รมช.สธ. แจงยิบ ปมอัมพฤกษ์หลังฉีดซิโนแวค รับผู้ป่วยค้าง 400 รายในระบบ ยังไม่ได้ รพ.

“สาธิต” แจงยิบ ต้องชะลอฉีดหรือไม่? คนไทย 6 ราย เป็นอัมพฤกษ์ชั่วคราว หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค รับตกค้างในระบบ 300-400 ราย 

รายการโหนกระแสวันที่ 21 เม.ย. 64 “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 หลังจากที่มีข่าวบุคลากรทางการแพทย์ฉีดวัคซีนซิโนแวค แล้วเกิดอาการข้างเคียง เป็นอัมพฤกษ์ พูดคุยกับ “ดร.สาธิต ปิตุเตชะ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

ท่านปลอดภัย?

Advertisement

ดร.สาธิต : ปลอดภัย กักตัวเรียบร้อย

 

พี่ชายติด?

Advertisement

ดร.สาธิต : พี่ชายติด ยังรักษาอยู่ อาการมีลงปอดนิดหน่อย แต่ว่าปรึกษาอาจารย์หมอที่ศิริราชแล้วว่าวิธีการดูอาการที่จะปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องนับจากวันที่เกิดอาการไป 10 วัน ถ้าไม่มีอาการรุนแรงแสดงว่าปลอดภัย

 

เรื่องเกิดที่ระยอง บุคลากรทางการแพทย์ 6 คน ฉีดวัควีนซิโนแวคแล้วเกิดอาการ เรื่องจริงมั้ย?

ดร.สาธิต : เป็นเรื่องจริงทั้งหมด และเป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน และการฉีดวัคซีนที่ระยองในล็อตนั้น วันที่ 5-9 เม.ย. เป็นการฉีดวัคซีนยี่ห้อซิโนแวค และเกิดมีผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนจำนวน 6 รายด้วยกัน

 

6 รายเป็นหญิงอายุ 29 ปี หลังฉีดมีอาการแขนขาชาครึ่งซีก และอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ทำให้เจ้าหน้าที่ตัดสินใจย้ายผู้ป่วยไปแผนกฉุกเฉิน หลังจากนั้นมีอาการปวดตึงท้ายทอย พูดจาไม่ชัด หลังจากนั้นมีหญิงอายุ 33 ปี หลังฉีดรู้สึกเจ็บหน้าอกด้านซ้ายเป็นพักๆ ใจสั่นอ่อนแรง ชามากบริเวณแขนซ้าย จากนั้นมีอาการแขนขาชาครึ่งซีก และอัมพฤกษ์ครึ่งซีก จากนั้นหญิงอายุ 21 ปี ก่อนฉีดมีอาการเจ็บหน้าอกซ้าย หลังฉีดใจสั่น แขนขาชาครึ่งซีก และอัมพฤกษ์ครึ่งซีก หญิงอายุ 54 หลังฉีดมีผื่นแดงที่แขนสองข้าง ก่อนชาปลายเท้าสองข้าง ก่อนชาที่ปาก ลิ้นแข็ง สมองสั่งการช้า ก่อนแขนขาทั้งสองข้างอยู่ในภาวะอ่อนแรง ตาฝ้าคล้ายควันขาวบังทั้งสองข้าง หญิงอายุ 25 ปี หลังฉีดชาที่ต้นคอ ปวดแขนซ้าย พูดไม่ชัด ขาไม่มีแรงทั้งสองข้าง แล้วสุดท้ายรายที่ 6 หญิงวัย 27 ปี หลังฉีดแข้งขาชาครึ่งซีก และง่วงซึมลง ทั้งหมดเป็นวัคซีนซิโนแวคที่ฉีดไป เลขล็อตการผลิต J202103001M6DIK หมดอายุ 1 ก.ย. 64?

ดร.สาธิต : ข้อเท็จจริงเกิดขึ้นครับ และเป็นระบบเพื่อความปลอดภัยในการฉีดวัคซีน เมื่อมีผลกระทบข้างเคียงต้องมีการบันทึกข้อมูล เหมือนเคยเรียนไปก่อนหน้านี้ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังฉีดวัควีนต้องบันทึกหมด และกระบวนการต้องไปสู่กระบวนการสอบสวนและพิสูจน์ทราบว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นในอาการต่างๆ เหล่านั้นเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ฉะนั้นการติดตาม จะมีการสรุปและแถลงวันนี้บ่ายสามโมง เพียงแต่เพิ่มในส่วนของ 6 กรณีนี้เนื่องจากเป็นลักษณะโรคอัมพฤกษ์หรืออาจไม่ขนาดนั้น แต่อาจเป็นเป็นโรคหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน ได้ประสานกับนายกสมาคมประสาทวิทยา อาจารย์หมอทัศนีย์ว่าขอให้สมาคมประสาทวิทยาคุยกันเรื่องนี้ และทำความเห็น และเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการชุดนี้เพื่อมีข้อเสนอแนะอย่างไรหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การชี้แจงข้อสรุปว่าเหตุการณ์หรืออาการข้างเคียง 6 เคสนี้ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนซิโนแวคที่ระยอง เคสนี้เกิดขึ้นเพราะอะไรอย่างไร และมีมาตรการต่อไปอย่างไร

พอประเด็นแบบนี้เกิดขึ้น มันจะทำให้ประชาชนคนไทยไม่กล้าฉีดซิโนแวคหรือเปล่า?

ดร.สาธิต : แน่นอนที่สุดนะครับ พอมีข่าวแบบนี้ คนที่กังวลก็ต้องมีความไม่เชื่อมั่น เหมือนก่อนหน้านี้ที่เราได้ข่าวไม่ว่าจะเป็นของไฟเซอร์ก็ดี แอสตร้าเซนเนก้าก็ดี เราได้รับข่าวมาเกือบครบแล้ว จอห์นสันแอนด์จอห์นสันล่าสุด ก็มีผลกระทบเหมือนกัน ฉะนั้นสิ่งที่ผมคิดในมุมบวกคือเราได้รับข้อมูลผลกระทบในทุกตัว และรับข้อมูลว่าหลังได้รับผลกระทบ มีคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและแถลง เช่นที่ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ให้มีการยุติฉีดแอสตร้าเซนเนก้า  แล้วกมาฉีดต่อ ออสเตรเลียก็ฉีดต่อ แต่มีเดนมาร์กที่มีความสงสัยเรื่องแอสตร้าเซนเนก้าจึงยุติการฉีดถาวร แต่เขามีเหตุผลว่าเขามีทางเลือกเข้าถึงวัคซีนยี่ห้ออื่นแล้ว และแอสตร้าเซนเนก้าที่เขาซื้อมาเหลือประมาณแสนนึง เขายืนยันว่ายังมีความปลอดภัย เพียงแต่เขาตัดสินใจเดินหน้าฉีดวัคซีนยี่ห้ออื่น ทางเลือกอื่น

 

ในเมื่อเราถอดบทเรียนจากประเทศอื่นๆ เขาฉีดแล้วเกิดแบบนี้ เขาหยุดก่อนเลย ของเราจำเป็นต้องหยุดก่อนมั้ย หรือจะเดินหน้าฉีดต่อเลย?

ดร.สาธิต : วันนี้บ่ายสามจะมีข้อยุติ เดี๋ยวจะแถลงที่กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นข้อสรุปของคณะกรรมการ ถ้ามีข้อสรุปได้ว่าวัคซีนล็อตดังกล่าวมีปัญหาทำให้เกิดอาการรุนแรงแบบนี้ หรือเป็นสาเหตุที่แท้จริง คณะกรรมกการก็มีสิทธิบอกหยุดไว้ก่อน หรืออาจยังไม่มีข้อสรุปและมีมูลเพียงพอ ให้หยุดหรืออย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมชุดที่จะประกาศวันนี้

 

คำว่าล็อตการผลิต ล็อตนึงกี่โดส?

ดร.สาธิต : ล็อตนึงผมไม่แน่ใจ แต่ล็อตนี้ที่มาคือล็อต 8 แสนโดส ล็อตที่รับจากประเทศจีน แต่ตัวเลขซีเรียลนัมเบอร์ก็มีความชัดว่าอยู่ในกล่องที่เท่าไหร่ การเรียงกล่อง การบรรจุภัณฑ์ เช่นความต่างของแอสตร้าเซนเนก้า หลอดนึงบรรจุได้ 11 หรือ 5 มิลลิลิตร แต่ซิโนแวค หลอดนึงแค่หนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งจำนวนและขนาดผมไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่ แล้วแต่ที่เขาจะแพ็กมา

 

6 คนนี้มาจากกล่องเดียวกัน?

ดร.สาธิต : ใช่ครับ และมีซีเรียลนัมเบอร์ชัดเจนว่าฉีดให้ นาย ก. นาย ข. นี่เป็นเหตุผลที่เราต้องมีข้อมูลเป็นดาต้ารวมในแอพพลิเคชั่นหมอพร้อมว่าถ้ามีปัญหาต้องตรวจสอบกลับไปว่าซีเรียลนัมเบอร์นี้ผลิตไทย จีน เกาหลี หรือประเทศอินโดนีเซีย เพื่อตรวจสอบล็อตการผลิต เพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ ขณะนี้ผม และรองนายกฯ ก็สั่งการให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไปดำเนินการเอาตัวอย่างล็อตนี้มาว่ามีปัญหาหรือไม่ ซึ่งจะได้ผลในไม่ช้านี้

 

วันนี้ประเทศไทยมี 2 ยี่้ห้อที่ใช้อยู่ ซิโนแวคมีปัญหาแล้ว ก่อนหน้านี้แอสตร้าเซนเนก้าประเทศอื่นเขาหยุดใช้แล้ว เหมือนของเรายังใช้สองยี่้ห้อนี้ต่อไป ทำไมไม่คิดเอายี่ห้ออื่นเข้ามา?

ดร.สาธิต : ท่านนายกฯ แถลงเมื่อวาน ขณะนี้ วัคซีน 10 ยี่ห้อ ได้ผ่านอย.อนุมัติแล้ว ซึ่งบริษัทที่ผลิตวัคซีนที่ได้ผ่านอย.แล้ว จะนำมาขายในประเทศได้ แต่ต้องเป็นไปตามฎหมาย ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา แต่ขึ้นอยู่กับบริษัทผลิตผลิต เช่น ถ้าเขายอมขายให้เอกชน หรือบริษัทเอกชนไปขาย ก็เป็นเรื่องที่ดี รัฐบาลไม่ได้ปิดกั้นอะไร แต่ต้องถามเอเจนซี่เขา เช่นบริษัทไฟเซอร์ถ้าเขายอมมาขายให้ประเทศไทย ถ้าเขามีวัคซีนให้บริษัทเอกชนในประเทศไทยก็สามารถดำเนินการได้เลย

 

มีคำพูดบางคำที่ได้ยินในสื่อ เวลาถามวัคซีน มักบอกว่าแอสตร้าเซนเนก้าถูกที่สุด ซิโนแวคถูกที่สุดแล้ว แล้วประเทศเรายากจน ไม่สามารถซื้อวัคซีนแพงๆ ได้ เป็นอย่างนั้นจริงๆ เหรอ ในเมื่อประเทศไทยกู้มา 1 ล้านล้าน เงินเยอะแยะมากมาย แล้วเอาตรรกะตรงไหนมาบอกว่าเราไม่มีเงินไปซื้อวัคซีนดีๆ ผมไม่เข้าใจจริงๆ?

ดร.สาธิต : ตรรกะในการบริหาร วัคซีนไม่ใช่ขนมที่ตั้งอยู่แล้วเดินไปซื้อในเซเว่นได้ ไม่ใช่ยาดมที่บอกว่าอยากซื้อแล้วเอาเงินไปซื้อได้ วัคซีนเป็นเรื่องการค้นคว้าวิจัย ซึ่งมีทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ สองต้นทุนประเทศที่ไปซื้อก็มีความแตกต่างกัน การจัดการ หรือองค์ความรู้ของนักวิชาการที่ไปซื้อก็แตกต่างกัน ฉะนั้นเราพิจารณาง่ายๆ แบบนั้นไม่ได้ เหมือนหมอที่วินิจฉัย เหมือน 6 คนนี้ ต้นทุนร่างกายไม่เหมือนกัน เช่น บางท่านแพ้กุ้ง บางท่านเป็นมะเร็ง หรือบางท่านแพ้ยา บางท่านไม่เป็นอะไรเลย การพิจารณาต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ แต่วิธีจัดการขึ้นอยู่กับคนมีอำนาจตัดสินใจ คนเป็นเจ้าของเงิน ตอนนี้รัฐบาลไทยตัดสินใจโดยนายกฯ ว่าท่านตัดสินใจยังไง แต่ที่ผมเรียนว่าเดินไปซื้อไม่ได้ง่ายๆ เนื่องจากวันที่เขาผลิต วันที่เขาค้นคว้าวิจัย หรือกรณีเงื่อนไขในการไปซื้อ เงื่อนไขราคา เงื่อนไขมัดจำ เงื่อนไขผลิตแล้วไม่สำเร็จ เขาไม่คืนเงินให้ หรือวันนี้ไปซื้อไฟเซอร์ เราติดต่อจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เขาบอกได้เร็วที่สุดเดือนต.ค. ซึ่งเรามีวัคซีนตัวอื่นอยู่แล้ว ฉะนั้นการตั้งคำถามดี แต่ต้องเข้าใจว่าบริบทของการจัดการซื้อ มันเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว ดังนั้นปัจจัยต่างๆ ต้องพิจารณา ส่วนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องเคารพในแต่ละท่าน

 

ทางสาธารณสุข ในการสั่งวัคซีน จัดการเรื่องรักษาต่างๆ นานา เรื่องเตียง จริงๆ แล้วต้องมาจากสาธารณสุขโดยตรงหรือเปล่า หรือจะมีส่วนอื่นมาควบคุมอีกที?

ดร.สาธิต : ต้องแบ่งแบบนี้ วัคซีนรัฐบาลโดย ศบค. นายกฯ และ กทม. ตัดสินใจร่วมกัน เนื่องจากเป็นเรื่องการใช้เงิน ปฏิบัติตามกฎหมาย ช่วงแรกที่จะมีการทำสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้า มีปัญหาว่าจะเอาเงินงบประมาณไปจองซื้อได้อย่างไร เนื่องจากถ้าเขาผลิตไม่สำเร็จจะถูกยึดมัดจำ เงินไม่คืน ถ้าอย่างนั้นคนอนุมัติซื้อพูดง่ายๆ จะต้องติดคุก เราก็ไปหาวิธีว่าถ้าเอาเงินกองทุนต่างๆ ไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน สามารถทำได้มั้ย สุดท้ายต้องไปใช้กฎหมายและออกประกาศขึ้นมา ในมาตรา 18 พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อว่าให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข งดเว้นในสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ให้จัดการได้ เราถึงทำได้ ดังนั้นวิธีคิด กฎหมาย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต้นทุนหหรือข้อเท็จจริงบริษัทวัคซีนเอง หรือทรัพยากรที่เรามีอยู่เองเป็นข้อจำกัด แต่เราต้องทะลุข้อจำกัดปัญหาเพื่อนำวัคซีนมาให้คนไทยให้ได้ ซึ่ง ณ วันนั้นก็ได้สองยี่ห้อ

 

วันนี้คนไทยต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าจะได้ฉีดวัคซีนครึ่งประเทศ?

ดร.สาธิต : แผนเดือนหน้า เดือนมิ.ย. เริ่ม 6 ล้าน 7 มิ.ย. เริ่มฉีด ถ้ามาตามกำหนด ก.ค. 10 ล้าน 16 ล้านคนเป็นของพวกที่มีโรคประจำตัว โรคเสี่ยง ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 16 ล้านคน เร ไม่ต้องแบ่งไว้ล็อตสองเราฉีดหมดเลย หลังจากนั้นเดือนถัดไปอีก 10 ล้าน ไปจนถึงเดือนธ.ค.อีก 10 ล้าน นี่คือแผนการฉีดที่เตรียมความพร้อมไว้ ทั้งฉีดในรพ.และฉีดในสถานที่ที่จัดให้ นี่เป็นแผนการที่วางไว้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการภูมิคุ้มกันหมู่ที่ครบประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เราวางแผนไว้ประมาณเดือนธ.ค. ท่านนายกฯ ให้สัมภาษณ์เมื่อวานนี้ ก็เห็นว่าเพื่อสำรองให้การเข้าถึงวัคซีนเร็วขึ้น ก็จะไปจัดซื้่อยี่ห้อไฟเซอร์และสปุตนิก ซึ่งก็มาเติมได้ แต่ทั้งสองยี่ห้อเข้าใจว่ากว่าจะะได้ก็อีกหลายเดือน ส่วนชิโนฟาร์มเป็นบริษัทใกล้เคียงกับชิโนแวค คุณภาพใกล้เคียงกัน ฉะนั้นมันก็ไม่แตกต่างกันที่จะเอาซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มา

อังกฤษเขาบอกว่าคนอายุ 45 ขึ้นไป เดินไปฉีดได้เลย เขาตั้งจุดไว้ที่มิวเซียม หรืออาจเข้าไปสนามกีฬาแล้วฉีดเลย อาจไม่ต้องเข้าไปรพ. ใครจะไปฉีดก็ไปได้เลย?

ดร.สาธิต : อันนี้มันก็สวนทางกัน เมื่อเราพูดเรื่องวัคซีนมีเอฟเฟ็กต์ มีผลกระทบ ดังนั้นถ้าจะฉีดแบบนั้นใครจะรับประกันว่าถ้าฉีดแล้วเป็นอะไรไป ต้องฉีดแล้วติดตามอาการด้วย การฉีดที่ รพ.เพื่ออะไร ถ้ามีอาการต้องช่วยเขาให้รอดต้องกินยา ต้องแก้ไข ซึ่งมีวิธีการรักษาในการฉีดวัคซีนอยู่แล้ว ฉะนั้นนต้องฉีดวัคซีนตามความปลอดภั ถ้าเป็นแบบเมืองนอก อย่างระยอง วันนี้กำลังฉีดที่ห้างเซ็นทรัล คนประมาณพันคน แต่การไปฉีดเซ็นทรัลได้เป็นการวางแผน คุมโดยบุคลากรทางการแพทย์ มีเครื่องมือพร้อมด้วย ถ้าเป็นอะไรปั๊บ รถ รพ.ต้องเอาไปส่งตัวที่ รพ.ระยอง เพื่อเข้าสู่การรักษาให้ทันท่วงที

 

กรณีของเตียง ตอนนี้คนไม่ได้เตียงเยอะมา และต้องนอนรออยู่ ในทางกลับกัน มีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ว่าคนที่ติดโควิดต้องไปรพ.เท่านั้น ไม่งั้นผิดกฎหมาย แต่สุดท้ายเขาไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครมารับเขาไป?

ดร.สาธิต : ความจริงด่านแรก กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องดูแลผู้ติดเชื้อทุกคน ให้ได้รับการรักษา เพราะเราทราบดีว่า สมมุติว่าเราไม่เอาเขาไปแอดมิท มันอยู่ในการควบคุมยากมาก ยิ่งระลอกนี้อาการรุนแรงมีมากขึ้น ไม่เลือกอายุ ถ้าเขาไปรักษาที่บ้าน ตัวอย่างที่เราพบที่สหรัฐอเมริกา พอป่วยไม่หนักให้กลับไปที่บ้าน เราไม่มีใครทราบว่าเขาจะมีอาการขึ้นมาเมื่อไหร่ และเขาต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ฉะนั้นตรงนี้เราต้องรับผิดชอบ เราใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเราที่มี เพื่อรับผู้ป่วย แต่เราแก้ไข โดยมีฮอสพิเทล พอไม่มีอาการปั๊บเราถ่ายคนกลุ่มนี้เข้าไปอยู่ฮอสพิเทล เพื่อเอาคนป่วยเข้ามา

 

กรณีรถไม่ไปรับ?

ดร.สาธิต : วันนี้ความจริงก็คือว่ายังมีค้างอยู่ในระบบที่ยังไม่มีเตียง ผมเช็กเมื่อวานประมาณ 400 ในระบบ ที่นอกระบบคือไปตรวจพวกแล็บแล้วไม่มี รพ. อันนี้จำนวนนึง แต่เราทำงานระบบใหญ่ คุยกับทุก รพ. ให้แบ่งเตียงไป เอกชนตรวจคุณต้องรับไป ทั้งเครือข่ายคุณเองหรือนอกเครือข่าย ถ้าคุณเต็มไป รพ.รัฐเราพร้อม แต่ช่วงนี้ผู้ติดเชื้อมันเยอะ ผมมอบให้ที่ปรึกษาทุกคนรับรายเคสด้วย วันนี้รายเคสทำด้วย ระบบใหญ่ก็ทำด้วย แต่ขอเวลานิดหน่อยจะทำให้สามารถหาฮอสพิเทล เพื่อไหลคนไปทดแทนเตียงที่ว่างให้ได้ ภายในเวลา 2-3 วันนี้

 

จะย้ายคนป่วยในรพ.ไปอยู่โรงแรม คนป่วยที่อยู่บ้านจะย้ายมาอยู่รพ. จะหมุนเวียนแบบนี้ ตอนนี้ต่อสายหาสดๆ “น้องอัน” ยังพักอยู่ที่คอนโด อยู่มากี่วันแล้ว?

อัน : ตั้งแต่วันที่ 17 ค่ะ ตั้งแต่รู้ผลตรวจค่ะ

สาธิต : รู้ผลตรวจเมื่อไหร่ครับ

อัน : รู้ผลตรวจวันที่ 17 ตอนห้าโมง รพ.โทรมาบอกค่ะ

สาธิต : ก่อนอื่นต้องขอโทษน้องอันด้วย ที่ระบบของเรายังไม่สามารถนำน้องอันเข้าไปสู่การรักษาได้ เพียงแต่ว่าในส่วนน้องอันไปตรวจ รพ.เอกชน

อัน : ใช่ค่ะ รพ.เอกชน

 

น้องติดต่อประสานงานที่ไหน รพ.ที่น้องไปตรวจ เขาไม่ส่งรถมารับ หรือเขาบอกยังไง?

อัน : เขาบอกรพ. ผู้ป่วยเต็ม เขาเลยส่งให้หน่วยงานรัฐบาล

 

สาธิต : วันนี้จะให้เจ้าหน้าที่รับน้องอันเข้าสู่การรักษา เพราะเห็นว่ามีอาการไอ ซึ่งอาการนี้ น่าจะอยู่สีเหลืองหรือสีแดง ต้องได้รับการแอดมิทโดยเร็วที่สุด

 

ติดต่อไปทางภาครัฐแล้วเป็นยังไง?

อัน : เขาบอกจะหา รพ.ให้เร็วที่สุดค่ะ ติดต่อตั้งแต่วันที่ 17 ค่ะ และมีทาง รพ.โทรมา และถามอาการ แล้วบอกว่าจะหา รพ.ให้ค่ะ พอมาวันที่ 20 อาการหนูเริ่มทรุดแล้วค่ะ

สาธิต : อาการเป็นยังไงบ้างครับ

อัน : เหมือนหายใจเข้าไปแล้วเจ็บที่หน้าอก หายใจออกก็เจ็บที่หน้าอก พอพูดออกมาจะเริ่มเหนื่อย ไอออกมามีเสมหะปนกับเลือดค่ะ

สาธิต : ตอนนี้อยู่กับใครครับ

อัน : หนูอยู่คอนโดคนเดียวค่ะ

สาธิต : เดี๋ยวจะดำเนินการติดต่อให้แอดมิทรพ.โดยเร็วที่สุด เพราะมีอาการน่าจะเข้าข่ายสีเหลืองสีแดง ยังไงก็ขอโทษน้องอันด้วย แต่โดยหลักเราก็ประสานงานกับทุก รพ. เครือข่าย เพียงแต่เตียงมีปัญหาจริงๆ ผู้ติดเชื้อมีจำนวนมาก เราก็พยายามจัดสรรเตียงให้ได้ครบทุกคน เราพยายามทำให้เต็มที่ เดี๋ยวยังไงขอติดต่อน้องอันไปนะครับ

อัน : ขอบคุณนะคะ

จริงๆ นี่เป็นแค่เคสเดียว แต่จริงๆ มีแบบนี้เยอะมากๆ ที่ส่งและร้องมาในโหนกระแส และช่อง 3 หรือก่อนหน้านี้ครอบครัวนึง คนนึงติดโควิดรอรถไปรับ สุดท้ายไม่มีใครไปรับ สุดท้ายติดหมดเลย ทั้งครอบครัว แต่ล่าสุดได้แล้ว?

สาธิต : เราทำงานทั้งระบบใหญ่ด้วยและรายเคสด้วย ต้องยอมรับว่าตกค้างอยู่ในระบบ 300-400 เคส อาการแตกต่างกันออกไป แต่อย่างน้องอัน ต้องรีบ อย่างที่บอกมีความเสี่ยงถ้ายังอยู่ที่บ้าน เราไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวเขา ถ้าเขาโชคร้าย ฉะนั้นจำเป็นอยางยิ่งใเขาได้รับการรักษา ให้หมอได้ดู เอกซเรย์ปอดก่อน ถ้าไม่มีปัญหามาก ย้ายไปอยู่ฮอสพิเทลก็ได้ เพียงแต่ตอนนี้ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ยังชุลมุนอยู่ ก็ขอเวลา 2-3 วันเพื่อจัดการ เราทำอยู่ทุกวัน ทุกนาที ทุกเวลา

 

วัคซีนเป็นสิ่งที่คนไทยต้องการมากๆ เมื่อกี้ท่านบอกมิ.ย.น่าจะได้ 6 ล้าน หลังจากนั้นล่ะ?

ดร.สาธิต : ทุกเดือน เดือนละ 10 ล้าน ฉีดฟรี คนป่วยโควิดรักษาฟรีครับ

 

สมมติฉีดไปแล้ว 2 โดส มีภูมิ ภูมิมีวันหมดไปแน่ ครั้งต่อไปฉีดฟรีอีกมั้ย?

ดร.สาธิต : โดยหลักเป็นหน้าที่รัฐบาล ต้องฉีดให้ประชาชนคนไทยทุกคน เป็นเรื่องที่เป็นหน้าที่

 

สุดท้ายเรื่องวัคซีนมีเข้ามาแน่นอน?

ดร.สาธิต : วัคซีนทางเลือกด้วย แต่อาจจะมาช้า

 

เงินที่กู้มา ตอนนี้เหลือ 2 แสนกว่าล้าน ตอนนี้จะบริหารยังไง?

ดร.สาธิต : ส่วนใหญ่กู้มามันมี 2 ก้อน กู้ 1 ล้านล้านไปเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นเราเที่ยวด้วยกัน เราชนะ ไทยชนะ แจกจ่ายไปยังประชาชน ให้ อสม. ความพร้อมของทุก รพ.ที่ต้องมีห้องแยกความดันติดลบ เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด ไม่รวมเอสเอ็มอี ที่ต้องเข้าถึงเงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องด้วย ส่วนที่เหลือรัฐบาลก็ต้องดูความจำเป็นและความเหมาะสม โดยเฉพาะวัคซีน เราใช้เงินจองวัคซีนไปส่วนหนึ่ง และให้คนไทย ม.จุฬาฯ ได้ทดลองค้นคว้า ตอนนี้เดินหน้าไปถึงทดลองที่คนแล้วแต่อาจช้ากว่าการซื้อมา ทั้งหมดการตรวจสอบก็ขอให้สื่อมวลชนตรวจสอบด้วยว่าใช้แล้วเหมาะสมแค่ไหน ตรวจสอบไดอยู่แล้ว โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ยินดีให้ตรวจสอบ 100 เปอร์เซ็นต์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image