‘ไอคอนสยาม’ กับ 3 รางวัลชนะเลิศ ความภูมิใจในเวทีโลก

นับจากเปิดให้บริการตั้งแต่วันแรก “ไอคอนสยาม” ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่จนเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก ตอกย้ำความเป็นอภิมหาโครงการและสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ของไทยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติต่างปักหมุดให้เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทาง

และเมื่อเร็วๆ นี้ ไอคอนสยาม พร้อมบรรดาผู้มีส่วนร่วมในโครงการ (The Makers, The Co-Creators, The Supporters) ยังได้สร้างบทพิสูจน์ด้วยชื่อเสียงที่ดังไกลไปทั่วโลกอีกครั้ง กับการกวาด รางวัลชนะเลิศ Global Award จากเวทีอันทรงเกียรติระดับนานาชาติถึง 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล World Retail Awards 2019 สาขา Best Store Design of the Year ในฐานะโครงการที่ได้รับการคัดเลือกว่าออกแบบดีที่สุดในโลก และอีก 2 รางวัลชนะเลิศจาก INTERNATIONAL PROPERTY AWARDS 2019 ในบทบาทของผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ดีที่สุด และ รางวัลชนะเลิศการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นระดับภูมิภาคในหมวด Shopping Center จากเวที Prix Versailles 2019

เป็นการประกาศศักยภาพของคนไทย ธงชาติไทยโบกสะบัดบนเวทีระดับโลกอย่างภาคภูมิใจอีกครั้ง

World Retail Awards 2019 สาขา Best Store Design of the Year ในฐานะโครงการที่ได้รับการคัดเลือกว่าออกแบบดีที่สุดในโลก

ทั้งนี้ ความโดดเด่นที่เป็นที่กล่าวขานกันมากที่สุดของไอคอนสยาม ก็คืองานสถาปัตยกรรมและโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยบุคคลสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นทีมนักออกแบบ ได้แก่ อัจฉริยะ โรจนะภิรมย์ ประธานกรรมการ และ วาลุกา โรจนะภิรมย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เออร์เบิ้น อาร์คิเต็คส์ จำกัด

Advertisement

อัจฉริยะอธิบายว่า เนื่องจากไอคอนสยามมีเป้าหมายมุ่งสู่โครงการที่คนทั่วโลกต้องรู้จักและคนไทยทุกคนสามารถร่วมภูมิใจได้ ในทุกมิติของการทำงานจึงมีแต่ความท้าทาย หัวใจของงานออกแบบก็คือการสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นเอกลักษณ์ สร้างการจดจำ และสร้างแลนด์มาร์กระดับชาติที่สามารถแสดงออกถึงความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทยโดยมีความเป็นสากลแฝงอยู่

อัจฉริยะ โรจนะภิรมย์ ทีมผู้ออกแบบจาก บริษัท เออร์เบิ้น อาร์คิเต็คส์ จำกัด บุคคลสำคัญผู้ร่วมสร้างสรรค์ไอคอนสยาม
วาลุกา โรจนะภิรมย์ ทีมผู้ออกแบบจาก บริษัท เออร์เบิ้น อาร์คิเต็คส์ จำกัด บุคคลสำคัญผู้ร่วมสร้างสรรค์ไอคอนสยาม

วาลุกากล่าวเสริมว่า “สิ่งที่เรานำมาสร้างเรื่องราวให้กับงานออกแบบไอคอนสยาม คือ ความผูกพันของชีวิตคนไทยที่อยู่กับสายน้ำมาตั้งแต่เกิด จึงได้มีการนำ ‘น้ำ’ มาเป็นเรื่องราวในการร้อยเรียงวัฒนธรรมไทยทั้งหมด พร้อมกับหล่อหลอมศาสตร์หลายๆ อย่างเข้าไว้ด้วยกัน ในแต่ละพื้นที่มีความเป็นเมืองแห่งแฟชั่น ความเจริญ เทรนด์ ความศิวิไลซ์ ทั้งหมดถูกร้อยเรียงด้วยเส้นสายลายไทยอันทันสมัย เชื่อมโยงความแตกต่างของพื้นที่แต่ละชั้น เช่น การนำทักษะงานช่าง 10 หมู่มาผสมผสานกับเทคโนโลยีจนเกิดเป็นความร่วมสมัย เป็นไทยรูปแบบใหม่ที่ยังคงมีรา กเหง้าของความเป็นไทยดั้งเดิมอยู่ด้วย”

และเมื่อกล่าวถึงสถาปัตยกรรมภายนอกอาคาร โครงสร้างหลักอย่าง Facade (ฟาซาด) คือองค์ประกอบสำคัญที่ไม่เพียงสร้างสุนทรียภาพทางสายตา แต่ยังสะท้อนแนวคิด อัตลักษณ์ และบุคลิกโดดเด่นเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Pleated Glass Facade ของไอคอนสยามที่ได้รับการรังสรรค์อย่างประณีตบรรจงด้วยวิทยาการล้ำสมัยจากบริษัท seele ในประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญงาน ‘ฟาซาดเชิงนวัตกรรม’ ที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการทำงานกับวัสดุกระจก โลหะ และวัสดุอื่นๆ บนโจทย์ที่ซับซ้อน

Advertisement


Andreas Geyer
และ Thomas Spitzer สองผู้บริหารแห่ง seele กล่าวว่า “ฟาซาดของไอคอนสยามสร้างขึ้นจากกระจกใสขนาดมหึมาที่สูงถึง 24 เมตร บานกระจกหลักแต่ละชิ้นสูง 16 เมตร และด้วยแรงบันดาลใจจาก ‘สไบ’ และ ‘กระทง’ โครงสร้างฟรีฟอร์มสามมิติของกระจกทั้งหมดนี้จึงอาศัยเทคนิคการติดตั้งแบบแขวนจากด้านบน ส่วนความซับซ้อนและคุณภาพวัสดุอันเป็นเลิศคือสองสิ่งที่สะท้อนถึงตัวตนของ seele ที่ยังสอดคล้องกับแนวคิดของโครงการที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาให้เป็นสถาปัตยกรรมระดับไอคอนิกของโลก”

แม้แต่โครงสร้างทางวิศวกรรม ที่นี่ก็เรียกได้ว่าเป็น ‘มิติใหม่’ ในแวดวงวิศวกรรมของเมืองไทย โดยการควบคุมและออกแบบเป็นหน้าที่ของ ดร.การุญ จันทรางศุ และ ดร.กุลสิริ จันทรางศุ แฟร์ร็องด์ แห่ง “เค.ซี.เอส.แอนด์.แอสโซซิเอทส์”

Andreas Geyer และ Thomas Spitzer สองผู้บริหารจาก seele บริษัทผู้รังสรรค์ Pleated Glass Fa?ade ของ ICONSIAM

ทั้งสองท่านอธิบายว่า ‘ICONS within ICON’ คือคำจำกัดความของโครงการ เป็นการสร้างอาคารซ้อนอาคาร เมื่อเดินเข้าไปข้างในต้องรู้สึกว่า นี่คืออาคารด้านนอก ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในเมืองๆ หนึ่ง ดังนั้น โครงสร้างของอาคารจึงต้องการช่วงเสารับน้ำหนักที่กว้างมาก มองเข้าไปแล้วต้องไม่เห็นว่ามีเสาจำนวนมาก ขณะเดียวกันอาคารก็ต้องรับน้ำหนักจำนวนมากจากโซนต่างๆ ของแต่ละชั้น ต้องทำให้โครงสร้างอาคารมีช่วงเสาที่กว้าง แต่ต้องบาง เรียว สวยงาม โดยไม่กระทบงานออกแบบส่วนอื่น นี่คือความท้าทายของงานวิศวกรรม

ในการออกแบบภูมิทัศน์ในพื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเด่นของโครงการ วรรณพร พรประภา กรรมการผู้จัดการบริษัท พี แลนด์ สเคป จำกัด และทีมงาน ให้ความเห็นว่า พื้นที่สาธารณะที่ดีต้องสร้างประโยชน์ให้แก่คนหมู่มาก โดยเฉพาะที่นี่ที่ต้องคิดเพิ่มขึ้นจากเรื่องในเชิงธุรกิจและความสวยงาม

“การออกแบบภูมิทัศน์ของพื้นที่จึงต้องพิจารณาศึกษาข้อมูลในหลายมิติ มีการออกแบบให้เอื้อกับการใช้งานหลายประเภท คำนึงถึงการเชื่อมต่อการสัญจรกับพื้นที่โดยรอบ การสร้างบรรยากาศที่รื่นรมย์ ทั้งหมดเพื่อให้ไอคอนสยามเป็น ‘ไอคอน’ แห่งหนึ่งของเมืองไทยที่ทุกคนจะได้รับความสุขและความรื่นรมย์จากพื้นที่ดังกล่าว”

วรรณพร พรประภา กรรมการผู้จัดการบริษัท พี แลนด์ สเคป จำกัด ผู้ดูแลการออกแบบภูมิทัศน์ในพื้นที่ริมน้ำของโครงการ ICONSIAM

นอกจากนี้ ที่นี่ยังได้รวบรวมผลงานมาสเตอร์พีซของศิลปินแห่งชาติและศิลปินระดับโลกกว่า 100 ท่าน อาทิ เสาแห่งมงคล 8 ต้นที่ สร้างสรรค์โดย ศ.ถาวร โกอุดมวิทย์ เพื่อนำเสนอแง่คิดเชิงจิตวิญญาณและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมอยู่ในบริบทของสังคม ด้วยการนำรูปธรรมของสิ่งธรรมชาติสองสิ่ง ‘ใบไม้’ และ ‘ทองคำ’ มาสร้างให้เกิดเป็นเรื่องราวที่ผู้คนจะตีความหมายเชิงนามธรรมขึ้นในจิตใจ

“เรากำลังนำศิลปะเข้าหาชีวิตคน เข้าใกล้ชุมชนมากขึ้น เมื่อผู้คนก้าวผ่านประตูอาคารเข้าไปจะได้พบกับแสงทองที่เรืองรองสุกสกาวเชื่อว่าศิลปะที่สรรค์สร้างขึ้นนี้จะตั้งคำถามบางอย่างในใจผู้คนได้ แต่เป็นคำถามที่ปัจเจกบุคคลจะต้องไปค้นหาคำตอบให้กับตัวเขาเอง” นี่คือทรรศนะของ ศ.ถาวร กับบทบาทของศิลปะในแง่มุมการตอบโจทย์สังคมส่วนรวม

ลักขณา นะวิโรจน์ ประธานกรรมการ โครงการสุขสยาม


สุขสยาม
คือ อีกหนึ่ง Highlight สำคัญของไอคอนสยาม โดย คุณลักขณา นะวิโรจน์ ประธานกรรมการ โครงการสุขสยาม กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองสุขสยาม คือการให้โอกาสชาวบ้าน (Local Heroes) จาก 77 จังหวัด ทั้ง 4 ภาคของประเทศ พัฒนาคนให้เกิดอาชีพ มีรายได้ ความมั่นคง สามารถสืบสานความภูมิใจของครอบครัว จากรุ่นสู่รุ่น สู่ชุมชน สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่เข้ามาเยือนเมืองสุขสยาม เป็นเวทีให้กับคนไทยที่คนทั่วโลกได้สัมผัสและหลงรักประเทศไทยอย่างไม่รู้ลืม”

ความสำเร็จของไอคอนสยามและการคว้ารางวัลชนะเลิศจาก World Retail Awards 2019 ในฐานะโครงการที่ออกแบบดีที่สุดของโลก และอีก 2 รางวัลชนะเลิศจาก INTERNATIONAL PROPERTY AWARDS 2019 ในฐานะผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ดีที่สุด รวมทั้งรางวัลชนะเลิศการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นระดับภูมิภาค ในหมวด Shopping Center จากเวที Prix Versailles 2019 นับเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยและนำพาประเทศไทยไปชนะใจคนทั้งโลกได้อย่างน่าภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่ง

 

‘ไอคอนสยาม’ ยังนับว่าสามารถขยายย่านการค้าจากย่านธุรกิจใจกลางเมือง (CBD) ให้มาเกิดที่ฝั่งธนบุรีได้เป็นผลสำเร็จ เพราะการร่วมรังสรรค์ (Co-creation) กับชุมชน และผู้ประกอบการโดยรอบ สร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Value) โดย นาวาโท ปริญญา รักวาทิน นายกสมาคมการค้าธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยา อธิบายว่า

“ที่นี่เป็นโครงการขนาดใหญ่แห่งแรกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวริมแม่น้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเมื่อไอคอนสยามเปิดให้บริการ ทำให้การวางแผนการท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยาง่ายขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวบริเวณพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเกาะรัตนโกสินทร์ได้ตลอดทั้งวัน ต่อด้วยการช้อปปิ้งช่วงเย็นถึงค่ำคืน

“ยิ่งไปกว่านั้น ที่นี่ยังร่วมกับสมาคมเพื่อหารือกับกรมเจ้าท่าในการฟื้นฟูการเดินทางทางแม่น้ำ ด้วยการสร้างสถานีเรือต้นแบบเพื่อรองรับการเดินทางที่เชื่อมโยงระหว่างเรือ รถยนต์ และระบบขนส่งทางรางหรือรถไฟฟ้า ซึ่งภายในปี 2565 จะมีโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จะมีสถานีติดกับแม่น้ำ 6 แห่งหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘รถ-ราง-เรือ’ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้

สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับการเดินทางโดยรถไฟฟ้าและรถยนต์ได้โดยไม่ติดขัด ทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างดี”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image