สุวรรณภูมิในอาเซียน : ลอยกระทงไทย จาก ลอยโคมจีน ขอขมาดินน้ำและธรรมชาติในศาสนาผี

โคมจีนลอยน้ำในเมืองจีน (ภาพจาก http://www.ys8.com/zixun/8453_all.html)

ลอยกระทงใบตอง มีครั้งแรกในไทย สมัย ร.3 พร้อมนิทานเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ความเป็นมาของลอยกระทงใบตองสืบเนื่องจากลอยโคมจีน ตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาและสมัยอยุธยา [ไม่เรียกลอยกระทง เพราะยังไม่มีกระทงใบตอง]

ขอขมาดินน้ำเป็นพิธีกรรมในศาสนาผีหลายพันปีมาแล้ว โดยใช้วัสดุลอยน้ำ ใส่เครื่องเซ่นลอยแม่น้ำลำคลอง เช่น กระบอกไผ่, กระบะทำจากหยวกกล้วย ฯลฯ

โคมจีน ต้นแบบลอยโคมสมัยอยุธยา

โคม ที่ใช้ลอยแม่น้ำลำคลองสมัยอยุธยา พบในบันทึกของชาวยุโรปว่าทําตามแบบจีนจากกระดาษสีต่างๆ หุ้มโครงไม้ไผ่ ข้างในจุดเทียนปักไว้ หรือตามประทีปแบบอื่นๆ ก็ได้

Advertisement

ลอยโคมตามประเพณีจีน มีในเทศกาลจงหยวน (ไทยเรียก สารทจีน) โดยรวมๆ แล้วน่าจะเกี่ยวข้องกับขอขมาธรรมชาติ

“จงหยวน” เป็นชื่อเทพสําคัญ 3 องค์พี่น้อง ประจําฟ้า, ดิน, น้ำ เทพจงหยวนเป็นเทพประจําเทศกาลสารทจีน มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจําเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สําคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทําพลีบูชาท่าน [มีความเป็นมาอย่างละเอียดยิ่ง อยู่ในหนังสือ เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้ โดย ถาวร สิกขโกศล สํานักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2557 หน้า 368-392

โคมจีนลอยน้ำในเมืองจีน (ภาพจาก http://www.zwbk.org/zh-tw/Lemma_ Show/1602.aspx)

ลอยกระทงมีครั้งแรก สมัย ร.3

ลอยกระทงใบตองที่ทําสืบเนื่องถึงทุกวันนี้ เริ่มมีครั้งแรกสมัย ร.3 ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แบบจากจีน แล้วสร้างคําอธิบายใหม่ให้ดูสมจริง โดยอ้างอิงย้อนยุคถึงสุโขทัย 3 เรื่อง ดังนี้

Advertisement

1. นางนพมาศ ริเริ่มประดิษฐ์กระทงทําจากใบตอง (กล้วย) ก่อนหน้านั้นไม่มี

2. พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงลอยกระทงครั้งแรก ก่อนหน้านั้นไม่มี

3. ลอยกระทง เนื่องในศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยัง นัมมทานที

หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีไม่สนับสนุนคําอธิบายทั้ง 3 เรื่องนั้น [รายละเอียดมีในหนังสือ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทง สมัยสุโขทัย สํานักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2545] จะสรุปมาดังนี้

1.นางนพมาศเป็นหนังสือมีนิยายแต่งใหม่สมัย ร.3 เป็นคู่มือลูกสาวผู้ดีที่ถวายตัวเข้ารับราชการในวัง เป็นสนมนางบําเรอ

2.ลอยกระทง สมัยกรุงเทพฯ สืบจากลอยโคมในน้ำไหล สมัยอยุธยา ซึ่งมีพัฒนาการจากพิธีกรรมขอขมาน้ำและดิน ยุคดึกดําบรรพ์

3.ลอยกระทง มีรากเหง้าเนื่องในศาสนาผี ไม่พุทธ แต่สมัยหลังโยงให้เกี่ยวกับพุทธ


 

สมุดไทยดําเรื่องนางนพมาศ ซึ่งกรมพระสมมตอมรพันธุ์ รับสั่งว่าเป็นลายพระหัตถ์ ร.3 (เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ

“หนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์”

(สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ จาก Cinnamon Hall ที่ Penang เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2479 ถึงพระยาอนุมานราชธน ในหนังสือ ให้พระยาอนุมาน : มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิมพ์ เมื่อ 14 ธันวาคม 2521 หน้า 56)


 ลอยโคมดอกบัวในจีน (ลายเส้นจากหนังสือเทศกาลจีนฯ ของ ถาวร สิกขโกศล หน้า 383)
ลอยเครื่องเซ่นผีใส่ภาชนะทำจากใบตอง ภาพสลักบนผนังระเบียงนอกสุดของปราสาทบายน ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ลายเส้นคัดลอก โดย ธัชชัย ยอดพิชัย ศิลปวัฒนะธรรม)

กระทงใบตองเก่าสุดในกัมพูชา

ภาชนะใส่เครื่องเซ่นผีของราชสํานักกัมพูชา พัฒนาเป็นกระทงใบตอง ราว พ.ศ. 1750 จากเดิมใช้กาบกล้วยและวัสดุลอยน้ำอื่นๆ

กระทงใบตอง มีในภาพสลักบนระเบียงปราสาทบายน (นครธม) แบ่งภาพสลักเป็น 2 ส่วนบนพื้นที่เดียวกัน คือ ส่วนบนกับส่วนล่าง

ส่วนบน สลักเป็นรูปพระราชากับเจ้านาย อยู่บนเรือลอยน้ำ มีฝูงปลาและไม้น้ำ

ส่วนล่าง สลักเป็นรูปสตรีคล้ายนางสนมกําานัล 6 คน นั่งคุกเข่าราบกับพื้น บ้างพนมมือ บ้างประคองกระทง บ้างยกกระทงใบตองขึ้นจบหน้าผาก กระทงจีบเหมือนที่เรียกกันว่าบายสีปากชาม

เอกสารเก่าของกัมพูชาสมัยหลังๆ เรียกพิธีเดือน 12 ว่าลอยประทีป และไหว้พระแข (แข แปลว่า พระจันทร์)

ลอยเครื่องเซ่นผีใส่ภาชนะทำจากใบตอง ภาพสลักบนผนังระเบียงนอกสุดของปราสาทบายน ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ลายเส้นคัดลอก โดย ธัชชัย ยอดพิชัย ศิลปวัฒนะธรรม)


สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย ไม่ขุดไว้ลอยกระทง

ฝูงนางนพมาศลอยกระทงลงในตระพัง (สระน้ำ) และเผาเทียน เล่นไฟ ประเพณีประดิษฐ์ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากรเริ่มจัดครั้งแรกราว พ.ศ. 2520

สุโขทัย เมืองแล้งน้ำ ตั้งบนที่ดอนเชิงเขา จึงต้องขุดตระพังเก็บน้ำ

ตระพังในเมืองเก่าสุโขทัย เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจําวัดกับวัง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในชีวิตประจําวัน ไม่ได้ขุดไว้ลอยกระทง หรือเผาเทียนเล่นไฟ

แท้จริงแล้ว ลอยกระทงเป็นประเพณีของคนในชุมชนบริเวณที่ราบลุ่ม มีน้ำไหล เช่น กรุงศรีอยุธยา


ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ไม่ใช่วงศ์สุโขทัย

แต่เป็นเชื้อวงศ์สุพรรณภูมิ

โดย พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร

[จากหนังสือ สุโขทัยเมืองพระร่วง กรมศิลปากร พ.ศ.2562]

“ศรีจุฬาลักษณ์” มีพระนามตามจารึกว่า “สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมเหสี” [ศิลาจารึกหลักที่ 93 จารึกวัดอโสการาม]

พระนางเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาไสลือไท พระนางเป็นสตรีไทยพระองค์แรกที่ได้รับการเรียกว่าพระมเหสี

หลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 93 วัดอโสการาม และหลักที่ 286 จารึกวัดบูรพาราม กล่าวว่า พระมหาเทพีศรีจุฬาลักษณ์ คือผู้ที่สร้างวัดบูรพารามขึ้นที่เมืองสุโขทัย และยังได้สร้างพระพุทธรูปถวายไว้กับวัดบูรพารามด้วย โดยที่ฐานพระพุทธรูปองค์หนึ่งจารึกตัวอักษรไว้ด้วยว่า เป็นพระพุทธรูปที่ “เจ้าแม่” ให้สร้างถวายไว้กับวัดแห่งนี้

พระพุทธรูปที่เจ้าแม่ (พระมหาเทพี) ศรีจุฬาลักษณ์สร้างถวายนั้น มีรูปแบบเป็นศิลปะอู่ทองรุ่นหลัง (ประมาณ พ.ศ.1950) อันเป็นลักษณะศิลปะท้องถิ่นของภาคกลาง (สุพรรณภูมิ) ในขณะนั้น ดังนั้นเจ้าแม่ศรีจุฬาลักษณ์ อัครราชมเหสีแห่งเมืองสโขทัยผู้นี้ จึงต้องเป็นคนในท้องถิ่นภาคกลางเช่นเมืองสุพรรณภูมิอย่างแน่นอน

ประกอบกับหลัฐานในสมัยหลังต่อมาที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับอื่นๆ อีก 2-3 ฉบับ เล่าเรื่องตรงกันว่า พระขนิษฐาองค์หนึ่งของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา พระนามสมเด็จพระเพทราชแห่งบ้านพลูหลวงเมืองสุพรรณภูมินั้น มีตำแหน่งนามว่าท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นพระสนมเอกองค์หนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่แล้วด้วย

ดังนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ผู้เป็นพระขนิษฐาจึงต้องเป็นชาวบ้านพลูหลวงแห่งเมืองสุพรรณภูมิอย่างแน่นอน

และขอกล่าวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่าการที่ตำแหน่งนามพระสนมเอกท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นที่เข้าใจ และรับรู้กันอย่างผิดๆ ในทางประวัติศาสตร์ไทยมาเป็นเวลานานว่า เป็นตำแหน่งของสตรีที่มาจากเมืองเหนือ หรือเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัยนั้น มีที่มาจากหนังสือเรื่อง นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

หนังสือเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าบรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงวินิจฉัยไว้ในคำนำของการพิมพ์ครั้งแรก (พ.ศ.2457) ไว้ว่า เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เป็นหนังสือที่ไม่ได้รับการเชื่อถือในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และได้รับการวิจารณ์จากผู้รู้ของไทยมาตั้งแต่ต้นว่าเป็นเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้

ในที่นี้ขอวิจารณ์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ว่าแม้แต่ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งและรูปลักษณ์ของตัวเมืองสุโขทัยว่าเป็นอย่างไร ผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้ก็ไม่เคยรู้เคยเห็นแม้แต่น้อย จึงนับว่าเป็นเรื่องเหลวไหลอย่างยิ่ง หากจะนับหนังสือเรื่องนี้เข้าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สุโขทัยกับเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมใด

จากหลักฐานที่กล่าวข้างต้นประกอบกัน สามารถวิเคราะห์ได้ว่าชื่อตำแหน่ง “ศรีจุฬาลักษณ์” ซึ่งปรากฏครั้งแรกนั้น เป็นชื่อตำแหน่งพระมเหสีแห่งราชสำนักสุโขทัย และตกทอดต่อมาใช้อยู่ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยากับตำแหน่งพระสนมเอกอีกยาวนาน โดยที่ชื่อตำแหน่งนี้ยังคงใช้อยู่กับสตรีจากเมืองสุพรรณภูมิอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ศักดิ์ของชื่อตำแหน่งนี้เท่านั้นที่เปลี่ยนไป


หนังสือนางนพมาศ ไม่มีเห่เรือ

วรรณกรรมสำคัญเรื่องนางนพมาศแต่งสมัย ร.3 พรรณนายืดยาวการเสด็จทาง ชลมารค มีร้องเล่นสักวา และราษฎรเล่นเพลงเรือ แต่ไม่มีกล่าวถึงเห่เรือ

นิราศเดือน ของหมื่นพรหมสมพัตสร (เสมียนมี) กวีสมัย ร.3 พรรณนาประเพณี 12 เดือน โดยไม่มีพาดพิงถึงเห่เรือ

เจ้าฟ้ากุ้ง ไม่มีเห่เรือ

ไม่มีเห่เรือในประเพณี12 เดือน ที่พรรณนาแม่น้ำลำคลองและประเพณีลอยโคม เดือน 12 ในพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

กาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) แต่งโดยอาศัยฉันทลักษณ์กาพย์ กลอนเห่กล่อมที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดยไม่ประสงค์ใช้เห่เรือ และไม่พบหลักฐานว่าเคยใช้เห่เรือจริงๆ ขณะฝีพายร่วมพายเรือพระที่นั่งในแม่น้ำเมื่อเสด็จทางชลมารคไปที่ต่างๆ

เห่เรือ และ เรือพระราชพิธี มาจากไหน?

เห่เรือ ขณะขบนนเคลื่อนที่ เริ่มมีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราวแผ่นดิน ร.4 เรือพระราชพิธี มีกำเนิด และความเป็นมาหลายพันปีมาแล้ว จากเรือศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมทางศาสนาผี ของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ เรือศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่เรือรบ [สั่งซื้อที่ https://www.facebook.com/ituibooks/ โทร. 08 8919 4516]

เห่เรือ เป็นประเพณีเพิ่งสร้างใหม่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราวแผ่นดิน ร.4 ถึง ร.5

สมัยโบราณ ทั้งราชสำานักและราษฎรน่าจะมีเห่เรือขอขมาแม่พระคงคาให้น้ำลดลง

ตามความเชื่อในศาสนาผี เพื่อชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวในนาที่สุกเต็มรวง

แต่ราชสำนักสมัยโบราณไม่มีเห่เรือขณะขบวนเรือเคลื่อนที่ ในการเสด็จพยุห ยาตราทางชลมารค ซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินประทับบนเรือพระที่นั่ง

ส่วนกาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) ไม่พบหลักฐานว่าเคยใช้เห่เรือในสมัยอยุธยา (เหมือนที่มีสมัยปัจจุบัน)

เรือพระราชพิธี มีกำเนิดและความเป็นมาหลายพันปีมาแล้ว จากเรือศักดิ์สิทธิ์ใน พิธีกรรมทางศาสนาผีของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์

หลังรับวัฒนธรรมอินเดีย จึงปรับเรือศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผีเข้ากับความเชื่อที่รับมาใหม่ทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ โดยทำหัวเรือเหมือนรูปสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นพาหนะของเทพเจ้า

เรือรูปสัตว์ไม่ใช่เรือรบ และไม่ได้ดัดแปลงจากเรือรบ จึงไม่เคยใช้ออกรบทัพจับศึกในสงคราม (ตามคำอธิบายของทางการ)

เห่เรือทั่วไปไม่มี

ราษฎรสมัยโบราณมีเล่นเรือร้องเพลงเรือ แล้วโห่ร้องลั่นท้องน้ำ แต่ “โห่ร้อง” ไม่ใช่ “เห่เรือ”

ราชสำนักสมัยอยุธยาตอนต้น หรือก่อนสมัยอยุธยา ระบุตรงๆ ในกฎมณเฑียรบาล ว่ามีพระราชพิธีแข่งเรือ ซึ่งเป็นพิธีกรรมขอให้น้ำลด แต่ไม่บอกว่ามีเห่เรือ

คำให้การขุนหลวงหาวัด (เอกสารของหอหลวง) พรรณนากระบวนเรือพยุหยาตรา ทางชลมารคของราชสำนักอยุธยา แต่ไม่มีพาดพิงถึงเห่เรือ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image