สำนักงานแข่งขันทางการค้า จับตาแอร์เอเชียซื้อหุ้นนกแอร์เข้าข่ายครอบงำกิจการหรือไม่

นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยถึงกรณีที่  บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ สายการบินไทยแอร์เอเซีย (AAV) จะเข้าซื้อหุ้นของบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มจุฬางกูร โดยได้ดำเนินการทำ Due Diligence เพื่อประเมินมูลค่าปัจจุบัน กรณีนี้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ได้เฝ้าระวังและจับตาดู อย่างใกล้ชิด และหากมีการดำเนินการซื้อหุ้นจริงอย่างที่เป็นข่าว จะถือว่าเป็นการรวมธุรกิจ ภายใต้กฎหมายการแข่งขัน ทางการค้า ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ การพิจารณา การเข้าซื้อสินทรัพย์หรือหุ้น เพื่อควบคุมนโยบายการบริหารธุรกิจ การอำนวยการ หรือการจัดการ ที่เป็นการรวมธุรกิจ พ.ศ. 2561 โดยมีแนวทางการพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 : ต้องขออนุญาตก่อนการรวมธุรกิจ หากการรวมธุรกิจที่จะเกิดขึ้น ระหว่างบริษัท เอเซีย เอวิชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัทสายการบินนกแอร์ จากัด (มหาชน) จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ทั้ง 2 บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดสายการบินต้นทุนต่า (Low – cost) ภายในประเทศเป็น 2 ลาดับแรก อีกทั้งยังเป็นการรวมธุรกิจแบบแนวนอน (Horizontal Merger) หรือการรวมธุรกิจ ในตลาดสินค้าหรือบริการเดียวกัน หากปรากฎว่าโครงสร้างตลาดหลังรวมธุรกิจทำให้ บริษัท เอเซีย เอวิชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าร้อยละ 50 และมียอดเงินขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะเข้าข่ายการรวมธุรกิจ ที่มีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งกรณีนี้ ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และต้องได้รับการอนุญาต ก่อนการรวมธุรกิจ จึงจะสามารถดำเนินการรวมธุรกิจต่อไปได้

นายสันติชัยกล่าวว่า กรณีที่ 2 : การรวมธุรกิจที่ต้องแจ้งผลการรวมธุรกิจหลังจากรวมธุรกิจแล้ว ภายใน 7 วัน
กรณีนี้ จะใช้ยอดเงินขายเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หากผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งที่มียอดเงินขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ดำเนินการรวมธุรกิจ ซึ่งการเข้าซื้อหุ้น ของบริษัท เอเซีย เอวิชั่น จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มจุฬางกูร ในสัดส่วนการซื้อหุ้นมากกว่าร้อยละ 25 ของจานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อควบคุมนโยบาย การบริหารธุรกิจ การอำนวยการ หรือ การจัดการ แต่ไม่เป็นการผูกขาดหรือมีอำนาจเหนือตลาด จะเข้าข่าย “การรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสาคัญ” กรณีนี้ สามารถแจ้งผลการรวมธุรกิจ ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าทราบ ภายใน 7 วัน หลังรวมธุรกิจเรียบร้อยแล้วได้

นายสันติชัยกล่าวว่า สำหรับบทลงโทษกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกอบด้วย 1.การรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดต้องได้รับ การอนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.5 ของมูลค่า ธุรกรรมในการรวมธุรกิจ 2.การรวมธุรกิจที่อาจส่งผลลดการแข่งขัน มีโทษปรับในอัตราไม่เกิน 2 แสนบาท และปรับรายวัน ในอัตราไม่เกิน 1 หมื่นบาท/วัน ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามกฎหมายอยู่

Advertisement

ทั้งนี้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้สั่งการให้สำนักงานฯ เฝ้าระวัง และจับตาดู กรณีการรวมธุรกิจ ของสายการบินดังกล่าวข้างต้นอย่างใกล้ชิด และหากตรวจพบพฤติกรรม ที่เข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันทางค้า จะดำเนินการลงโทษตามกฎหมายอย่างจริงจัง และ เคร่งครัด โดยทันที

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image