นวัตกรรมมากคุณภาพ ฟันเฟืองขับเคลื่อน ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ชิ้นสำคัญ

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิต

“ดังนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่จะพลิกโฉมประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบŽ”

เป็นคำกล่าวของ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ภายหลังการจัดงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017 ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

ทั้งยังบอกอีกว่า งานนี้ถือเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้ประกาศศักยภาพในการเป็นผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนด้วย

Advertisement

บริษัท พรีไซซ ดิจิตอล อีโคโนมี่ จำกัด เป็นบริษัทในเครือกลุ่มพรีไซซ (PRECISE) ที่มีผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผนวกเทคโนโลยีเข้ากับภาคอุตสาหกรรมและชุมชน อาทิ เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ หลอดไฟแอลอีดี ทั้งยังมีบริการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้แก่ภาครัฐและเอกชนที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ ไทยแลนด์ 4.0Ž ของรัฐบาล

เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เรื่องดิจิทัลอีโคโนมี พล.อ.อ.สมชาย เธียรอนันท์ ประธานกรรมการบริษัท พรีไซซ ดิจิตอล อีโคโนมี่ จำกัด หรือพีดีอี เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงก่อตั้งพีดีอีขึ้น เพื่อร่วมเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยเห็นว่าหากเรามีบริษัทที่สามารถสนองนโยบายรัฐบาลเรื่องการดำเนินการในระบบต่างๆ เกี่ยวกับไทยแลนด์ 4.0 ทั้งสมาร์ท

อินดัสทรี สมาร์ทฟาร์มมิ่ง รวมถึงสมาร์ทซิตี้ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีและระบบอุปกรณ์ต่างๆ ผนวกเข้ากับเมือง ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคเกษตรกรรม คงเป็นสิ่งที่ดี

Advertisement

“เราให้ความร่วมมือกับกระทรวงดีอี ผ่านสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ในโอกาสที่กระทรวงดีอีได้จัดงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017 ด้านการจัดแสดงระบบหรืออุปกรณ์ที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่อง เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่เราสามารถติดตั้งระบบสื่อสัญญาณต่างๆ เพื่อตรวจวัดสภาพอากาศของเมืองได้Ž”

เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นการบูรณาการระบบไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อม และระบบแจ้งเตือนเข้าไว้ด้วยกัน หากติดตั้งในกรุงเทพฯ สามารถติดตั้งตามสี่แยกต่างๆ โดยมีความสามารถในการตรวจวัดสภาพอากาศ ฝุ่นละออง ปริมาณน้ำฝน น้ำท่วม รวมทั้งติดกล้องเพื่อส่งข้อมูลกลับไปยังศาลาว่าการ กทม. เพื่อแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าได้ด้วย

ที่สำคัญ เสาไฟฟ้าอัจฉริยะยังเหมาะสำหรับใช้งานตามหมู่บ้านห่างไกล เพื่อให้แสงสว่างบริเวณบ้าน ทางเดิน ถนน และทุกที่ตามต้องการ เพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนในการทำงาน และมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติโดยการตั้งเวลา

พล.อ.อ.สมชาย เธียรอนันท์

ปูความพร้อมสู่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0

ซึ่งไม่เพียงแต่พีดีอีที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะ สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมของประเทศไต้หวัน (อิสทรี) เองยังได้เซ็นความร่วมมือกับพีดีอีในการร่วมกันพัฒนา

สมาร์ทอินดัสทรี 4.0 โดยเริ่มจากการพัฒนาโรงงานและบริษัทในเครือ เพื่อเป็นต้นแบบ ก่อนจะขยายให้กับโรงงานต่างๆ ที่สนใจ

ขณะเดียวกัน กลุ่มพรีไซซได้ร่วมกับ ดีป้า อิสทรี และหน่วยงาน อื่นๆ จัดหลักสูตรระยะสั้น Industry 4.0 Development for Global Competitiveness : Smart Industry สำหรับเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมที่ต้องการประยุกต์นวัตกรรมเข้ากับโครงสร้างธุรกิจอุตสาหกรรมเดิม เพื่อเป็นการปูความพร้อมในการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างมืออาชีพ

“หลักสูตรนี้มีบรรยายในประเทศไทยด้วยส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไปดูงานที่อิสทรี ไต้หวัน ไปดูว่าโรงงานเขาปรับเปลี่ยนจากอินดัสทรี 3.0 เป็น 4.0 ได้อย่างไรŽ” พล.อ.อ.สมชายเล่า

แล้วทำไมต้องเป็นไต้หวัน?

พล.อ.อ.สมชายช่วยไขความกระจ่างให้ว่า อิสทรีเองมีความก้าวหน้ามาก อีกทั้งยังเปิดสาขาไปที่ญี่ปุ่น รัสเซีย อเมริกา รวมถึงยุโรป เมื่อเขานำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เขาจะสปินออฟ (Spin-off) หรือการนําบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัทจดทะเบียน (บริษัทแม่) แยกออกมาเสนอขายหุ้นต่อประชาชน แล้วจดเข้าตลาดหลักทรัพย์ต่อไปด้วย

“พอสปินออฟไป ก็แยกตัวออกไปตั้งบริษัท ตั้งอุตสาหกรรมนั้นๆ เอง ซึ่งอิสทรีทำไปแล้วกว่า 270 บริษัท เขาไม่ทิ้งสิ่งที่เขาทำ เขาพัฒนาและต่อยอดอยู่เรื่อยๆ ช่วยเหลือบริษัทที่เขาสปินออฟออกไป เราเห็นส่วนนี้แล้วคิดว่าน่าจะนำมาทำในไทยบ้างŽ”

สำหรับหลักสูตรดังกล่าว เปิดรับสมัครถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2560 นี้เท่านั้น ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2584-2367 ต่อ 751 หรือ09-4509-6861

เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ สามารถตรวจวัดสภาพอากาศ ฝุ่นละออง บอกปริมาณน้ำฝน และให้แสงสว่างได้ภายในเสาเดียวกัน

เมืองอัจฉริยะ : มีมาตรฐาน-การมีส่วนร่วม

ส่วน สมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะนั้น พล.อ.อ.สมชายอธิบายว่า การจะเป็นสมาร์ทซิตี้ได้จำเป็น ต้องมีมาตรฐานรองรับ หากบอกว่าเราเป็นสมาร์ซิตี้แต่ไม่เข้ามาตรฐานที่ไหนเลยนั้นไม่ได้ อยากให้รัฐบาลประกาศว่าเราจะทำสมาร์ทซิตี้จำนวนกี่เมืองตามเป้าหมาย 

“รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องให้เขามีส่วนร่วมด้วย เพราะเขาอยากทราบว่าสมาร์ทซตี้ในเมืองของเขาเป็นแบบไหนŽ”

เช่น เมืองที่มีอุตสาหกรรมเยอะ จะทำให้เป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมย่อมได้ แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมเมืองนิเวศ อากาศต้องบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ ต้องสร้างระบบจัดการน้ำเสียให้ชัดเจน ต้องมีระบบป้องกัน และระบบตรวจสอบ

“หรือเมืองท่องเที่ยว เราจะทำอย่างไรให้เมืองนั้นปลอดภัย สะดวกสบาย ทั้งการเดินทาง การรักษาพยาบาล เวิลด์แฟร์ต่างๆ เราต้องมี ต้องไปสัมภาษณ์ ไปคุยกับเขาว่าต้องการแบบไหน เอามาตรฐานพวกนี้มาจับแล้วต้องวางระบบให้ดีŽ”

โดยสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ขณะนี้คือ การทำให้อินเตอร์เน็ตไวไฟเข้าไปสู่พื้นที่ หากพื้นที่ไหนยังไม่มี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีโครงการยูโซ่ไวไฟ กำลังดำเนินการติดตั้งอยู่ ซึ่ง รมว.ดีอีได้ประกาศแล้วว่าภายในปี 2562 จะสำเร็จทั้งหมด

ส่วนนี้เองที่ พล.อ.อ.สมชายมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสมาร์ทต่างๆ เนื่องจากต้องใช้ระบบสื่อสารส่งผ่านข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดย แต่ละเมืองต้องมีบิ๊กดาต้า และ ใช้บิ๊กดาต้าจากทุกภาคส่วนแจ้งเตือนประชาชนอย่างรวดเร็ว

“ผมจำได้ว่ารัฐบาลได้ประกาศเป้าหมายชัดเจน แต่ยังอยู่ในขั้นดำเนินการ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องกำหนดและตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะได้กี่เมือง ต้องมีแผนปฏิบัติให้ชัดเจน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันวางแผนŽ”

และหากย้อนกลับไปที่งานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017 อีกสักหน่อย พล.อ.อ.สมชายได้เล่าให้ฟังว่า ที่บูธของพรีไซซนั้น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ได้มีโอกาสเยี่ยมชมและพูดถึงสมาร์ทซิตี้ที่ท่านให้ความสนใจ พร้อมเสนอให้พีดีอีจัดทำเปเปอร์ขึ้นไปให้ดูด้วย

“ผมอยากให้เห็นว่าสมาร์ทซิตี้เป็นอย่างไร มีมาตรฐานอย่างไร ซึ่งแต่ละเมืองสมาร์ทซิตี้ต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเอง อย่างเชียงใหม่อาจเป็นเรื่องเมืองท่องเที่ยวและวัฒนธรรมล้านนา เราก็ทำสมาร์ทซิตี้ให้เป็นตรงนั้น เขาก็จะมีความรู้สึกว่า ไม่ใช่ว่าพอเป็นสมาร์ทซิตี้แล้วเราจะเป็นสมาร์ทซิตี้แบบไทยแลนด์แบบเดียวกันไม่ได้Ž”

หรือที่ภูเก็ต เน้นเรื่องการท่องเที่ยว จัดเป็นสมาร์ททัวริสต์ก็ได้ ต้องคุยกับชาวบ้านว่าเขาอยากได้แบบไหน ซึ่งเชื่อว่าต้องได้รับความร่วมมือจากคนในท้องถิ่นแน่นอน

เพียงแต่ว่าทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image