อีกมุมมองสัมพันธ์ไทย-จีน ‘ประวัติศาสตร์สยาม’ มรดกสุดท้าย ‘เจียง ยิงเหลียง’ ปรมาจารย์ไทศึกษาคนสำคัญ

ศ.เจียง กับต้นฉบับ "ประวัติศาสตร์สยาม" ของพ่อ

ตากŽ กับ ใต้คงŽ หรือ เขตปกครองตนเองเต๋อหง ในมณฑลยูนนาน ลงนามสถาปนาเป็นเมืองคู่แฝดแบบบ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ตั้งแต่ปี 2552 มีการขับเคลื่อนความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนทางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวกันมาโดยตลอด

ล่าสุด เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-จีน มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นำโดย อุดร ตันติสุนทร อดีตรัฐมนตรีและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 5 สมัย ในฐานะที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก จัดงานเสวนา “ชนชาติไท ในมณฑลยูนนานŽ” เชิญนักวิชาการไทศึกษาจากเขตปกครองตนเองใต้คง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาบรรยายและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ด้านไทศึกษากับนักวิชาการไทย

ที่สร้างความคึกคักให้กับวงเสวนาคือ การมาของ ศ.เจียง เสี่ยวหลิน ผู้อำนวยการ พิพิธภัณฑ์ชนชาติไทเจียง ยิงเหลียงŽ บุตรชาย อ.เจียง ยิงเหลียง ปรมาจารย์ด้านไทศึกษาคนสำคัญของจีน

อ.เจียง ยิงเหลียง (1908-1988) เป็นนักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาด้านชาติพันธุ์วิทยา อุทิศทั้งชีวิตให้กับงานวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกลุ่มคนไท เก็บรวบรวมทั้งโบราณวัตถุ เอกสารโบราณ ภาพถ่าย ภาพเขียน ฯลฯ ที่บอกเล่าวิถีของคนไทจากแต่ละพื้นที่พื้นถิ่นไว้เพื่อเป็นฐานความรู้สำหรับคนรุ่นหลัง

Advertisement
ยุคแรกศาสนาพุทธยังไม่มีวัดพระภิกษุอาศัยชายทุ่งเป็นที่เผยแผ่พระธรรมคำสอน

ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้

แม้ว่าโดยระยะทางระหว่างตากกับใต้คงจะห่างไกลกันพอสมควร เฉพาะตากไปยังนครคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร แต่ในทางความสัมพันธ์ของผู้คนสองฝั่งประเทศกลับชิดใกล้

ใต้คงมีประชากรที่เป็นชนชาติไทกว่า 340,000 คน ถือว่ามากที่สุดในจีน นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ทั้งภาษา (ไทลื้อ) ที่ใช้ก็มีหลายคำที่เทียบเคียงกับภาษาพื้นถิ่นของไทยได้พอเข้าใจ

รศ.ใช่ เสี่ยวหว้าง ผู้อำนวยการสถาบันไทศึกษา วิทยาลัยครูใต้คง มณฑลยูนนาน บอกว่า ประเทศจีนมีชนชาติไทราว 1.2 ล้านคน กระจายตัวอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ ซึ่งในเขตปกครองตนเองชนชาติไทแบ่งได้เป็น 2 เขตคือ เขตปกครองตนเองใต้คง-จิ่งพัว ซึ่งมีคนไทราว 340,000 กว่าคน และเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มีคนไทราว 200,000 กว่าคน

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นไทเหมือนกัน แต่ด้วยความต่างทางด้านที่อยู่อาศัยและการได้รับอิทธิพลจากภายนอก ทำให้ชนชาติไทแต่ละถิ่นมีวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป

หนึ่งในประเพณีของชนชาติไทในใต้คงที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาที่เข้าไปผสมผสานกับความเชื่อเดิมคือ ประเพณี ช่วงชิงชื่อŽ (ดวงแห่งแดนสุขาวดี) เป็นประเพณีการทำบุญทางพุทธศาสนาขอชื่อเพื่อความเป็น

สิริมงคล โดยเชื่อว่าผู้ที่ผ่านพิธีดังกล่าวแล้ว เมื่อเสียชีวิตลง วิญญาณจะไปยังแดนสุขาวดี

รศ.ใช่บอกว่า คนไทในใต้คงส่วนมากจะมี 2 ชื่อ 1.ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ 2.ชื่อที่จะได้รับเมื่อผ่านพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไปจะจัดพิธี หลู่ทั้มŽ โดยคนในครอบครัว ในหมู่ญาติ หรือจัดร่วมกันโดยคนในหมู่บ้านเดียวกันก็ได้ เป็นการจัดงานอย่างเรียบง่าย ค่าใช้จ่ายไม่มากมาย ผู้ที่ผ่านพิธีดังกล่าวแล้ว จะได้ชื่อนำหน้าว่า ทั้มŽ ใช้เรียกแทนชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้

สำหรับผู้ที่มีฐานะ อาจจะจัดพิธี หลู่พระŽ หรือ ปอยพระŽ และจะได้คำหน้าชื่อว่า พะกะŽ หลังผ่านพิธีเพื่อแสดงถึงการเป็นพุทธศาสนิกชน เชื่อว่าจะได้รับการคุ้มครองให้อยู่ดีมีสุข

ยุคแรกศาสนาพุทธยังไม่มีวัดพระภิกษุอาศัยชายทุ่งเป็นที่เผยแผ่พระธรรมคำสอน

พุทธกับผีŽ กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

ทางด้าน ศ.เจียง เสี่ยวหลิน เล่าถึงการนับถือศาสนาพุทธเถรวาทของชนชาติไทในใต้คงว่า เริ่มตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน

ก่อนที่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจะเผยแพร่เข้ามาในใต้คง คนไทที่นี่ยังนับถือศาสนาเดิมคือ นับถือผีและธรรมชาติ มีวิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายใกล้ชิดกับแม่น้ำ ทำประมงและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการนับถือผีนับถือธรรมชาติ เคารพต่อสมดุลของระบบนิเวศ มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม และทำให้ระเบียบของสังคมมีความมั่นคง

สำหรับศาสนาพุทธนิกายเถรวาทนั้น ศ.เจียงบอกว่า แม้จะเผยแผ่เข้ามาในบริเวณที่ชนชาติไทอาศัยอยู่นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา แต่เพิ่งได้รับการยอมรับในศตวรรษที่ 17 โดยมีการสร้างวัดแห่งแรกเมื่อ ค.ศ.1665

และกว่าที่หมู่บ้านแต่ละแห่งที่มีคนไทอาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้จะมีวัดอยู่ (เกือบ) ครบทุกหมู่บ้านก็ในอีก 200 ปีต่อมา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจะกลายเป็นศาสนาหลักในเขตที่ชนชาติไทอาศัยอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าศาสนาเดิมจะเสื่อมถอยหรือสูญหายไป แต่กลับบูรณาการผสมผสานกันอย่างกลมกลืนกระทั่งกลายเป็นอัตลักษณ์ของชนชาติไทในใต้คง

ตัวอย่างเช่น การสรงน้ำพระพุทธรูปในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่ง แท้ที่จริงแล้วมาจากพิธีเซ่นไหว้ของชนชาติไทสมัยโบราณ กล่าวคือ หลังจากผ่านพ้นหน้าแล้งเข้าสู่หน้าฝน จะมีพิธีรดน้ำขอฝนสำหรับการทำนาครั้งใหม่

ขณะเดียวกัน การเปิดรับพระพุทธศาสนามานานหลายร้อยปี ส่งผลต่อนิสัยใจคอของชนชาติไท จากที่เป็นคนองอาจ ห้าวหาญ ชำนาญการรบ กลับมีจิตใจที่อ่อนโยนลง ซึ่ง ศ.เจียงให้ทรรศนะว่า นี่เป็นประเด็นที่น่าค้นคว้าวิเคราะห์กันต่อไป

ใช่ ชุนหลี้ อ.สอนภาษาไทยที่วิทยาลัยครูใต้คง, รศ.ใช่ เสี่ยวหว้าง, อุดร ตันติสุนทร, ศ.เจียง เสี่ยวหลิน และ ผศ.นรชาติ วัง

เปิดตัวต้นฉบับ ประวัติศาสตร์สยามŽ

หลังจากเสร็จสิ้นการบรรยาย โดยไม่คาดคิด ศ.เจียง เสี่ยวหลิน หยิบเอางานต้นฉบับเรื่อง ประวัติศาสตร์สยามŽ ของ อ.เจียง ยิงเหลียง ผู้บิดา ซึ่งเขียนไว้เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน ยังไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน

ศ.เจียงเล่าถึงต้นฉบับ ประวัติศาสตร์สยามŽ ของพ่อว่า เป็นงานที่เขียนแล้วเสร็จเมื่อปี 1969 ความยาว 170,000 ตัวอักษร และเป็นหนังสือเล่มแรกและเพียงเล่มเดียวที่บิดาเขียนในนามของนักประวัติศาสตร์นักวิจัยชนชาติ โดยเหตุที่ประเทศจีนและไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 1975 แต่ทว่าหลังจากนั้นมีเหตุให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศต้องหยุดชะงักลง อ.เจียง ยิงเหลียง เห็นว่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีและเชื่อว่าภาวะหยุดชะงักนี้จะเป็นไปชั่วเวลาสั้นๆ ควรยึดเรื่องของมิตรภาพระหว่างประเทศไว้ จึงเปิดหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ของสยามในมหาวิทยาลัยยูนนาน ถ่ายทอดความรู้และอบรมบุคลากรเพื่อช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน

รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลงานหนังสือ ประวัติศาสตร์สยามŽเล่มนี้ขึ้น โดยเนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึง พัฒนาการของสยามประเทศอย่างต่อเนื่องนับแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน โปรตุเกส เมียนมา ดัตช์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น และเรื่องราวการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

หนังสือเล่มนี้มีการค้นคว้าและอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศไทยจำนวนมากจากเอกสารและตำราของจีน ขณะเดียวกัน ได้รวบรวมงานวิจัยของทั้งไทยและยุโรป ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลงานการศึกษาประวัติศาตร์ไทยทั้งของไทยและของยุโรปแล้ว ข้อมูลอ้างอิงในหนังสือเล่มนี้สามารถตอบได้ว่ามีรายละเอียดและเนื้อหาที่สมบูรณ์และน่าเชื่อถือที่สุด โดยเตรียมจะตีพิมพ์ฉบับภาษาจีนออกมาก่อน

ทางด้าน ผศ.นรชาติ วัง อาจารย์ประจำสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง บอกว่า หนังสือเล่มนี้ใช้ข้อมูลดี มีเอกสารจีนโบราณค่อนข้างมากตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา เรารู้ว่าในประวัติศาสตร์จีน หนังสือที่บันทึกเกี่ยวกับบุคคลในประเทศไทยมีหนังสือประวัติศาสตร์ของ ซือหม่าเฉียนŽ สมัยราชวงศ์ฮั่น ยุคสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ที่บันทึกเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยทางตะวันตกเฉียงใต้

“จีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ต่างๆ การไปมาหาสู่ของประเทศเพื่อนบ้าน หรือต่างแดน จะมีการบันทึกไว้ และมีผลงานทางพิธีการทูตในการรับรองของ ต้าหลี่ซื่อ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ดูแลความสัมพันธ์กับต่างชาติ หนังสือเล่มนี้จึงมีคุณค่า เพราะโดยทั่วไปที่ใช้เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นจีนโบราณมีค่อนข้างน้อย เล่มนี้จึงเป็นการเติมความสัมพันธ์ไทย-จีน”

และยังใช้ข้อมูลของชาวตะวันตกด้วย จึงเป็นอีกด้านหนึ่งที่มองความสัมพันธ์ไทย-จีน ในสมัยที่ไทยยังใช้คำว่า สยาม Ž อาจารย์วังสรุป


ศ.กิตติคุณ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ศ.กิตติคุณ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.

“งานวิจัยในตอนหลังๆ นี้มีการค้นพบมากขึ้นเป็นลำดับว่า ชนชาติไทประเทศไทยกับชนชาติในทางตอนใต้ของจีนมีความเกี่ยวพันกันมาก ทั้งในแง่วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อสาย ฉะนั้น ถ้ามีการค้นคว้ากันต่อไปจะทำให้ประเทศไทยกับจีนยิ่งใกล้ชิดกันมากขึ้น แล้วระยะหลังทางจีนได้รับรองแนวคิดว่า ประเทศจีนประกอบด้วยหลายชนชาติ และชนชาติที่สำคัญหนึ่งในนั้นคือ ชนชาติไท”

“มันแสดงความใกล้ชิดในทุกๆ ทางระหว่างประเทศไทยและจีน ปัจจุบันเราเห็นว่ามีคนในเมืองจีนหลายสิบล้านคนพูดภาษาตระกูลไท อยู่กวางสี ยูนนาน เป็นสำคัญ แต่ถ้าดูไปถึงโบราณ ชนชาติที่มีวัฒนธรรมใกล้กับเรา เย่ว์โบราณ ใต้แม่น้ำแยงซี อย่างใกล้ๆ แม่น้ำฉงชิ่ง ที่เมืองฉีเจียง ก็หลายล้าน ถ้ารวมเย่ว์โบราณมีเป็นร้อยล้านคน ซึ่งยิ่งคิดกลับไปก็ยิ่งเกี่ยวพันกัน และในหนังสือ “ชนชาติไทในประเทศจีน” ได้กล่าวถึง ศ.เจียง ยิงเหลียงไว้มากทีเดียว ยิ่งแสดงถึงความใกล้ชิดระหว่างกัน”


ศูนย์ไทศึกษาใต้คง

มรดกจากความมุ่งมั่นของ เจียง ยิงเหลียง

พิพิธภัณฑ์ไทศึกษา เจียง ยิงเหลียง ตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยครูใต้คง เมืองหมังซื่อ แขวงใต้คง มณฑลยูนนาน นับเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไทศึกษาที่มากที่สุดและสมบูรณ์

ที่สุดในขณะนี้ โดยในส่วนของโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ส่วนมากมาจากการสะสมมานานเป็นสิบๆ ปี ของ อ.เจียง ยิงเหลียง และครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเอกสารบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชนชาติไท โดยเฉพาะไทลื้อ ที่เป็นเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง มีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นรูปภาพ รวบรวมจากพิพิธภัณฑ์ของทางฝั่งตะวันตก และจากประเทศญี่ปุ่น

“ถ้าเป็นข้อมูลชนชาติไทที่ประเทศอื่น ผมอาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่ถ้าเป็นไทลื้อที่จีน ยืนยันได้ว่าที่ศูนย์แห่งนี้มีข้อมูลที่มากที่สุดและครบถ้วนสมบูรณ์แบบที่สุดแน่นอน เพราะไม่เพียงรวบรวมเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์เก่าๆ ยังมีทั้งที่บอกเล่าเป็นชาดก นิทานพื้นบ้านอีกด้วย”

ศ.เจียง เสี่ยวหลิน บอกอีกว่า เมื่อ 200 ปีก่อน ทรรศนะการมองของชาวฮั่นที่มีต่อคนไทลื้อ (ไต) อาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงพยายามรวบรวมข้อมูลจากฝั่งตะวันตก จากญี่ปุ่น มารวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์นี้ ตั้งใจสร้างเป็นศูนย์ไทศึกษาที่มีวัตถุโบราณ เอกสารโบราณ ให้ครบถ้วน สำหรับนักวิชาการจากทั่วโลกได้มาใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ในการศึกษาเรียนรู้

“ผมเองอายุ 70 กว่าปีแล้ว ถือว่าชีวิตตัวเองมีเวลาเหลือไม่มากแล้ว จึงใช้เวลาที่เหลืออยู่ทุ่มเทสรรพกำลังที่มีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเพื่อให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สมบูรณ์ที่สุด โดยตั้งใจว่าในอนาคตจะยกพิพิธภัณฑ์นี้ให้เป็นของวิทยาลัยครูใต้คง และเป็นสมบัติของชาติต่อไป”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image