คำเตือนจากสดร. ถ่ายภาพสุริยุปราคาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อดวงตา?

ภาพโดยโอภาส ชาญมงคล - เหตุการณ์สุริยุปราคาที่เพชรบุรี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเผยเทคนิคการเก็บภาพสุริยุปราคาให้สวยงามน่าประทับใจย้ำชัด!!! ให้ระมัดระวังการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ต้องใช้แผ่นกรองแสงอาทิตย์ที่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อสายตาและอุปกรณ์

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาในวันที่9มีนาคมนี้นับเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในรอบปีในประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนตั้งแต่เวลาประมาณ06.20- 08.40น. ทางทิศตะวันออกนายศุภฤกษ์คฤหานนท์หัวหน้างานบริการวิชาการดาราศาสตร์สดร. ได้แนะนำการเก็บภาพดวงอาทิตย์ขณะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาในหลายรูปแบบดังนี้

ภาพลักษณะนี้ต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้ตั้งแต่ช่วงทางยาวโฟกัส300 mm. เป็นต้นไปเพื่อเก็บภาพดวงอาทิตย์ให้ได้ดวงโตๆและหาฉากหน้าเพื่อนำมาเปรียบเทียบขนาดกับดวงอาทิตย์สำหรับวันที่9มีนาคมนี้ช่วงที่ดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุดจะอยู่ที่เวลาประมาณ7.30น. อยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ15องศาหากบริเวณขอบฟ้ามีมวลอากาศหรือฟ้าหลัวค่อนข้างมากจะช่วยกรองแสงให้ดวงอาทิตย์มีความเข้มแสงลดลงจนอาจสามารถถ่ายภาพทั้งดวงอาทิตย์และรายละเอียดของฉากหน้าได้ในเฟรมเดียวกันอีกด้วยสำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายภาพแบบนี้คือแผ่นกรองแสงอาทิตย์ซึ่งก็มีให้เลือกใช้หลากหลายแบบเช่นแบบBlack polymer ซึ่งจะได้ภาพดวงอาทิตย์สีส้มหรือแบบMylar จะได้ภาพดวงอาทิตย์สีขาวหรืออาจใช้ND filter ที่มีขายทั่วไปตามร้านขายอุปกรณ์ถ่ายภาพซึ่งอาจต้องใช้เบอร์สูงๆที่มีความทึบแสงมากๆ

อีกรูปแบบหนึ่งของการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาคือการถ่ายภาพแบบมุมแคบการถ่ายภาพประเภทนี้จำเป็นต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่มีทางยาวโฟกัสสูงๆหรือถ่ายภาพผ่านกล้องโทรทรรศน์ทางยาวโฟกัสตั้งแต่1,000 mm. ขึ้นไปจำเป็นต้องใช้แผ่นกรองแสงอาทิตย์แบบBlack polymer เพื่อให้ได้รายละเอียดของจุดบนดวงอาทิตย์และรายละเอียดต่างๆขณะดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบัง

Advertisement

สำหรับการถ่ายภาพแบบซีรีย์เลนส์ที่นิยมนำมาใช้ควรเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสประมาณ50-70 mm. หรืออาจใช้เลนส์มุมกว้างเพราะจะสามารถเก็บภาพได้ตลอดทั้งปรากฏการณ์ในการถ่ายภาพควรวัดระยะเชิงมุมการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุดปรากฏการณ์ซึ่งในสุริยุปราคาครั้งนี้ใช้เวลานานกว่า2ชั่วโมงหรือประมาณ30องศาถ่ายภาพในแต่ละช่วงห่างกันประมาณ3-4นาทีหรืออาจถ่ายภาพทุกๆ1นาทีเพื่อนำมาเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ภายหลัง

ทั้งนี้ควรวางแผนตรวจสอบแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์จากโปรแกรมStellariumก่อนเพื่อใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพและก่อนเริ่มถ่ายภาพควรถ่ายภาพฉากหน้าไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้รวมกับภาพดวงอาทิตย์อีกหลายสิบภาพในภายหลังอีกครั้ง (เนื่องจากภาพของดวงอาทิตย์ขณะเกิดปรากฏการณ์เราต้องถ่ายผ่านแผ่นกรองแสงอาทิตย์ซึ่งจะเห็นเพียงดวงอาทิตย์เท่านั้น) และหลังจากได้ทั้งภาพดวงอาทิตย์ทั้งซีรีย์ที่นำมาต่อเรียงกันแล้วก็นำไปซ้อนทับกับภาพฉากหน้าอีกครั้งในPhotoshop ก็จะได้ภาพสุริยุปราคาแบบซีรีย์ที่สวยงาม

“สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาคือควรระมัดระวังขณะถ่ายภาพดวงอาทิตย์เพราะแสงของดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นยังคงมีความเข้มแสงสูงมากหากการถ่ายภาพไม่มีอุปกรณ์กรองแสงอย่างปลอดภัยก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาและอาจเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ถ่ายภาพของเราได้” นายศุภฤกษ์กล่าวปิดท้าย

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image