กรุงเทพฯ มาจากทวารวดี “ยูโทเปีย” ของชนชั้นนำ รัฐจารีต vs. รัฐชาติ

ทวารวดีเป็นต้นตอหรือรากเหง้าของชื่อ “กรุงเทพฯ” ในประเทศไทยปัจจุบัน ซึ่งมีความเป็นมาโดยสรุป ดังนี้

(1.) กรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่แรกสถาปนาในแผ่นดิน ร.1 .. 2325 มีนามเมืองเป็นทางการว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” เรียกอย่างย่อว่า “กรุงเทพ” โดยสืบเนื่องทั้งหมดจากนามเมืองทางการของกรุงศรีอยุธยา (ต่อมา แผ่นดิน ร.4 เปลี่ยนนามว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ”)

(2.) กรุงศรีอยุธยามีนามเมืองเป็นทางการว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” เรียกอย่างย่อว่า “กรุงเทพ” เพื่อแสดงตัวตนแท้จริงว่ากรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องทุกด้านจากรัฐทวารวดี

(3.) รัฐทวารวดีเริ่มเมื่อเรือน พ.. 1000 มีศูนย์กลางอยู่เมืองละโว้ (. ลพบุรี) ได้นาม “ทวารวดี” จากนามเมืองของพระกฤษณะ (อวตารของพระวิษณุหรือพระนารายณ์) ซึ่งเป็นเทวดาทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู ดังนั้นทวารวดีคือ “กรุงเทพ” เมืองของเทวดา

Advertisement

กรุงเทพฯ มาจากทวารวดี ส่วนทวารวดีมี “หลักฐานตั้งต้น” จากบันทึกจีนของพระถังซำจั๋งเมื่อ 1,400 ปีมาแล้ว จากนั้นทวารวดีเป็น “ยูโทเปีย” ของชนชั้นนำหลายชาติพันธุ์ในบ้านเมืองเก่าแก่พันกว่าปีมาแล้ว

ต่อมาอีกนานนักค้นคว้าและนักวิชาการมีนิยามและคำอธิบายต่างกันเป็น 2 ชุด ได้แก่ ประวัติศาสตร์รัฐจารีต อยู่เมืองลพบุรี นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู และประวัติศาสตร์รัฐชาติ “เพิ่งสร้าง” อยู่เมืองนครปฐม นับถือพุทธศาสนา

พระถังซำจั๋ง เขียนบันทึกจีนบอกชื่อ “โตโลโปตี”

Advertisement

ทวารวดี มี “หลักฐานตั้งต้น” อยู่ในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง แต่ถูกนักค้นคว้านักวิชาการปัจจุบันไม่รักษา “หลักฐานตั้งต้น”

(1.) พระถังซำจั๋ง ภิกษุจีน จาริกแสวงบุญจากจีนไปกลับอินเดีย ใช้ทางบกตามเส้นทางสายไหม ผ่านเอเชียกลาง ระหว่าง พ.. 1170-1188 (ราว 1,377 ปีมาแล้ว)

(2.) เขียนบันทึกเล่าการเดินทางของตน และบันทึกคำบอกเล่าของคนอื่น (ไม่ได้เห็นด้วยตนเอง) ว่ามีบ้านเมืองเรียงลำดับตามแนวราบ (เส้นรุ้ง) เดียวกัน หรือระนาบไล่เลี่ยใกล้เคียงกัน จากตะวันตกไปตะวันออก

(3.) เริ่มจากชมพูทวีป (บริเวณปัจจุบันเป็นบังกลาเทศ) ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามฝั่งทะเล, ภูเขา, หุบเขา มี(เมือง)ซิหลีซาต้าหลอ ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตอนปากอ่าว เรียก(เมือง)เกียม้อลังเกีย ถัดไปทางทิศตะวันออก เรียก(เมือง)โตโลโปตี ต่อไปทางทิศตะวันออก คือ(เมือง)อีเซี้ยน้าโป้หลอ ต่อไปทางทิศตะวันออก คือ(เมือง)ม่อโหเจนปอ ซึ่งจีนเรียกหลินยี่ ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็น(เมือง)เย็นเนี้ยน่าฉือ

(4.) ชื่อบ้านนามเมืองเดียวกันมีสำเนียงต่างกัน ได้แก่ บันทึกจีนของพระถังซำจั๋งเป็นสำเนียงหนึ่ง เช่น “เกียม้อลังเกีย” แต่ในบันทึกจีนของพระอี้จิงเป็นอีกสำเนียงหนึ่งต่างออกไปว่า “หลั่งเกียฉู่”

[พระอี้จิง ภิกษุจีน ระหว่าง พ.. 1214-1238 ออกจาริกแสวงบุญจากจีนไปอินเดีย โดยผ่านทางทะเลเลียบชายฝั่งอุษาคเนย์ เขียนบันทึกจีนเล่าการเดินทางบอกชื่อบ้านเมือง (ตามแนวระนาบเดียวกับพระถังซำจั๋ง) จากชมพูทวีป (อินเดีย) ไปทางทิศตะวันออก มี(เมือง)ชิดหลีต๋าหลอ ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็น(เมือง)หลั่งเกียฉู่ ต่อไปทางทิศตะวันออกคือ (เมือง)ตุยโหโปตี้—-]

 

พระถังซำจั๋งเดินทางจากจีนสู่อินเดีย มือขวาถือแส้ มือซ้ายถือม้วนคัมภีร์ เป้ที่อยู่ข้างหลังเป็นที่เก็บสัมภาระและหนังสือ ส่วนที่แขวนอยู่บนเป้คือตะเกียงส่องทาง [ภาพนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานโตเกียวในญี่ปุ่น จากหนังสือ ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง แปลเป็นภาษาไทย โดย ซิว ซูหลุน สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2547]

โตโลโปตี” คือ “ทวารวดี”

ซามูเอล บีล นักค้นคว้าชาวอังกฤษ อ่านและศึกษาบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง แล้วเสนอว่าชื่อ “โตโลโปตี” ตรงกับ “ทวารวดี” พร้อมกันนั้นได้แปลบันทึกพระถังซำจั๋งทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษแล้วระบุตำแหน่งชื่ออื่นๆ ไว้ด้วย แล้วพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก ค.. 1884 (ตรงกับ แผ่นดิน ร.5 .. 2427)

บ้านเมืองชื่อต่างๆ ที่พระถังซำจั๋งเขียนบอกเป็นภาษาจีน หลังจากนั้น ซามูเอล บีล ศึกษาแล้วระบุชื่อตามสำเนียงจีนพร้อมถ่ายแปลงเป็นชื่อบาลีสันสกฤต โดยทำเชิงอรรถระบุที่ตั้งตามแนวสันนิษฐานระนาบเดียวกัน แต่ยังไม่ถือเป็นยุติ

บันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง จากภาษาจีนถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย ซามูเอล บีล

(ถ่ายแบบจากหนังสือ BUDDHIST RECORDS OF THE WESTERN WORLD โดย Samual Beal, First Published 1884 Reprinted in India 1995.)

เมืองในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง

ชื่อในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋งที่ยังไม่พบข้อมูลเพียงพอซึ่งต้องหาเพิ่มเติมมี 2 แห่ง ได้แก่ เกียม้อลังเกีย, โตโลโปตี

นอกนั้นพบว่าตรงกับเมืองโบราณบนภาคพื้นทวีป ซึ่งมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระนาบไล่เลี่ยใกล้เคียงกัน ดังนี้ (1.) ซิหลีซาตาหลอ คือ เมืองศรีเกษตร อยู่ในพม่า (2.) เกียม้อลังเกีย-(?) (3.) โตโลโปตี ตรงกับเมืองทวารวดี-(?) (4.) อี้ซางนาปู้หลอ ตรงกับเมืองอิศานปุระ อยู่ในกัมพูชา (5.) โมโหเชนโป ตรงกับเมืองมหาจามปา อยู่ในเวียดนาม

เกียม้อลังเกีย, โตโลโปตี คืออะไร? อยู่ที่ไหน?

เกียม้อลังเกีย” คืออะไรและตรงกับชื่ออะไร? ยังหาไม่พบ แต่พบหลักฐานว่าอยู่ในไทยบริเวณเมืองโบราณนครปฐม ส่วน “โตโลโปตี” ตรงกับ “ทวารวดี” อยู่ในไทยบริเวณเมืองโบราณลพบุรี โดยชื่อทั้งสองพบตำแหน่งที่ตั้งมีทิศทางอยู่ในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋งและบันทึกจีนของพระอี้จิง ซึ่งถูกตรวจสอบทางวิชาการโดยอดีตนักปราชญ์ทางโบราณคดีคนสำคัญของกรมศิลปากร คือ นายมานิต วัลลิโภดม (ถึงแก่กรรม) [โดยมีข้อมูลจากบทความเรื่อง “ทวารวดีอยู่ที่ไหน ของ มานิต วัลลิโภดม พิมพ์ครั้งแรกใน แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี (ปอบ.) ของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักนายกรัฐมนตรี (ปีที่ 6 เล่มที่ 1) มกราคม 2515 และพิมพ์ซ้ำในนิตยสารศิลปากร ฉบับกรกฎาคม 2515 ต่อมาพิมพ์ซ้ำอีกในศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2530]

เกียม้อลังเกีย” อยู่เมืองนครปฐม “เกียม้อลังเกีย” เป็นชื่อพบในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง ซึ่งตรงกับ “ลังเกียฉู่” เป็นชื่อพบในบันทึกจีนของพระอี้จิง ดังนี้เท่ากับ “เกียม้อลังเกีย” กับ “ลังเกียฉู่” เป็นชื่อสถานที่เดียวกัน ส่วน “ลังเกียฉู่” ออกได้อีกสำเนียงหนึ่งว่า “เล่งเกียฉู่” หรือ “หลั่งยะสิว” ทั้งหมดเป็นชื่อของสถานที่เดียวกัน ปัจจุบันคือเมืองนครปฐม อยู่ลุ่มน้ำท่าจีน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งและความหมายของชื่อ

(1.) ตำแหน่งที่ตั้ง “เกียม้อลังเกีย” ในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋งระบุตำแหน่งว่าอยู่ถัดจาก “ซิหลีซาตาหลอ” ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ตอนปากอ่าว) “ซิหลีซาตาหลอ” คือเมืองศรีเกษตรในพม่า เมื่อทำระยะถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จะตรงกับเมืองนครปฐม บริเวณลุ่มน้ำท่าจีน อยู่ใกล้อ่าวไทย (สมัยนั้น) ซึ่งครั้งนั้นเป็นเมืองสำคัญมากและขนาดใหญ่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ เพราะด้านยาวมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 กิโลเมตร

[ซามูเอล บีล สันนิษฐานว่า “เกียม้อลังเกีย” คือ “กามลังกา” อยู่เมืองหงสาวดีในพม่า เพราะเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องรามายณะ (รามเกียรติ์) แต่ “เกียม้อลังเกีย” ไม่ได้กลายจาก “กามลังกา” ดังนั้น “เกียม้อลังเกีย” จึงไม่อยู่หงสาวดี ต่อมานักค้นคว้าบางคนบอกว่า “กามลังกา” หรือ “หลั่งยะสิว” คือ “ลังกาสุกะ” เรื่องนี้มีหลักฐานเป็นรายละเอียดมากว่าไม่ใช่อย่างนั้นซึ่ง ศรีศักร วัลลิโภดม บอกไว้นานแล้วพร้อมหลักฐานวิชาการแข็งแรงว่า “รัฐปัตานีคือลังกาสุกะ ไม่ใช่หลั่งยะสิว” อยู่ในหนังสือ รัฐปัตานี ใน “ศรีวิชัย” (สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ) สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2547 หน้า 150-159]

(2.) ความหมายของชื่อ “ลังเกียฉู่” หรือ “เล่งเกียฉู่” (อีกสำเนียงของ “เกียม้อลังเกีย” หรือ “หลั่งยะสิว”) ผู้รู้ภาษาจีน แปลว่า หลักแหล่งของลูกหลานมังกร (น่าจะเป็นชื่อตามภาษาปากนักเดินทางจากจีน ซึ่งไม่ใช่ชื่อทางการ) หมายถึงชุมชนชาวจีนบริเวณแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสมัยนั้นน่าจะมีบ้านเรือนอยู่ตั้งแต่ปากน้ำ (ปัจจุบันเรียกบ้านท่าจีน ท่าฉลอม อ. เมือง. สมุทรสาคร) ขึ้นไปตามลำน้ำถึงเมืองโบราณนครปฐม (. เมือง. นครชัยศรี จ. นครปฐม)

ปัจจุบันชาวจีนท่าฉลอมบริเวณปากน้ำท่าจีน (. สมุทรสาคร) ยังมีความทรงจำเกี่ยวกับชื่อ “เล่งเกียฉู่” ว่าหมายถึงหมู่บ้านมังกรน้อย [อยู่ในหนังสือ สาครบุรีจากวิถีชาวบ้าน ของ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ดร. นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ : บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2561 หน้า 141-142]

โตโลโปตี” อยู่เมืองลพบุรี “โตโลโปตี” ตรงกับชื่อ “ทวารวดี” อยู่เมืองลพบุรี บริเวณลุ่มน้ำลพบุรีบางขามป่าสัก ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

(1.) ตำแหน่งที่ตั้ง “โตโลโปตี” ในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋งระบุตำแหน่ง 2 ทิศทาง ดังนี้

[หนึ่ง] อยู่ถัดจาก “เกียม้อลังเกีย” ไปทางทิศตะวันออก หมายถึง “โตโลโปตี” หรือ “ทวารวดี” อยู่ต่อจาก (ลุ่มน้ำท่าจีนซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ตั้งเมืองนครปฐมไปทางทิศตะวันออก

[สอง] ทิศตะวันออกของ “โตโลโปตี” ถัดไปเป็นดินแดน “อีเซี้ยนาโป้หลอ” คืออิศานปุระในกัมพูชา ซึ่งเท่ากับ “โตโลโปตี” คือ “ทวารวดี” อยู่ทางทิศตะวันตกของอิศานปุระ

หลักฐานตั้งต้น 2 ทิศทางในบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง เมื่อตรวจสอบแล้วจะตรงกับตำแหน่งปัจจุบันของเมืองลพบุรี (. เมือง. ลพบุรี) แต่สมัยโบราณเมืองนี้ชื่อ “ละโว้” มีเครือข่ายกว้างขวางถึงเมืองศรีเทพ (. เพชรบูรณ์), เมืองเสมา (. นครราชสีมา) และบ้านเมืองลุ่มน้ำมูล, เมืองดงละคร (. นครนายก) กับเมืองศรีมโหสถ (. ปราจีนบุรี) และบ้านเมืองลุ่มน้ำบางปะกง ฯลฯ

(2.) ความหมายของชื่อ “โตโลโปตี” ตรงกับ “ทวารวดี” แปลว่าเมืองมีประตู หมายถึงมีเส้นทางคมนาคมการค้าคับคั่ง ซึ่งในคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูระบุว่าทวารวดีเป็นเมืองของพระกฤษณะ (อวตารของพระวิษณุ) ไวษณพนิกาย

ทวารวดี “ยูโทเปีย” ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ทวารวดีเป็น “ยูโทเปีย” หมายถึงเมืองในอุดมคติของชนชั้นนำในบ้านเมืองภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์เมื่อเริ่มรับศาสนาจากอินเดียทั้งพราหมณ์ฮินดู และพุทธ ราว 1,500 ปีมาแล้ว หรือหลัง พ.. 1000

[“ยูโทเปีย” ทับศัพท์จาก Utopia หมายถึงเมืองในอุดมคติ หรือ “นคราธิษฐาน” (เลียนศัพท์ “บุคลาธิษฐาน”)]

ดังนั้นชนชั้นนำส่วนมากในภาคพื้นทวีปสมัยนั้นต่างอธิฐานขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ทั้งผีพราหมณ์พุทธ) บันดาลบ้านเมืองของตนมีความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งมั่นคงดุจเมืองทวารวดีของพระกฤษณะ โดยมีพิธีขนานนามบ้านเมืองของตนชื่อทวารวดี หรือมิฉะนั้นก็อธิษฐานขอ “บ้านเมืองดี” ดั่งเมืองทวารวดี จึงพบจารึกระบุนามทวารวดีในเมืองต่างๆ ทั้งในไทยและกัมพูชา โดยเมืองเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องชื่อเมืองทวารวดี จึงไม่ใช่เมืองทวารวดี เช่น

จารึกวัดพระงาม (. นครปฐม), จารึกวัดจันทึก (. นครราชสีมา), จารึกในกัมพูชาอย่างน้อย 2 หลัก เป็นต้น และรวมถึงนามสัญลักษณ์ในตำนาน เช่น “เมืองร้อยเอ็ดประตู” ต้องการสื่อว่าเมืองมีประตู (จำนวนมาก) เหมือนเมืองทวารวดี เป็นต้น

ด้วยเหตุที่ทวารวดีเป็น “ยูโทเปีย” ส่งผลให้มีนิยามและคำอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของทวารวดีโดยนักค้นคว้าและนักวิชาการมีต่างกันเป็น 2 ชุด คือ ประวัติศาสตร์รัฐจารีต และประวัติศาสตร์รัฐชาติ

1. ทวารวดีในประวัติศาสตร์รัฐจารีต

ประวัติศาสตร์รัฐจารีตตั้งแต่เรือน พ.. 1000 ทวารวดีอยู่เมืองลพบุรี ลุ่มน้ำลพบุรีบางขามป่าสัก ทางฟากตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่รับรู้ตั้งแต่แรกในหมู่นักปราชญ์นักค้นคว้าชาวฝรั่งเศส ดังนี้

ทวารวดีตั้งอยู่เมืองลพบุรี” เป็นความเห็นของพันตรี ลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (นักค้นคว้าชาวฝรั่งเศส) เมื่อ พ.. 2452 (ปลายแผ่นดิน ร.5) อ้างไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์เอเซียอาคเนย์ถึง พ.. 2000 ของ ศาสตราจารย์ ม.. สุภัทรดิศ ดิศกุล (สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พิมพ์เมื่อ พ.. 2325 หน้า 21)

ทวารวดีมีเมืองลพบุรีเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมอญ….” เป็นข้อเสนอของ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส) เมื่อ พ.. 2468 (อยู่ในแผ่นดิน ร.6) อ้างไว้ในหนังสือทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี ของ รศ. ดร. ผาสุข อินทราวุธ (ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.. 2542 หน้า 4)

ทวาราวดีตามหลักฐานตั้งต้นจากบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง เมื่อสอบสวนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจึงพบเรื่องราวอีกมาก แต่สรุปย่อได้บางเรื่อง เช่น (1.) ตัวตนมีจริงเมื่อเรือน พ.. 1100 (2.) ชื่อเมืองของพระกฤษณะตามคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู (3.) นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู เป็นศาสนาหลักของชนชั้นนำ ส่วนประชาชนทั่วไปนับถือศาสนาผีพราหมณ์พุทธ ฯลฯ

2. ทวารวดี ในประวัติศาสตร์รัฐชาติ

ประวัติศาสตร์รัฐชาติ “เพิ่งสร้าง” เมื่อเรือน พ.. 2400 กำหนดให้ทวารวดีอยู่เมืองนครปฐม ลุ่มน้ำท่าจีนแม่กลอง ฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา

รัฐชาติแรกเริ่มเป็นที่รู้ในยุโรปมากกว่า 200 ปีมาแล้ว (ตรงกับไทยสมัยรัตนโกสินทร์) จากนั้นแพร่หลายถึงไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแนวคิดรัฐชาติหล่อหลอมอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำสยาม ซึ่งพบร่องรอย เช่น (1.) เจดีย์แห่งแรกในสยามพบที่เมืองนครปฐม โดยเจ้าฟ้ามงกุฏขณะทรงผนวชในแผ่นดิน ร.3 (2.) ประวัติศาสตร์ย่อของสยาม โดย ร.4 พระราชทานแก่เซอร์จอห์น เบาว์ริง (พิมพ์อยู่ในหนังสือ The Kingdom and People of Siam ของ Sir John Bowring )ฯลฯ

[นอกจากนั้นยังอาจเกี่ยวข้องอุดมการณ์ชาตินิยมไทย ควรอ่านข้อขียนเรื่อง “ทวารวดีในประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย” ของ ชาตรี ประกิตนนทการ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2565 หน้า 33]

เมืองโบราณนครปฐม “ราชธานีของทวารวดี” ห้องแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ (ภาพเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562)

เมืองนครปฐมเป็นราชธานีของทวารวดี” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนิพนธ์ไว้ครั้งแรก พ.. 2469 (อยู่ในแผ่นดิน ร.7) ทรงบอกเหตุผลแล้วแสดงหลักฐานว่าเนื่องด้วยพระพุทธศาสนามาประดิษฐานแห่งแรกในสยามประเทศที่เมืองนครปฐม โดยพระเจ้าอโศกให้พระสงฆ์ 2 รูป คือ พระโสณะกับพระอุตระ มาเผยแผ่ที่สุวรรณภูมิซึ่งอยู่นครปฐม (จากหนังสือ ตำนานพระพุทธเจดีย์ ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2469) ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานที่ว่าทวารวดีเป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะ (อวตารพระวิษณุ) ตามคัมภีร์พราหมณ์ และเป็นเมืองนับถือพราหมณ์ฮินดู เป็นศาสนาหลัก

ทวารวดีมีราชธานีอยู่เมืองนครปฐม” หรือ “เมืองนครปฐมเป็นราชธานีของทวารวดี” ข้อความเหล่านี้เป็นสิ่ง “เพิ่งสร้าง” เมื่อหลัง พ.. 2400 ตามแนวคิดรัฐชาติจากยุโรปที่ชนชั้นนำสยามเพิ่งรับเข้ามา โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งของทวารวดีอยู่เมืองนครปฐมเป็นข้อมูล “เพิ่งสร้าง” ที่ต่างจากบันทึกจีนของพระถังซำจั๋ง ดังนี้

ทวารวดีในบันทึกจีนพระถังซำจั๋งบอกโดยสรุปว่าถัดจากเมืองศรีเกษตรในพม่าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึง “เกียม้อลังเกีย” ถัดจาก “เกียม้อลังเกีย” ไปทางทิศตะวันออกถึง “โตโลโปตี” (คือทวารวดี) ถัดจากทวารวดีไปทางทิศตะวันออกถึงอิศานปุระในกัมพูชา

แต่ข้อมูล “เพิ่งสร้าง” ไม่มีชื่อ “เกียม้อลังเกีย” โดยไม่อธิบายว่าทำไมหายไป? แล้วหายไปไหน? ฯลฯ ได้แต่บอกกว้างๆ อย่างสรุป ดังนี้

อาณาจักรทวารวดีอยู่ทางทิศตะวันตกของอิศานปุระคือประเทศกัมพูชาปัจจุบัน และทิศตะวันออกของศรีเกษตรคือประเทศพม่า [จากหนังสือ ศิลปะในประเทศไทย ของ ศาสตราจารย์.. สุภัทรดิศ ดิศกุล (พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2506) พิมพ์ครั้งที่สิบสาม พ.. 2550 หน้า 30] และอาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่ระหว่างศรีเกษตร (ประเทศเมียนมา) และอีสานปุระ (ประเทศกัมพูชา) [จากหนังสือ พิพิธภัณฑสถานแห่งพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2464 หน้า 38]

เมื่อ “เกียม้อลังเกีย” ถูกทำให้สูญหาย จึงเป็นเหตุให้ “โตโลโปตี” หรือทวารวดี เขยิบตามต้องการไปอยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในตำแหน่งเมืองนครปฐม ลุ่มน้ำท่าจีน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image