เกษตรกรยิ้มออก ปลดหนี้ 2 แสนได้ หลังหมูฟาร์มแพง ดึงราคาหมูพื้นบ้านขยับตาม

เกษตรกรตำบลนาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง มีรอยยิ้มที่สดใสหลังสามารถปลดหนี้เกือบ 2 แสนบาทได้ จากการขายหมูพื้นบ้านหรือหมูพื้นเมืองจำนวน 25 ตัว เหตุราคาหมูฟาร์มแพงขึ้น ทำให้หมูพื้นบ้านราคาขยับตามเกือบกิโลละ 100 บาทเช่นกัน

เมื่อวันที่ 6 มกราคม นางอารี ดับพันธ์ อายุ 56 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง ซึ่งเลี้ยงหมูพื้นบ้าน หรือหมูพื้นเมืองมานานนับ 10 ปีแล้ว วันนี้ยิ้มได้และไม่ต้องหลบคนเก็บเงินกู้นอกระบบ (หมวกกันน็อก) อีกต่อไป เพราะสามารถขายหมูพื้นบ้านจำนวน 25 ตัวไปเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในราคากิโลกรัมละ 90 บาท ได้เงินมากว่า 1 แสนบาท

ส่วนที่เหลืออีก 15 ตัวก็มีคนจองแล้วทั้งหมดโดยให้ราคากิโลกรัมละ 100 บาท เพื่อนำไปใช้ทำหมูย่างในช่วงเทศกาลตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ทำให้นางอารี สามารถใช้หนี้จำนวน 180,000 บาทได้หมด และเตรียมเลี้ยงหมูพื้นบ้านรอบใหม่อีก 25 ตัว เนื่องจากเป็นหมูที่เลี้ยงง่าย ต้นทุนไม่สูง หากินเองตามธรรมชาติบ้าง และโรคภัยก็น้อยกว่าหมูจากฟาร์มมาก

(ชมคลิป)

Advertisement

ส่วนไขมันก็น้อยกว่า เนื้อแน่นซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือนจึงสามารถขายได้ที่น้ำหนักตัวละ 40-50 กิโลกรัม โดยนางอารี เลี้ยงหมูพื้นบ้านมาหลายปี ไม่เคยขายได้ราคาดีเท่ากับปีนี้มาก่อน ซึ่งแต่เดิมเธอจะขายหมูพื้นบ้านได้เพียงกิโลกรัมละ 60-65 บาทเท่านั้น แต่ช่วง 1-2 เดือนมานี้ ราคาหมูขยับขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ทำให้เธอปลดหนี้เกือบสองแสนบาทได้ และมีกำลังใจที่จะเลี้ยงหมูพื้นบ้านต่อไป เชื่ออานิสงส์ของราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขยับขึ้น ทำให้หมูพื้นบ้านมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งนางอารี เล่าว่า ก่อนหน้านี้เธอต้องเก็บเงินผ่อนเบี้ยรายวัน  วันละ 750 บาทให้กับเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเป็นหนี้อยู่จำนวน 180,000 บาท แต่หลังจากขายหมูพื้นบ้านรอบ 3 เดือนที่แล้วและรอบที่กำลังจะถึงนี้ ก็สามารถใช้หนี้ทั้งหมดได้ ซึ่งหลายปีมาแล้วที่ขายหมูพื้นบ้านได้แค่กิโลกรัมละ 60-65 บาท แต่ปีนี้ราคาขยับขึ้นมาเรื่อยจนถึงกิโลกรัมละ 100 บาท และมีคนจองหมูที่เหลืออีก 15 ตัวไว้สำหรับเทศกาลตรุษจีนหมดแล้ว ทำให้เธอมีกำลังใจที่จะเลี้ยงหมูพื้นบ้านต่อไป

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image