เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
bg-single

โฟกัสพระเครื่อง : พระบูชา-เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อหุ่น พุทธสโร วัดเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี

23.05.2021

[email protected] (เสรีภาพ อันมัย)

 

พระบูชา-เหรียญรุ่นแรก

หลวงพ่อหุ่น พุทธสโร

วัดเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี

 

“หลวงพ่อหุ่น พุทธสโร” หรือ “พระครูมงคลรัตน์” วัดเจ็ดเสมียน ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ชาวบ้านตำบลเจ็ดเสมียนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะละสังขารไปแล้ว หากชาวบ้านยังคงเคารพนับถือมาอย่างต่อเนื่อง

วัตถุมงคลที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหา

โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2512 ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงินและเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ แบบมีหูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อหุ่นครึ่งองค์หันหน้าตรง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า พระครูมงคลรัตน์ วัดเจ็ดเสมียนŽ

ด้านหลัง เป็นอักขระยันต์สาม อ่านได้ว่า มะ อะ อุ ใต้ยันต์มีเลข ๑ ซึ่งหมายถึงเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อ

นอกจากนี้ ยังมีพระบูชารุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2510 ลักษณะเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว สร้างด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคด มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า พระครูมงคลรัตน์ (หุ่น พุทธสโร)Ž

ด้านหลัง ไม่มีอักขระใดๆ ใต้ฐานเป็นดินไทย

จัดเป็นวัตถุมงคลดีของเมืองราชบุรี ที่ค่อนข้างจะหายาก ทำให้ได้รับความนิยมในพื้นที่มาโดยตลอด

เหรียญหลวงพ่อหุ่น รุ่นแรก

เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2442 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน ที่บ้านสมถะ หมู่ที่ 5 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

ชีวิตในวัยเยาว์เหมือนกับเด็กทั่วไป ตามแบบนิยมในสมัยนั้น ส่วนการศึกษาในปฐมวัย พ.ศ.2456 สำเร็จการศึกษาวิชาสามัญ เทียบประโยคประถมปีที่ 4 โรงเรียนวัดสมถะ ต.บางโตนด

จนเมื่อปี พ.ศ.2462 อายุครบบวช จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสมถะ ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี หลังบวชได้เพียง 1 ปี ต้องถูกเกณฑ์เข้าประจำการทหารในปี พ.ศ.2463

หลังปลดประจำการในปี พ.ศ.2465 มีจิตใจแน่วแน่ในการศึกษาพระธรรมคำสอน จึงได้ขออุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2465 ที่พัทธสีมาวัดสมถะ มีพระครูสาธิตสุตการ (หลวงพ่อคง) วัดท่าหลวงพล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เจ่อ วัดท่าหลวงพล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มาด วัดบางลาน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่าพุทธสโร

อยู่จำพรรษาที่วัดสมถะ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระอาจารย์ที่วัดสมถะ และคุณตาแดงเป็นเวลา 2 พรรษา ทั้งยังได้ศึกษาบาลีจนสามารถแปลธรรมบทมงคลทีปนีได้

 

พ.ศ.2467 หลวงพ่อหุ่นย้ายไปอยู่วัดบางโตนด เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคม เป็นเวลา 18 พรรษา

พ.ศ.2480 ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการคระสงฆ์เป็นพระอนุศาสนาจารย์ อบรมศีลธรรมสั่งสอนประชาชนตลอดมาเป็นพระธรรมกถึกที่สามารถรูปหนึ่งของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี ผลการแสดงธรรมของท่านยังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่ได้สดับตรับฟังท่านแสดง

พ.ศ.2483 หลวงพ่อหุ่น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรภายในวัด

พ.ศ.2484 จึงย้ายกลับมาอยู่วัดสมถะ เพื่อช่วยบริหารจัดการงานสงฆ์ของวัดสมถะ และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมตลอดมาจนถึงกาลมรณะ คือได้เป็นครูสอนตั้งแต่อยู่วัดบางโตนด วัดสมถะ และวัดเจ็ดเสมียน มีพระภิกษุ-สามเณรที่ได้รับการศึกษาเข้าสอบธรรมสนามหลวงได้ทุกปี

พ.ศ.2489 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจ็ดเสมียนว่างลง ชาวบ้านตำบลเจ็ดเสมียน โดยการนำของนายโกวิท วงศ์ยะรา กำนันตำบลเจ็ดเสมียนอาราธนานิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดเสมียน

พระบูชาหลวงพ่อหุ่น

ครั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดเสมียน ท่านได้พยายามจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ของวัดเจ็ดเสมียนเป็นที่เรียบร้อย และพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาอย่างสุดความสามารถ

พ.ศ.2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ.2501 เป็นพระครูประทวน

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูมงคลรัตน์

มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2517 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า การทำงานของหัวใจล้มเหลว สิริรวมอายุ 75 ปี พรรษา 52

 

กล่าวสำหรับวัดเจ็ดเสมียน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ประกาศตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2300 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อ พ.ศ.2519

มีศาสนสถานสำคัญคือ วิหารหลวงปู่หรือที่ประดิษฐานรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสวัดเจ็ดเสมียน เป็นศูนย์รวมจิตใจและเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเจ็ดเสมียนมาอย่างช้านาน

ซึ่งพระครูสัจจาภิรมย์ (หลวงปู่เมือบ) และพระครูมงคลรัตน์ (หลวงพ่อหุ่น) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ็ดเสมียนทั้ง 2 รูป สร้างคุณูปการให้ชุมชนวัดเจ็ดเสมียน ศาสนสถาน ถาวรวัตถุ ตลอดจนมีการพัฒนาทำนุบำรุงวัดเจ็ดเสมียนและพระพุทธศาสนาจนเป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนและชาวเจ็ดเสมียนมาจนถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้ชาวบ้านยังคงให้ความศรัทธา ให้ความเคารพนับถือมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงท้ายสงกรานต์ งานประเพณีของชุมชนวัดเจ็ดเสมียนจะมีการสรงน้ำและพิธีสักการะหลวงปู่เป็นประจำทุกปี

นับเป็นวิถีความเชื่อความศรัทธาของชาวเจ็ดเสมียนต่อหลวงปู่มาจนถึงทุกวันนี้



เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

จดหมาย
หมี่กระเฉด ซีฟู้ด
เดินตามดาว | ศรินทิรา
‘มิตซูบิชิ ไทรทัน’ MY2025 ปรับใหม่ดุดันขึ้น-เพิ่มออปชั่น
ข้อพิพาทไทย-กัมพูชา ลุกลาม ‘วงการกีฬา’ จับตาห้ามแข่ง ‘ซีเกมส์’
อสังหาฯ อย่าคาดหวังกำลังซื้อจีน
ยูเอส โอเพ่น ครั้งที่ 125 เมื่อ ‘โจทย์’ ยากเกินไป ก็ไม่สนุก
สะแกแสงและขางหัวหมู ไม้ยาหายาก
ดาวกับดวง วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2568
ขอแสดงความนับถือ
“อนุทิน” นิ่งสงบหลังถอนตัวจากรัฐบาล ย้ำ “ภูมิใจไทย” ไม่ตั้งรัฐบาลแข่ง เตรียมทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ ขอให้บ้านเมืองสงบ
“ชัยวุฒิ”เผย เพื่อไทยพยายามชวนร่วมรัฐบาล แต่ พปชร.ไม่ร่วม ฝากพรรคร่วมฯ ถ้ายังกอดคอกันอยู่ จะจมน้ำตายกันหมด แนะ ถอนตัวตั้งรัฐบาลใหม่