‘ลูกทุ่งสุพรรณ’ ในวัฒนธรรมป๊อป มีกำเนิดจากเพลงไทยสากล

ลูกทุ่งสุพรรณ” เป็นส่วนหนึ่งของเพลงลูกทุ่งมีกำเนิดจากเพลงไทยสากลในวัฒนธรรมป๊อป

แต่กว่าจะเป็น “ลูกทุ่งสุพรรณ” มีความเป็นมายาวนานมากนับพันปีมาแล้ว เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของชาวสยาม และภาษาไทย สำเนียงเหน่อ

1. ชาวสยามเป็นคน “ไม่ไทย” จากหลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” ที่โยกย้ายไปมาจากที่ต่างๆ ใน “โซเมีย” (บริเวณหุบเขาสูงทางภาคใต้ของจีน) โดยเฉพาะจากลุ่มน้ำโขง แล้วตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำท่าจีนแม่กลอง ทางฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อนานนับพันๆ ปีมาแล้ว

2. ความ “ไม่ไทย” ของชาวสยามลุ่มน้ำท่าจีนแม่กลอง จึงต้องใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางในการสื่อสารทางการค้าและทางสังคม ครั้นนานไปก็กลายตนเป็นไทย

Advertisement

3. ภาษาไทยของชาวสยามสำเนียงเหน่อ มีหางเสียงเป็นทำนองสูงต่ำ (เหมือนเพลง) มีคำคล้องจองเติบโตเป็นโคลงกลอน ใช้ขับลำด้วยเสียงโหยหวนและลูกคอ จึงมีประเพณีเล่นเพลงโต้ตอบแก้กันของหญิงชายมีมากหลากหลายนับไม่ถ้วน (เป็นที่กล่าวขวัญจนมีคำบอกเล่าว่าชาวสยามสุพรรณเคยไปเล่นเพลงโต้ตอบในวังหลวงพระนครศรีอยุธยาของพระเพทราชา)

4. นักร้องลูกทุ่งสุพรรณจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมด มีกำเนิดหรือความเป็นมาเกี่ยวข้องใกล้ชิดวัฒนธรรมลาวจากลุ่มน้ำโขง เช่น สำเนียงเหน่อ, เสียงเต็ม, คุ้นเคยจังหวะจะโคนทำเสียงโหยหวนและเล่นลูกคอ เป็นต้น

ศรเพชร ศรสุพรรณ

Advertisement

(ซ้าย) งานศพ ศรเพชร ศรสุพรรณ ตำนานนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ที่วัดยางไทยเจริญผล ต. บ้านดอน อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 (ขวา) พิธีพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ) แก่ ศรเพชร ศรสุพรรณ หรือนายบุญทัน คล้ายละมั่ง อายุ 73 ปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 เวลา 16.00 . ที่วัดยางไทยเจริญผล ต. บ้านดอน อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี (ภาพจาก https://www.khaosod.co.th)

8 มกราคม 2565 ศรเพชร ศรสุพรรณ สิ้นลมหายใจจากภาวะนํ้าท่วมปอดหลังเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ด้วยอาการป่วยเรื้อรังบริเวณกระเพาะอาหาร สิริอายุได้ 74 ปี

สวดพระอภิธรรมที่วัดยางไทยเจริญผล อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี (บ้านเกิด)

พระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ เมื่อ 16 มกราคม 2565 ทิ้งมรดกความทรงจำในเสียงเพลงอันไพเราะไว้ในประวัติศาสตร์สังคมไทย อาทิ ไอ้หวังตายแน่, เข้าเวรรอ, ใจจะขาด, มอเตอร์ไซค์ทำหล่น, เสียน้ำตาที่คาเฟ่ รักมาห้าปี และอีกมากมาย

ศรเพชร หรือ บุญทัน คล้ายละมั่ง ชื่อตามบัตรประชาชน เกิดที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.. 2491 จบประถม 4 จากโรงเรียนวัดศรีสร้อยเพชร จ. สุพรรณบุรี เข้าวงการด้วยตำแหน่งนักร้องเชียร์รำวงของ ดำ แดนสุพรรณ โดยมี เลี้ยง กันชนะ เป็นผู้ชักนำจนได้พบ โผผิน พรสุพรรณ ซึ่งแต่งเพลงให้ร้องจนโด่งดังในปี 2513-2519 สำหรับเพลงสร้างชื่อจนได้รางวัลนักร้องดีเด่นเสาอากาศทองคำ จากสถานีวิทยุเสียงสามยอด ในปี 2518 คือ ‘ข้าวไม่มีขาย’ ด้วย ‘ลูกคอ’ ที่ได้ชื่อว่า ‘สะเด็ด’ เป็นเอกลักษณ์ สร้างตำนานลูกทุ่งไทย

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

งานศพ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ที่วัดวังน้ำเย็น ต. วังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 (ภาพจาก https://www.matichon.co.th)

12 มกราคม 2565 ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ พ.. 2540 เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพฯ สิริอายุได้ 79 ปี

สวดพระอภิธรรม ที่วัดวังน้ำเย็น อ. บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี (บ้านเกิด) ก่อนเก็บร่าง 100 วัน รอกำหนดการพระราชทานเพลิงศพ

ไวพจน์ เกิดที่ อ. บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี ขึ้นแท่น ‘ราชาเพลงแหล่’ นามสกุลที่แท้จริงคือ สกุลนี เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.. 2485 จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนวัดวังน้ำเย็น เริ่มหัดเพลงอีแซวในวัย 12 ขวบ และร้องเพลงแหล่ได้ในวัย 14 ปี ตามด้วยการหัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง

เข้าสู่วงการด้วยการชักชวนของ ชัยชนะ บุญณะโชติ หลังไวพจน์สมัครประกวดร้องเพลงจนเข้าตา กลายเป็น ไวพจน์ เพชรสุพรรณในที่สุด

นอกจากเพลงลูกทุ่ง ยังสามารถร้องเพลงพื้นบ้านประเภทต่างๆ ทั้งเพลงฉ่อย เพลงแซว เพลงตอบโต้ปฏิภาณกวีได้อย่างดี โดยเฉพาะเพลงแหล่ ซึ่งมีผลงานแผ่นเสียงเพลงแหล่มากที่สุดในประเทศ จนได้รับการยกย่องเป็น ‘ราชาเพลงแหล่’ ทั้งยังแต่งเพลงและสร้างลูกศิษย์เป็นดาวค้างฟ้าในวงการลูกทุ่ง อาทิ ขวัญจิต ศรีประจันต์, เพชร โพธาราม และพุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นต้น

เพลงลูกทุ่งมาจากเพลงไทยสากล

เพลงลูกทุ่ง มีกำเนิดและพัฒนาการเป็นแขนงหนึ่งของเพลงไทยสากลในวัฒนธรรม
ป๊อป เนื้อหาสมัยแรกๆ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางชนชั้น อันเนื่องจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมวัฒนธรรม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ดังนั้น เพลงลูกทุ่งมีกำเนิดการร้องและเล่นผูกกระชับกับวงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากลเป็นหลัก จึงมิได้มีกำเนิดจากวงดนตรีไทยเดิม หรือวงพื้นบ้านพื้นเมือง แต่อาจรับพลังหลายอย่างจาก “ของเก่า” ก็ได้ เช่น ฐานเสียงร้องเต็มเสียง, ทำนอง เป็นต้น

เศรษฐกิจการเมืองของเพลงลูกทุ่ง

เพลงลูกทุ่ง ไม่ได้มีขึ้นลอยๆ จากสุญญากาศ แต่มีพัฒนาการยาวนานจากเพลงไทยสากล ใช้เครื่องดนตรีสากลของวงดนตรีสากล ประเภทเพลงตลาด หรือเพลงชีวิต (ไม่ใช่เพลงเพื่อชีวิต)

สภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจการเมือง รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ “ทรานซิสเตอร์” เทคโนโลยีใหม่ และการโยกย้ายแรงงานจำนวนมากจากชนบทเข้าโรงงานในกรุงเทพฯ กับปริมณฑล

การเมืองไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กระตุ้นให้เกิดเพลงไทยสากลต้นทางเพลงลูกทุ่ง ในที่สุดก็มีเพลงลูกทุ่ง ส่ง “สาร” ความทันสมัยจากเมืองสู่ชนบท

สามัญชนเมือง ผู้สร้างเพลงลูกทุ่ง

เพลงลูกทุ่ง โดยรวมๆ แล้วเป็นงานสร้างสรรค์แบบหนึ่งโดยสามัญชนเมือง แล้วแพร่หลายสู่ชนบทด้วยสื่อชนิดใหม่ ขณะเดียวกันก็ดูดกลืนรูปแบบการละเล่นของชาวชนบทไว้เป็นของตนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ แล้วพัฒนาเพลงลูกทุ่งส่งให้ชนบทอีกครั้งหนึ่ง เท่ากับศิลปะของชาวบ้านชนบทเกิดจากคนในเมืองที่พยายามสื่อในสิ่งอันเป็นที่ชอบใจของชาวชนบท

เพลงลูกทุ่ง ตั้งแต่ถูกเรียกอย่างกว้างขวางแล้วยอมรับอย่างเป็นทางการ ก็มีพัฒนาการสร้างสรรค์ต่อเนื่องยาวนานแตกแขนงหลายกิ่งก้านสาขาเกินกว่าจะประมวลได้หมด โลกไม่เหมือนเดิม แต่คนบางกลุ่มไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง เพลงลูกทุ่งสมัยหลังๆ สืบจนทุกวันนี้อาจถูกพิพากษาจากคนบางกลุ่มที่อยากให้โลกเหมือนเดิม

เพลงไทยสากล ต้นตอเพลงลูกทุ่ง

เพลงไทยสากล บรรเลงด้วยวงดนตรีสากลในกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีพัฒนาการในกองทหารด้วยแตรวง, วงดุริยางค์, วงโยธวาทิต ตั้งแต่สมัย ร.4 เรือน พ.. 2400

เพลงไทยสากลแรกสุดชื่อ เพลงวอลทซ์ปลื้มจิต แต่งโดย กรมพระนครสวรรค์วร พินิต (วังบางขุนพรหม) สมัย ร.5 ราว พ.. 2446

หลังจากนั้นต่อมามีเพลงกล้วยไม้ แต่งโดย พรานบูรพ์ (นายจวงจันทร์ จันทร์คณา) สมัย ร.7 ราว พ.. 2476

วัฒนธรรมป๊อป

วัฒนธรรมป๊อป มีพลังผลักดันเพลงไทยสากลให้มีเสรี มากสีสัน ทันสมัย หวือหวา เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทันท่วงที สนุก

ป๊อปมาจากโลกตะวันตก แล้วแพร่หลายเข้าถึงไทยอย่างมีพลัง ราวหลัง พ.. 2470 โดยผ่านสื่อสำคัญครั้งนั้น เช่น การพิมพ์, การแสดงสาธารณะ, แผ่นเสียง ฯลฯ

ก่อนมีเพลงไทยสากล ในไทยมีเพลงดนตรีไทยแบบฉบับ (ตามประเพณีของภาคกลาง) ที่เรียกทั่วไปว่า มโหรี, ปี่พาทย์, เครื่องสาย [เพลงดนตรีภาคอื่นๆ (ไม่ภาคกลาง) เช่น สะล้อซอซึง, แคน, พิณ, กาหลอ, ชาตรี ถูกกีดกันเป็นเพลงดนตรีพื้นบ้านพื้นเมือง หมายถึงไม่ไทย]

ดนตรีไทยแบบฉบับ เป็นปฏิปักษ์วัฒนธรรมป๊อป เพื่อรักษาจารีตดั้งเดิมไว้ และเพื่อผดุงสถานะคนชั้นนำเดิม เมื่อมีเพลงไทยสากล และวงดนตรีไทยสากล นับแต่นี้ไปเพลงดนตรีไทยแบบฉบับถูกแช่แข็ง เรียกเป็น “วงดนตรีไทยเดิม” และ “เพลงไทยเดิม”

ดนตรีไทยแบบฉบับ (หรือดนตรีไทยเดิม) แท้จริงแล้วคือดนตรีไทยประเพณีที่รับอิทธิพลแบบแผนดนตรีตะวันตก เพื่อแสดงอำนาจและบารมีความเป็นเลิศของผู้ดีกระฎุมพีคนชั้นนำสมัยนั้น ตั้งแต่สมัย ร.4 เรือน พ.. 2400

เพลงลูกทุ่ง เพิ่งถูกเรียก พ.. 2507

เพลงลูกทุ่ง” ชื่อเรียกนี้มีขึ้นราว พ.. 2507 ก่อนหน้านั้นไม่เรียกเพลงลูกทุ่ง แต่เรียก “เพลงไทยสากล” ซึ่งรับรู้กว้างขวางว่าเป็นเพลงทันสมัยแบบฝรั่ง ใครฟังแล้วเท่

เพลงไทยสากลเป็นที่รู้กันกว้างขวางนานแล้ว ว่าเมื่อเรือน พ.. 2507 ค่อยๆ แยกเป็น 2 แขนง เรียกเพลงลูกกรุงกับเพลงลูกทุ่ง โดยมีพัฒนาการยาวนานพอสมควร ทั้งแตกต่างหลากหลายและคล้ายคลึงกัน พบรายละเอียดอยู่ที่ข้อเขียน 2 เรื่องของ “คนใน” ผู้มีส่วนสร้างสรรค์โดยตรง ได้แก่

(1.) ที่มาของเพลงลูกทุ่ง โดย มงคล อมาตยกุล ครูเพลงไทยสากล และนายวงดนตรีลูกทุ่งสมัยแรกเริ่ม และ (2.) ข้อคิดเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง โดย ประกอบ ไชยพิพัฒน์ ผู้จัดรายการโทรทัศน์คนแรกใช้ชื่อเพลงลูกทุ่งเมื่อปลายปี 2507 [พิมพ์รวมในหนังสือ เพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เผยแพร่ พ.. 2534 หน้า 50-55]

เพลงลูกทุ่งมีกำเนิดและพัฒนาการจากเพลงไทยสากล ด้วยเครื่องดนตรีสากล (ของฝรั่ง) ร่วมกันกับเพลงลูกกรุง ดังนั้นเพลงลูกทุ่งกับเพลงลูกกรุงจึงมีความเป็นมาร่วมกัน จนหาความแตกต่างไม่พบ หรือเกือบไม่มี

กำเนิดและพัฒนาการนี้มีขึ้นโดยสามัญชนในเมือง แล้วกระจายสู่ชนบทด้วยการสื่อสารคมนาคมแผนใหม่ ในขณะเดียวกันก็ดูดกลืนรูปแบบร้องรำทำเพลงของชาวบ้านในชนบทมาไว้เป็นของตน เพราะตลาดมีผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยเป็นคนในเมืองและในชนบท

เพลงลูกทุ่งไม่มาจากเพลงไทยเดิม

เพลงลูกทุ่ง เป็นสินค้าชนิดหนึ่งประเภทเพลงไทยสากลในกระแสป๊อปที่ผลิตในเมือง โดยมีตลาดอยู่ในเมืองและชนบท มีลักษณะสำคัญ เช่น

(1.) มีกำเนิดในเมือง (2.) ผลิตโดยสามัญชนในเมืองตามประเพณีหลวง (3.) สื่อข่าวสารของเมืองสู่ชนบท (4.) สื่อสภาพชนบทเข้าสู่เมืองและสู่ชนบทอื่นๆ ด้วยกันเอง (5.) ผู้ผลิตเพลงลูกทุ่งในเมืองดูดกลืนการละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองตามประเพณีราษฎร์เป็นของตน แล้วดัดแปลงปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างสรรค์เพลงลูกทุ่งเป็นสินค้าต่อไป

โดยทั่วไปเชื่ออย่างง่ายๆ กว้างๆ ว่าเพลงลูกทุ่งมีกำเนิดจากเพลงไทยเดิม หรือเพลงพื้นบ้านพื้นเมือง (ใครไม่เชื่อตามนี้จะถูกตำหนิติเตียนรุนแรงถึงขั้นด่าทอจากแฟนพันธุ์แท้คอเพลงลูกทุ่ง) เหตุที่เชื่ออย่างนั้นมีเหตุจากผู้ผลิตเพลงลูกทุ่งซึ่งเป็นสามัญชนในเมือง ต่างดูดกลืนซึมซับรับการละเล่นพื้นบ้านพื้นเมืองตามประเพณีราษฎร์เป็นของตน เพื่อดัดแปลงปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างสรรค์เพลงลูกทุ่งเป็นสินค้าบันเทิง ผู้ศึกษาค้นคว้ากลุ่มแรกๆ เลยเหมารวมว่าเพลงลูกทุ่งมีกำเนิดจากเพลงไทยเดิมหรือเพลงพื้นบ้านพื้นเมือง

ตามหลักฐานแท้จริง กำเนิดเพลงลูกทุ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องเพลงไทยเดิม หรือเพลงพื้นบ้านพื้นเมือง แต่เพลงลูกทุ่งมีกำเนิดและพัฒนาการจากวัฒนธรรมป๊อปของฝรั่งล้วนๆ ที่เรียกเพลงไทยสากล ประเภท “เพลงชีวิต” ตั้งแต่ราว พ.. 2480 (ยังไม่แยกชื่อเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง)

เพลงลูกทุ่ง เพิ่งมี

ก่อน.. 2507 คนทั้งประเทศฟังเพลงประเภทเดียวเรียกเพลงไทยสากล และจากนักร้องกลุ่มเดียวกันเรียกนักร้องเพลงไทยสากล (ยังไม่แยกเป็นเพลงลูกกรุง กับ เพลงลูกทุ่ง)

เพลงไทยสากล ต่อมาถูกจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เพลงผู้ดี กับ เพลงตลาด โดยเพลงผู้ดีได้รับยกย่องจากคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจหนุนหลังทางการตลาด ขณะเดียวกันก็เหยียดว่าเพลงตลาดต่ำช้า

ครูมงคล อมาตยกุล (นายวงดนตรีจุฬารัตน์) ผู้สร้างสรรค์โดยตรงทั้งเพลงไทยสากลจนถึงเพลงลูกทุ่ง เคยเขียนบอกเล่าไว้เมื่อ พ.. 2510 เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์” ว่า ครั้งนั้นเพิ่งมีเพลงลูกทุ่ง จะยกมาเป็นพยานดังนี้

ผมมีชีวิตอยู่ในวงการดนตรีและเพลง ในฐานะเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลงก็เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นมาก็ไม่เคยมีคำว่า ‘เพลงลูกทุ่ง’ อยู่ในสารบบเพลงเลย เพิ่งจะได้ทราบคำว่า ‘เพลงลูกทุ่ง’ เอาก็ระยะ 2-3 ปีหลังนี้เอง จัดว่าเป็นสิ่งใหม่เอี่ยมในวงการเพลงจริงๆ” [ข้อเขียนเรื่อง “ที่มาของเพลงลูกทุ่ง” ของ มงคล อมาตยกุล พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ ดาราลูกทุ่ง.. 2510 หน้า 36, 58-60 และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ เพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (ประกอบนิทรรศการและการแสดง “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.. 2534 หน้า 50-53]

ก่อนมีเพลงลูกทุ่ง บรรดาชุมชนคนรากหญ้าทั่วประเทศชอบฟังเพลงไทยสากลพรรณนาความทุกข์ยากของชีวิตชาวบ้านชาวนาชาวไร่ “บ้านนอกขอกตื้อสะดือจุ่น”

คนในชุมชนเมืองพากันเหยียดเพลงเหล่านั้นว่าเพลงตลาด ครูมงคลเขียนเล่าไว้เอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image