คนไทยไม่ทิ้งกัน พลิกวิกฤตเป็นโอกาส และ 10 สุขบัญญัติ ฝ่าวิกฤต ‘โควิด-19’

ชั่วระยะเวลาร่วม 2 เดือน การระบาดของไวรัสโคโรนาที่มีต้นทางที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของจีนแพร่กระจายไปทั่วโลก นั่นเพราะการเดินทางติดต่อของผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพาหะโดยไม่รู้ตัวนำเชื้อไวรัสจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง และทวีคูณผู้ติดเชื้อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงตราบที่ยังมีผู้ที่ละเลย “การรักษาระยะห่างทางสังคม” หรือโซเชียล ดิสแทนซิ่ง

เป็นที่วิตกกันไปทั่วกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว รายงาน ณ วันที่ 4 เมษายน 2563 มีจำนวนสะสมของ

ผู้ป่วยทั่วโลกมากกว่า 1,130,000 ราย เสียชีวิตมากกว่า 61,144 ราย เฉพาะประเทศอิตาลีมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 แสนราย

สำหรับในประเทศไทยนั้น เส้นกราฟยังคงไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ โดยยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อจนถึงวันที่ 6 เมษายน 2563 มี 2,220 ราย เสียชีวิตแล้ว 26 ราย

Advertisement

เหตุนี้ภาครัฐจึงออกมาตรการเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ให้ได้ และทวีความเข้มข้นมากขึ้น ไม่เพียงแค่การขอความร่วมมือให้ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” รณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม รวมไปถึงสนับสนุนการทำงานที่บ้าน (Work from home) ยังออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ลดการเดินทาง ปิดสถานบันเทิง โรงมหรสพ สถานที่ชุมนุมชน ฯลฯ

ล่าสุด ประกาศเคอร์ฟิว ห้ามออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อหักเส้นกราฟผู้ติดเชื้อให้โค้งลงให้ได้

Advertisement

โควิด-19 เงาร่าง ‘โรคห่า’ ในประวัติศาสตร์กรุงศรี

น่าสนใจว่าจุดตั้งต้นของการแพร่กระจายไวรัสโคโรนาเริ่มต้นขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ถ้าย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ที่มีการกล่าวถึงการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก เชื่อกันว่าเริ่มจากมณฑลนี้เช่นกัน เมื่อราว พ.ศ.1893 ช่วงคาบเกี่ยวก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาว่า “Black Death” หรือกาฬโรค

ประมาณการณ์กันว่าตัวเลขของผู้เสียชีวิตในครั้งนั้นอยู่ที่หลักล้านราย

ใน www.silpa-mag.com สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายถึงประเด็นนี้ว่า “…มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ว่าเกิดกาฬโรคระบาดในจีนเมื่อ พ.ศ.1876 จากนั้นก็แพร่เข้าสู่แถบอุษาคเนย์ โดยมีตัวแพร่เชื้อคือหมัดหนูที่เกาะติดตัวหนูใต้ท้องสำเภา ท่าเรือที่มีเรือซึ่งมีหนูใต้ท้องสำเภาเทียบท่าขนถ่ายสินค้า หมัดหนูก็จะนำเชื้อแพร่ระบาดในเมืองนั้น…

“ขณะที่การสืบค้นของ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ว่าด้วยเรื่องการระบาดของกาฬโรคในตะวันออก ชี้ว่า ก่อนหน้านั้น คือ พ.ศ.1874 มีกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ที่มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน แม้ไม่มีบันทึกจำนวนผู้ประสบภัย แต่บันทึกจากผู้รอดชีวิตระบุไว้ว่า เขตพื้นที่ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต 9 ใน 10 ส่วน และแพร่ระบาดกระจายไปถึงท่าเรือในยุโรป….”

ทั้งนี้ เอกสารโบราณหลายฉบับให้ข้อมูลคล้ายกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สถาปนากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1893 หรือ ค.ศ.1350 อันเป็นช่วง

เวลาใกล้เคียงกับการระบาดของโรคร้ายในยุโรป ทำให้นักวิชาการเชื่อกันว่า “โรคห่า” ที่พระเจ้าอู่ทองปราบลงตามตำนาน น่าจะเป็นโรคเดียวกับที่คร่าชีวิตคนยุโรปจำนวนมหาศาล

ย้อนอ่าน : หนอนอ่านนัว : ‘สุจิตต์’ ค้นตู้หนังสือ กวักมือย้อนอ่าน ‘โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง’
‘โรคระบาด’ ในประวัติศาสตร์ไทย เราผ่านพ้นมาได้อย่างไร?

10 สุขบัญญัติ รับมืออย่างไรเมื่อเข้าเฟส 3

#โควิด-19 เราต้องรอด แฮชแท็กยอดฮิตที่สะท้อนอารมณ์ของคนวันนี้ได้เป็นอย่างดี

เส้นกราฟที่ยังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เท่าความวิตกกับข่าวผู้ติดเชื้อที่คืบเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกขณะ แม้ว่าภาครัฐจะยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่าว่าสถานการณ์ยังอยู่ในระยะที่ 2

ทำอย่างไรเมื่อเข้าสู่ระยะ 3?

ดึงสติไว้ก่อน คือสิ่งแรกที่ต้องทำ ข่าวสารที่ไหลผ่านหน้าฟีดในแต่ละชั่วโมงทำให้เกิดอาการจิตวิตก เฝ้าถามว่าเราติดโควิดหรือยัง เมื่อไอจามอย่าเพิ่งผลีผลามวิ่งเข้าใส่โรงพยาบาล ให้กักตัวเองดูอาการที่บ้าน พร้อมกับแยกพื้นที่ใช้ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว

สำหรับสุขบัญญัติในยุคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า…

1.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือสถานที่ปิดแคบ

2.เว้นระยะห่างทางสังคม/บุคคลอย่างเข้มงวด

3.หลีกเลี่ยงผู้ที่มีอาการไอหรือจาม ควรอยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร

4.ล้างมือบ่อยๆ

5.เมื่อต้องออกจากบ้าน สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า พกแอลกอฮอล์เจลสำหรับล้างมือหรือพ่นบนวัตถุต้องจับต้อง เช่น ราวบันได ก๊อกน้ำ ที่กดชักโครก ฯลฯ

6.เมื่อกลับเข้าบ้านให้เปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำทันที เสื้อผ้าแยกซักต่างหาก

7.รับประทานอาหารร้อน

8.ใช้ช้อนกลางของตนเอง

9.หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาล

10.ทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างมิดชิด ถ้าเป็นหน้ากากผ้าให้ซักทุกวัน

คนไทยไม่ทิ้งกัน ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19

เพราะนาทีนี้เราต้องร่วมมือร่วมใจกันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ กระนั้นท่ามกลางห้วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ เราได้เห็นภาพที่งดงาม ความมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันของผู้ที่มีต้นทุนชีวิตมากกว่าออกมาช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า นี่เป็นโอกาสของ “การให้” ภาพของเด็กน้อยที่ยืนอยู่ริมถนนรอหยิบยื่นหน้ากากอนามัยให้กับผู้ที่สัญจรไปมา ร้านอาหารที่เตรียมอาหารกล่องแจกให้กับผู้ที่ขาดรายได้ในช่วงเวลาของการพักงานชั่วคราว ฯลฯ

เราได้เห็นหลายบริษัทห้างร้าน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ระดมน้ำใจเพื่อช่วยเหลือกันและกัน ไม่เพียงการบริจาคเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สนับสนุนการทำงานของนักรบเสื้อกาวน์ในโรงพยาบาล ปกป้องบุคลากรที่เสียสละเป็นแนวหน้าต่อสู้กับเชื้อไวรัสตัวร้าย

รวมไปถึงธุรกิจสิ่งทอบางแห่งที่ในยามนี้ปรับสายการผลิตมาผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อมอบให้แก่ทีมแพทย์พยาบาลและผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องและเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัส

เช่นเดียวกับ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบเกอรี่ ภายใต้แบรนด์ “ฟาร์มเฮ้าส์” ที่มองว่ากำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกับทีมแพทย์พยาบาลที่ต้องรับศึกหนักตลอด 24 ชั่วโมง ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ทุกคนสามารถกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวอันเป็นที่รักได้อย่างปลอดภัย

นอกจากมอบผลิตภัณฑ์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ วันละ 200 ชิ้น ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รวมกว่า 30,000 ชิ้น ใน 6 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ โรงพยาบาลบำราศนราดูร และโรงพยาบาลศิริราช

สำหรับใครที่จำเป็นต้องกักตัวอยู่ที่บ้านหรือต้องการให้จัดส่งถึงบ้าน ทางฟาร์มเฮ้าส์ยังมีช่องทางการสั่งออนไลน์ส่งฟรีทั่วประเทศ ล่วงหน้า 2 วัน (ขั้นต่ำ 150 บาท) สามารถโทรมาสั่งได้ทุกวันได้ที่ช่องทาง 09-8254-1222 หรือแอดไลน์ : farmhouseorder ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. หรือสั่งผ่านแอพพ์ Line Man

ขณะที่ “ข้าวตราไก่แจ้” ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 เปิดโครงการ “ไก่แจ้ Support” มอบข้าวสารให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศให้เป็นกำลังใจแก่ทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยตั้งเป้ามอบเดือนละ 10 แห่ง เบื้องต้นได้มอบให้กับ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลพนัสนิคม โรงพยาบาลพานทอง โรงพยาบาลบ้านบึง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

รวมทั้งยังเป็นสะพานบุญส่งมอบข้าวสารแก่ผู้ต้องการบริจาคให้กับสถานที่ต่างๆ และรับจัดส่งสินค้ากลุ่มร้านอาหาร หรือธุรกิจที่ต้องการวัตถุดิบ ที่เน้นความรวดเร็วและจัดส่งฟรี สอบถามได้ที่โทร 09-2396-5695 หรือเพจ ข้าวตราไก่แจ้ หรือแอดไลน์ได้ที่ Line :@kaijaerice

เพื่อให้ทุกคนผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image