คึกคัก! ปชช. กางเต๊นท์ ปักหลักรอชม ‘ฝนดาวตกเจมินิดส์’ คืนนี้

เมื่อเวลา 21.25 น. วันนี้ 14 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการชมฝนดาวตกเจมินิดส์ และหาวหาง ที่หอดูดาวภูมิภาค ภาคตะวันออก หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบเฉลิมพระชนมพรรษา อ.แปลงยาว จ.จ.ฉะเชิงเทรา หอดูดาวภูมิภาคที่ใกล้กรุงเทพฯที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนหลังเลิกงานได้เดินทางมาร่วมกิจกรรมจำนวนมากกว่า 500 คน โดยช่วงหัวค่ำนี้ เป็นการจัดกิจกรรมชมนิทรรศการทางดาราศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ,การชมภาพยนตร์เรื่องระบบสุริยะจักรวาลที่ท้องฟ้าจำลอง,การชมดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะกล้องขนาดใหญ่ขนาด 70ซม.ในการชมดาวหาง 46 พี เวอร์ทาเนน ที่ประชาชนพากันเข้าคิวยาวนับร้อยรอชมคิวยาวเหยียด โดยมีนายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิตย์ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ไทยและที่ปรึกษาหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นวิทยากรนำชม

นอกจากนี้ ยังมีประชาชน -นักเรียน ที่นำเต้นท์มากางนอนเฝ้ารอชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ที่จะปะทะฝนดาวตกสูงสุดหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไปปะทะสูงสุด ประมาณ 02.00-03.00 น.จรดค่อนรุ่งวันที่15 ธ.ค.นี้ และพบว่าประชาชนพากันเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่องในการติดตามปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อย่างใกล้ชิด

Advertisement

ขณะที่ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า นายกริชชัย บุญกอง หัวหน้าส่วนงานดาราศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ติดตั้งกล้องดูดาวชนิดสะท้อนแสงแบบดอปโซเนียน ค้นหาวัตถุบนท้องฟ้า ที่บริเวณลานดาราศาสตร์ และ หอดูดาวด้านข้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ริมหาดหว้ากอ เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจ รวมทั้งนักเรียนที่เดินทางไปเข้าค่ายวิทยาศาสตร์กว่า 200 คน ร่วมสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในการจัดกิจกรรม “เคียงคู่ดูดาว ณ หว้ากอ” ท่ามกลางท้องฟ้าแจ่มใส โดยช่วง 20.05 น.ผ่านมีสถิติฝนดาวตกมากกว่า 50 ดวง และหลังจากเวลา 23.30 น.เป็นต้นไปถึงรุ่งเช้า เมื่อดวงจันทร์ลับขอบฟ้าจะสังเกตเห็นฝนดาวตกกลุ่มใหญ่ได้อย่างชัดเจน

น่ายกริชชัย กล่าวว่า สำหรับปีนี้คาดว่ามีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 120 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ นอกจากนั้นได้จัดกิจกรรมหาตำแหน่งดาวหาง 46 P เวอร์ทาเน้น ที่เข้าใกล้โลกที่สุด ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นจุดสีฟ้าผ่านกล้องดูดาว สำหรับดาวหางดังกล่าวจะปรากฏหาง เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ในวันที่ 16 ธันวาคม นี้ สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่เวลา 20.30 น.เป็นต้นไป บริเวณท้องฟ้าด้านทิศตะวันออกในกลุ่มดาววัว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image