เปิดกฎหมาย พรบ.กีฬาอาชีพหากมีคนร้องทุกข์เชิ้ตดำนัด ‘บุรีรัมย์ VS ท่าเรือ’ เรื่องยาวแน่!

จากกรณีที่แฟนฟุตบอลไทยเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรม วิธีการทำหน้าที่ของนายนที ชูสุวรรณ ผู้ตัดสินที่ 1 และทีมงาน ประกอบด้วย ธเนศ ชูชื่น ผู้ช่วยผู้ตัดสินคนที่ 1 และอภิชิต โนพวน ผู้ช่วยผู้ตัดสินคนที่ 2 ในแมตช์เตะศึกฟุตบอล “ไทยลีก” นัดรองสุดท้ายของฤดูกาล ซึ่งมีหลายจังหวะที่แฟนบอลทั้งของเจ้าบ้าน บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และทีมเยือน การท่าเรือฯ สงสัยโดยเฉพาะประตูที่บุรีรัมย์ ตีเสมอ 1-1 ทั้งที่เป็นลูกล้ำหน้า และประตูตอกย้ำชัยชนะ 3-1 ที่บุรีรัมย์ ได้ฟรีคิกแบบโชคช่วยเพราะผู้ตัดสิน นที ชูสุวรรณ เป่าย้อนหลังมาให้ฟรีคิกแบบงงกันทั้งประเทศนั้น

มีผู้สันทัดกรณี ระบุว่า นอกเหนือจากสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะดำเนินการไต่สวนและพิจารณาลงโทษทีมงานผู้ตัดสินนัดดังกล่าวได้แล้วนั้น ปัจจุบันยังมี พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556 คุ้มครองบุคลากรวงการกีฬาอาชีพคุ้มครองอยู่ด้วย ดังนั้นหากมีบุคลากรวงการกีฬาเดินทางไปแจ้งความ และร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งนั่นคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาคดีภายใต้การคุ้มครองของพระราชบัญญัติกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556 ทันที แต่หากพนักงาน กกท.ไม่รับเรื่องร้องทุกข์ก็จะเข้าข่ายมีความผิดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วยเช่นกัน

สำหรับบทลงโทษทางอาญาที่ พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556 กำหนดไว้นั้น ซึ่งหมายรวมครอบคลุมไปถึงผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ด้วย มีดังต่อไปนี้

มาตรา ๖๔ ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่นักกีฬาอาชีพหรือผู้อื่น เพื่อจูงใจให้นักกีฬาอาชีพกระทำการล้มกีฬา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Advertisement

มาตรา ๖๕ ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อให้มีการกระทำการล้มกีฬา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๖ ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ตัดสินหรือผู้อื่นเพื่อจูงใจให้ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินไม่เป็นไปตามระเบียบหรือกติกาการแข่งขัน หรือทำหน้าที่ตัดสินอย่างไม่ถูกต้องเที่ยงธรรม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๗ ผู้ตัดสินใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อทำหน้าที่ตัดสินไม่เป็นไปตามระเบียบหรือกติกาการแข่งขันหรือทำหน้าที่ตัดสินอย่างไม่ถูกต้องเที่ยงธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Advertisement

มาตรา ๖๘ ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image