่าที่อยู่กับเรามาหลายสิบปีเเละพนักงานรุ่นใหม่ ทำทุกอย่างให้ตรวจสอบได้ จะได้แก้ไขปัญหาได้ง่าย” อภิเศรษฐกล่าว

สำหรับนวัตกรรมใหม่ที่ “ฟาร์มเฮ้าส์” จะมีมานำเสนอในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองอย่างมาก ก็คือการใช้ “Brand Ambassador” ใหม่ เป็น AI “คนเสมือนจริง” ที่จะมาอยู่ในทุกๆ แพลตฟอร์มของฟาร์มเฮ้าส์ คาดว่าจะได้เห็นกันในช่วงต้นปีหน้า (2565) นี้

“Brand Ambassador ใหม่ของเราจะสื่อถึงลูกค้า คู่ค้า เป็นความรู้สึกที่ถ่ายทอดมาจากทีมงานจริงๆ สร้างขึ้นมาให้ตรงคอนเซ็ปต์ของความเป็นฟาร์มเฮ้าส์ ใส่ความเป็นแบรนด์เเละสิ่งที่เราอยากนำเสนอได้เต็มที่”

กลยุทธ์ ‘ส.จ.ด.ต.’ เสน่ห์ จุดเด่น จุดต่าง

ด้าน “ฟูจิ เซ็นเซ” นักธุรกิจและนักวางแผนการลงทุนที่มีกว่า 10 กิจการในมือและอาจารย์สอนทำธุรกิจชื่อดัง เปิดมุมมองธุรกิจยุคใหม่ของคนตัวเล็ก “Next Generation” ว่า ขั้นเเรกต้องทำความเข้าใจกับนิยามของธุรกิจก่อนว่า แท้จริงเเล้ว “ธุรกิจคือการแก้ปัญหา” ดังนั้น เราต้องคิดถึงปัญหาอะไรก็ตามที่คนอื่นยังไม่แก้ ต้องหาให้เจอเเล้วเสิร์ฟให้ลูกค้า

สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี สร้างความแตกต่าง ดีต่อใจลูกค้า ด้วย “ศาสตร์ที่ทำให้คนอยาก” เพราะถ้าเราสามารถทำให้คนมีความอยากได้ ดีมานด์ความต้องการของผู้บริโภคก็จะตามมาเอง แม้จะเป็นสินค้าธรรมดาๆ ก็ตาม

“ถ้าเลือกจะทำตามเทรนด์ จะเป็นที่หนึ่งได้ต้องเก่งกว่า เร็วกว่า ดังนั้น เราจะทำตามเทรนด์ได้ก็ต่อเมื่อเราเก่งเเละมีทุน หรือมีของดีกว่า เเต่ถ้าเราเป็นคนตัวเล็ก สิ่งที่ต้องทำคือ คิดย้อนศร”

ยุคนี้การมี “ส.จ.ด.ต.” หรือ “เสน่ห์ จุดเด่น จุดต่าง” นั้นสำคัญมาก ซึ่งการประกาศว่าเราเป็น “ที่หนึ่ง” ในเรื่องใดสักเรื่องก่อน ซึ่งจะสร้างโอกาสในการกระจายข่าวในโซเชียลได้เร็วกว่า เเล้วผู้คนจะจดจำได้ เช่น อาจจะหาจุดเด่นเล็กๆ ของร้าน อย่างมีเมนูมากที่สุดในหมู่บ้านก็ได้ นอกจากนี้ การจับมือกับพาร์ตเนอร์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเราไม่ได้ถนัดไปทุกอย่าง เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ใช้ความได้เปรียบของแบรนด์ระหว่างกันซึ่งได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงการได้เรียนรู้สูตรลับของอีกฝ่ายด้วย

ตอนท้ายของการเสวนา “ฟูจิ เซ็นเซ” ฝากแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการรายย่อยไว้เป็นการบ้านเพื่อต่อยอดธุรกิจ ว่าต้องฝึกเจรจาต่อรอง ฝึกบริหารการเงิน ฝึกเทคนิคการขาย แก้ปัญหาของลูกค้า สะกดใจคนซื้อให้ได้ หาวิธีเพิ่มลูกค้าในช่องทางต่างๆ ฝึกหา “ส.จ.ด.ต.” ที่สำคัญอย่างมากก็คือหาจุดอ่อนในวงการของคุณ และรู้จักของต้องการของลูกค้าของคุณอย่างเเท้จริง

ข้อคิดคำแนะและแนวทางเหล่านี้ในการเสวนา “NEXT NORMAL ก้าวต่อไปธุรกิจอาหาร” จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าอย่างมีพื้นฐานที่มั่นคง ที่ไม่ว่าเจอสถานการณ์ไหนๆ ก็จะผ่านพ้นไปได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image