

หากใครฟังปาฐกถาว่าด้วย”อนาคตการเมืองไทย”ของ นายชัยธวัช ตุลาธน ในบรรยากาศแห่ง #ก้าวไกลBigBang จะสัมผัสได้ใน”เสน่ห์”เงียบลึกภายในเนื้อหา
เมื่อมีการหยิบยก”ช้าง”มาเป็นอุทาหรณ์ในเชิงเปรียบเทียบ แต่มิได้เป็น”ช้างในห้อง”แบบตะวันตก
ตรงกันข้าม กลับดำเนินไปในลักษณะ”ตาบอดคลำช้าง”
นี่ย่อมเป็นอุปมาอันต่างออกไปจากประสบการณ์และความ เคยชินในแบบฝรั่งเศสของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล หากแต่เป็น “นิทาน”อย่างที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี
เป็นนิทานอันดำรงอยู่ภายใน”อรรถกถา”อันเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะตีความในแบบเถรวาท ไม่ว่าจะตีความ ในแบบมหายาน
ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นการหยิบยกขึ้นมาเพื่ออธิบายสภาพการ ดำรงอยู่ของการเมืองไทยจากคนที่มีพื้นฐานมาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ใครที่เคยมองว่าพวกอนาคตใหม่ พวกก้าวไกล ไม่มีสายสัม พันธ์กับอดีต กับศาสนา น่าจะต้องคิดใหม่ซะแล้ว
อย่างน้อยก็ต้องคิดใหม่กับ นายชัยธวัช ตุลาธน คนนี้
ปาฐกถาของ นายชัยธวัช ตุลาธน ชี้ให้เห็นว่าการเมืองไทยในห้วงหลังสถานการณ์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เป็นการเมืองแห่งการประนอมอำนาจระหว่าง”ชนชั้นนำ”
นั่นก็คือ ชนชั้นนำของพรรครวมไทยสร้างชาติ ชนชั้นนำพรรค พลังประชารัฐ ชนชั้นนำพรรคภูมิใจไทย ชนชั้นนำพรรคเพื่อไทย
บทสรุปของ นายชัยธวัช ตุลาธน คือ
ประชาชนที่เคยสังกัดสีเสื้อคนละสีเริ่มเห็นแล้วว่า ปัญหาสังคมการเมืองไทยที่แต่ละฝ่ายให้ความสำคัญกันคนละมุม แท้จริงแล้วอาจมีรากฐานมาจากโครงสร้างสังคมแบบเดียวกัน
ต่างฝ่ายต่างรู้จักช้างคนละมุม แต่สุดท้ายปัญหาใหญ่ของสังคมไทยก็คือ ช้างในห้องตัวเดียวกัน
เพียงแต่คนหนึ่งคลำที่งวง เพียงแต่คนหนึ่งคลำที่ขาหน้าเพียงแต่คนหนึ่งคลำที่ขาหลัง
ต่อเมื่อนำมาประกอบจึงรู้ว่าเป็นช้าง เป็นช้างตัวเดียวกัน
จากบทสรุปของ นายชัยธวัช ตุลาธน จึงมิได้เป็นเรื่องที่จะแปลกเมื่อมองเข้าไปภายในองค์ประกอบของพรรคก้าวไกล
ไม่เพียงมี นส.รัชนก ศรีนอก หากมี นส.ธิษะณา ชุณหะวัณ
หากมีคนอย่าง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หากมีคนอย่าง นส.ศิริกัญญา ตันสกุล หากมีคนอย่าง นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ หากมีคนอย่าง นายพริษฐ์ วัชรสินธุ
พวกเขาเคยอยู่ในลักษณะ”ตาบอดคลำช้าง”มาแล้วและคิดว่าเป็นคนละตัว ทั้งๆที่แท้จริงแล้วคลำช้างตัวเดียวกัน
เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต



