พาออเจ้าแต่งไทยไปเที่ยว ตามรอยบุพเพสันนิวาส ดูละครย้อนดูประวัติศาสตร์อยุธยา

วัดไชยวัฒนาราม

กรุงศรีอยุธยา อดีตราชธานีไทย ไม่เคยสิ้นมนต์ขลัง แม้กาลเวลาจะล่วงผ่านมาเนิ่นนานถึง 400 กว่าปี แต่ก็ยังคงมีเรื่องให้ค้นหาอย่างน่าสนใจ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ยังตกหล่นจากประวัติศาสตร์ในอดีต โบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่หลายคนอาจยังไม่รู้ หรือ เรื่องเล่าชาวบ้านและชาววัง ไปจนกระทั่งสิ่งลี้ลับที่เชื่อว่ายังวนเวียนอยู่ในย่านนั้นอย่างไม่ไไหน ผืนดินแทบทุกตารางนิ้วของอยุธยานับได้ว่ายังมีเรื่องอีกมากมายให้ไปเยือนกัน

รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา เคยกล่าวถึงอดีตราชธานีแห่งนี้ ว่าบริเวณกรุงศรีอยุธยา เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอในการเพาะปลูกในดำรงชีพและการค้าขาย

วัดอโยธยา

เมืองที่เรียกว่า “อโยธยา” คงพัฒนาขึ้นจากชุมชนมาเป็นเมือง ที่มีความหนาแน่นของประชากร และมีการพัฒนาการทางการค้า การเมืองการปกครองที่เข้มแข็ง ทางฝั่งตะวันออกของเกาะเมือง และได้ขยายศูนย์กลางการปกครองเข้าไปในเกาะในที่สุดเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893

Advertisement

ซึ่งหมายความว่ากรุงศรีอยุธยามีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทั้งในในด้านการเมือง การปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายจนสามารถพัฒนามาเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยอย่างมากมาย รวมถึงชาวต่างชาติที่มีทั้งฝรั่งอังกฤษ โปรตุเกส ฮอลันดา แขก จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน ฯลฯ

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้กรุงศรีอยุธยาสั่งสมอารยธรรมอย่างต่อเนื่องและอยู่มาอย่างยาวนาน นำไปสู่การบอกเล่าอดีตแก่คนรุ่นหลัง เกิดเรื่องราวอันน่าสนใจมากมาย

วัดพุทไธศวรรย์

ทั้งหลายทั้งปวงแปรสภาพออกมาเป็นบทประพันธ์ในหนังสือบ้าง ในละครโทรทัศน์บ้าง อย่างละครโทรทัศน์ที่ดังเปรี้ยงปร้างชั่วข้ามคืน “บุพเพสันนิวาส” ของช่อง 3 ในขณะนี้

Advertisement

จินตนาการของคนเขียน ทำให้เรามองเห็นภาพของอยุธยาแบบมีชีวิตกลับมาอีกครั้ง ได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้น เห็นขนบธรรมเนียบปฏิบัติ ข้าวปลาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ว่าเขาเป็นกันอย่างไร

สิ่งเหล่านี้ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งได้ไปกระตุ้น “ต่อมความโหยหาอดีต” ให้เกิดขึ้นในใจของชาวไทยจำนวนมาก เห็นประจักษ์ชัดแจ้งตั้งแต่งานอุ่นไอรักที่บังเกิด ณ พระราชวังดุสิต ลานพระบรมรูปทรงม้า บรรยากาศจากงานสร้างความอิ่มเอมใจให้กับชาวพระนครและประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ เมื่อแต่ละคนได้แต่งกายด้วยชุดไทยไปเที่ยวงานกันอย่างครึกครื้นสนุกสนานและได้กระชากความรู้สึก อีกทั้งจิตวิญญาณของความเป็นไทยในอดีตให้หวนคืน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

เรื่องราวของละครโทรทัศน์ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา ช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2199 ถือเป็นระยะเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายกับต่างประเทศ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ถึงขั้นส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ในรัชสมัยของพระองค์เกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายและอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากกว่าที่ผ่านมา ที่สำคัญคือชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ และยังขยายอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนอุษาคเนย์ด้วย

ตัวละครตามท้องเรื่องของนิยาย ตัวพระเอกเป็นหนึ่งในคณะทูตที่เดินทางไปประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ดังนั้นสถานที่ต่างๆที่ปรากฏในนิยาย จึงเป็นการอิงกับสถานที่จริง

ป้อมเพชร
วัดเชิงท่า

บางแห่งยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน แต่บางสถานที่ก็รกร้างเลือนหายกลายเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมาแทน อย่างเช่น บรรดาตลาดต่างๆ หรือตลาดดินสอ ป่าสมุด ที่ซึ่งพระเอกพานางเอกไปซื้อข้าวของ ซ่องโสเภณีในสมัยอยุธยา วัดไชยวัฒนาราม ป้อมเพชร วัดพุทไธศวรรย์ เป็นต้น

สถานที่ต่างๆเหล่านี้ ไกด์กิตติมศักดิ์ฝีปากกล้า ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยา “ปรีดี พิศภูมิวิถี” ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและยังเป็นผู้อบรมวิชาประวัติศาสตร์ไทยให้แก่ครูอาจารย์ระดับประถมและมัธยมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นวิทยากรบรรยาย พาฝ่ามิติข้ามกาลเวลากลับไปหา ขุนศรีและแม่การะเกด ในแบบที่อาจจะยังไม่มีใครเคยรู้มาก่อน ข้อมูลที่เล่าจากปากอาจารย์เข้มข้นในเนื้อหาสาระ และสนุกสนานเฮฮา

ฉะนั้น จึงได้เพลาพาออเจ้าทั้งหลายจะแต่งไทยหรือไม่แล้วแต่เห็นควร แล้วขึ้นรถลงเรือทัวร์พระนครศรีอยุธยาในวันวาร “ตามรอยบุพเพสันนิวาส ดูละครย้อนดูประวัติศาสตร์อยุธยา” โดย “มติชนอคาเดมี” สถาบันหนึ่งในเครือมติชน วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2561 ร่วมรับรู้ความเป็นไปของกรุงศรีอยุธยาในอีกมุมที่เป็นความเจริญถึงขีดสุด!!


วันเดย์ทริป กับมติชนอคาเดมี

“ดูละครบุพเพสันนิวาส ดูประวัติศาสตร์อยุธยา” จ.พระนครศรีอยุธยา

รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี

อาทิตย์ที่ 25 มีนาคม โดย วิทยากร ปรีดี พิศภูมิวิถี

07.00 น. ลงทะเบียนรับของที่ระลึก และรับอาหารเช้าที่มติชนอคาเดมี

08.00 น ออกเดินทางย้อนเวลาสู่กรุงเก่า

09.30 น. ถึง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” ภายในรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุล้ำค่า รวมทั้งเครื่องทองคำโบราณที่ค้นพบภายในกรุวัดราชบูรณะและกรุวัดมหาธาตุ ที่นี่ถูกใช้เป็นฉากห้องเรียนโบราณคดีของเกดสุรางค์ และเรืองฤทธิ์ เพื่อนสนิทของเธอ

10.00 น. เดินทางต่อไปยัง “วัดบรมพุทธาราม” ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าเป็นนิวาสถานเดิมของพระเพทราชา จากนั้นชม “สะพานบ้านดินสอ” ย่านการค้าเครื่องเขียน ที่แม่หญิงการะเกิดมาซื้อสมุดไทยและดินสอศิลาขาวกับพี่หมื่นเดช

11.00 น. เดินทางไปยัง “ป้อมเพชร” จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา และเป็นฉากที่แม่หญิงการะเกดนั่งเรือกับพี่หมื่น โบกมือทักทายให้กับทหารป้อม

13.20 น. หลังจากรับประทานอาหารกลาวันที่ร้านบ้านวัชราชัย (สำรับโบราณ) เดินทางต่อไปยัง “วัดธรรมาราม” นอกเกาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตั้งค่ายกองทัพพม่าก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถควบคุมการสัญจรทางน้ำได้ สถานที่ถ่ายทำฉากวัดที่ตัวละครต่างๆ เข้าไปทำบุญ จากนั้นชม “พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ” จัดแสดงเรื่องราวของพระอุบาลีมหาเถระ พระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนกำเนิดเป็นพุทธศาสนาแบบสยามวงศ์ในลังกาจวบจนปัจจุบัน

14.30 น. ลงเรือชมโบราณสถานต่างๆ ระหว่างทาง สัมผัสบรรยากาศของแม่น้ำเจ้าพระยา 15.30 น. ขึ้นที่ท่า “วัดพุทไธศวรรย์” สร้างขึ้นในบริเวณเดิมที่เคยเป็นพระตำหนักเวียงเหล็กที่ประทับของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ที่นี่เป็นฉากของสำนักดาบที่แม่หญิงการะเกิดได้พบกับพ่อครูชีปะขาว ผู้ที่รู้ว่าที่แท้เธอคือใคร และยังมอบมนต์ให้กำบังกายให้กับเธออีกด้วย

16.30 น. เดินทางไปยัง “วัดไชยวัฒนาราม” สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยนำคติเขาพระสุเมรุกับแผนผังปราสาทนครวัดมาเป็นต้นแบบ และดัดแปลงให้มีรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ที่นี่เป็นฉากสำคัญปรากฏในหลายตอน รวมทั้งเป็นฉากเชื่อมต่อระหว่างโลกในอดีตของการะเกดกับโลกปัจจุบันของเกดสุรางค์

18.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ ถึงมติชนอคาเดมีโดยสวัสดิภาพ 19.30 น.โดยประมาณ

อบถามและสำรองที่นั่ง โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2123, 2124

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image