เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
bg-single

จาก 5ส ถึง Mottainai กรณีศึกษา : การจัดตู้เย็นแบบญี่ปุ่น

21.05.2025

บทความพิเศษ | จักรกฤษณ์ สิริริน

 

จาก 5ส ถึง Mottainai กรณีศึกษา

: การจัดตู้เย็นแบบญี่ปุ่น

 

5 ส เป็นเครื่องมือที่นอกจากจะช่วยในการบริหารงานแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างสมดุลในเรื่องต่างๆ

ในช่วงที่ผ่านมามีองค์กรได้นำ 5ส ไปใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานทั่วไป

ซึ่งหลายคนอาจมองข้ามถึงการนำ 5ส มาปรับใช้ในเรื่องส่วนบุคคล เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จ ทั้งทางด้านกายภาพ และจิตใจ เสริมสร้างความมีวินัยในของตนเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5ส จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้การใช้ชีวิตมีคุณภาพ และความสุขยิ่งขึ้น

แนวคิด 5ส ประกอบด้วย

ส1 : “สะสาง” เพื่อลดความสูญเปล่า ส2 : “สะดวก” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส3 : “สะอาด” เพื่อตรวจสอบ และแก้ไข ส4 : “สร้างมาตรฐาน” เพื่อเพิ่มความถูกต้อง และ ส5 : “สร้างวินัย” เพื่อความต่อเนื่อง และยั่งยืน

ซึ่งเราสามารถนำแนวคิด 5ส ไปใช้การจัดระเบียบบ้าน จัดระเบียบห้องพัก หรือพื้นที่ต่างๆ ในคอนโดฯ ให้มีระเบียบ สวยงาม เช่น จัดโต๊ะทำงาน ห้องครัว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ตู้เย็น”

 

ส่วนคำว่า Mottainai (???????) ในภาษาญี่ปุ่น ศัพท์นี้มีความหมายว่า “น่าเสียดาย” แปลไทยเป็นไทยก็คือ การที่เราอยากโยนสิ่งของที่ยังสามารถใช้ได้ ทิ้งไปนั้น “มันช่างน่าเสียดายจริงๆ”

Keyword ในเรื่องนี้ก็คือ คนญี่ปุ่นมีจิตสำนึกเกี่ยวกับ Mottainai

เหตุผลมาจากความเชื่อในศาสนาชินโต ว่าทุกอย่างในธรรมชาติมีจิตวิญญาณ และมีเทพเจ้าสถิตอยู่ ดังนั้น จึงควรใช้ด้วยความเคารพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของสภาพภูมิประเทศ ที่ญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะเล็กๆ มีประชากรหนาแน่น แต่ทรัพยากรมีจำกัด

ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นเป็นชาติที่เคยผ่านสภาวะยากจนข้นแค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

และเมื่อก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูงสุดกู่ ของกินของใช้ราคาแพงหูฉี่ คนญี่ปุ่นโดยมากจึงเป็นคนประหยัด ไม่ทิ้งอาหาร หรือข้าวของซี้ซั้ว

คนญี่ปุ่นรุ่นเก่าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนยุค 80-90 ยังนิยมเก็บออมเงิน และเลือกที่จะใช้ชีวิต “ต่ำกว่ามาตรฐานที่ตัวเองสามารถจ่ายได้”

ซึ่งว่ากันว่า วิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ คนยุค 80-90 ยังไม่เดือดร้อนมาก ก็เพราะมีเงินออมที่เก็บไว้มากจากยุค 80-90 แต่คนญี่ปุ่นใหม่กำลังยากลำบากมากในยุคที่จีนกำลังจะครองโลกเศรษฐกิจ

ดังนั้น การหวนกลับมามองแนวคิด Mottainai จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมมากในปัจจุบัน

 

Mottainai มีที่มาจากความเคารพนับถือทรัพยากรรอบตัว และใช้สิ่งเหล่านั้นด้วยความเคารพ หากเทียบกับศัพท์ภาษาอังกฤษก็คงจะได้แก่ Reduce (ลด) Reuse (ใช้ซ้ำ) Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) Respect (ใช้ด้วยความเคารพ) รวมถึง Upcycle (สร้างสิ่งใหม่จากวัสดุที่ใช้งานแล้ว)

พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นมักสอนลูกๆ ไม่ให้ทิ้งขว้างสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดข้าว กระดาษ เสื้อผ้า ของเล่น เช่น

1. กินอาหารให้หมด หากใครเคยไปพักบ้านคนญี่ปุ่น หรือโรงแรมแบบ “เรียวกัง” จะทราบดีว่า คนญี่ปุ่นมักรับประทานอาหารหมดเกลี้ยง ถ้าเราเป็นแขก จะเป็นการไม่สุภาพมาก หากรับประทานไม่หมด โดยเราต้องรับประทานทุกอย่างที่ได้รับ โดยไม่เขี่ยอะไรที่ไม่ชอบทิ้ง เพราะถือเป็นการสิ้นเปลือง

2. ห้องน้ำ จะมีการติดตั้งอ่างล้างมืออยู่ด้านบนโถชักโครก เพื่อให้น้ำใช้แล้วจากอ่าง ไหลลงมาชำระล้างโถชักโครก

3. ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟัน ล้างหน้า และปิดน้ำทันทีเมื่อเลิกใช้

4. แยกขยะ เพื่อนำไป Recycle โดยคำนึงถึงค่าเก็บขยะชิ้นใหญ่ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเป็นการลดความฟุ่มเฟือย เพราะหากซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่บ่อยๆ คือการต้องจ่ายเงินทุกครั้งที่ทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้า

5. ขยะจะต้องแยกประเภททุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขวดน้ำพลาสติก หรือกล่องนม โดยคนญี่ปุ่นจะทำการตัดเป็นชิ้นๆ เพื่อส่งไป Recycle เสมอ

6. แม่บ้านญี่ปุ่นยุคเก่า มักจะนำชุดกิโมโนที่ไม่ใช้แล้ว มาแปรรูปเป็นของใช้ในบ้าน เช่น รองเท้าใส่เดินในบ้าน ที่ใส่ตะเกียบ กระเป๋าสตางค์ พัด เป็นต้น

7. ผ้าเช็ดตัวเก่า และผ้าเช็ดมือเก่า จะถูกตัดนำมาเย็บเป็นพรม หรือผ้าถูบ้าน

8. กระดาษห่อของขวัญ จะถูกแกะออกอย่างประณีต เพื่อสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ในโอกาสต่อไป

 

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะตัวเลขทางสถิติ บอกให้เรารู้ว่า เคยมีการสำรวจ ว่า 30-50% ของอาหารที่ถูกผลิตขึ้นในโลกใบนี้ กลายเป็นของเหลือทิ้ง

ในขณะที่ยังมีผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ในหลายประเทศ ขาดสารอาหาร และอดอยากยากจนอยู่ทั่วโลก

ทำให้นักวิชาการในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ลุกขึ้นมาทำการวิจัย เพื่อทดลองหาวิธีง่ายๆ ในการช่วยให้ชาวญี่ปุ่นจัดการกับ “ตู้เย็น” ที่รกไม่เป็นระเบียบ เพราะเชื่อว่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะจากอาหารได้

ทั้งนี้ การทิ้งขว้างอาหารในครัวเรือนกำลังเป็นปัญหาระดับโลก ในสัดส่วนของกราฟที่พุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ในสหราชอาณาจักรพบว่า ประมาณ 60% ของขยะอาหาร ล้วนมาจากบ้าน ขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 40-50%

เช่นเดียวกับสถิติในญี่ปุ่นที่อยู่ราว 47% จากอาหารที่ยังรับประทานได้ แต่ถูกทิ้งให้เป็นขยะน้ำหนักราว 5.2 ล้านตัน ซึ่งล้วนมาจากครัวเรือนทั่วประเทศ

ทำให้ในปัจจุบัน แทบทุกประเทศต่างตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามหาวิธีแก้ไข

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่น ที่กำลังเผชิญแรงกดดันมากขึ้นเพื่อหาทางออกสำหรับเรื่องนี้ เนื่องจากอาหารของญี่ปุ่น มาจากการนำเข้าถึง 2 ใน 3

ปัญหานี้กำลังส่งผลถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่กำลังขยายตัวมากขึ้น จากการทิ้งขว้างอาหารที่ยังรับประทานได้นั่นเอง

 

นักวิจัยญี่ปุ่นได้บอกเคล็ดลับการ “จัดระเบียบตู้เย็น” เพื่อลดปริมาณขยะอาหารดังนี้

1. สร้างชั้นวาง หรือแบ่งพื้นที่ สำหรับอาหารที่ใกล้หมดอายุ หรือใช้เทป/สติ๊กเกอร์ติดฉลากไว้

2. ทำให้อาหารเหล่านั้นมองเห็นได้ด้วยถาด หรือภาชนะโปร่งใส แทนที่จะดันมันไปด้านหลังของชั้นตู้เย็น

3. ตรวจสอบ BBE (Best Before Date) หรือ “วันที่ควรบริโภคก่อน” ซึ่งแตกต่างจาก EXP (Expiry Date) “ควรบริโภคภายในวันที่” เพราะมันหมายความว่า อาหารประเภทแรกยังคงกินได้ ไม่ต้องทิ้ง

4. ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง หากจะทิ้งอาหาร ด้วยการแปะสติ๊กเกอร์ “ขอโทษอาหาร” ที่ไม่ได้กิน

สติ๊กเกอร์ “ขอโทษอาหาร” ที่ไม่ได้กิน คือสติ๊กเกอร์ที่เป็นรูปคนสองคนจับมือกัน อยู่ใต้ข้อความที่บอกว่า “ฉันไม่ได้กินคุณ ฉันขอโทษจริงๆ”

โดยนักวิจัยได้รณรงค์ให้กลุ่มที่สนับสนุนมาตรการนี้ แจกสติ๊กเกอร์ให้กับผู้เข้าโครงการ เพื่อช่วยกันติดสติ๊กเกอร์เหล่านี้บนอาหารทุกชิ้นก่อนที่พวกเขาจะโยนทิ้ง

วัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อให้ทุกๆ คนในโครงการ ได้ใช้เวลาสักนิด เพื่ออ่าน และทำความเข้าใจข้อความบนสติ๊กเกอร์สักครู่หนึ่งก็ยังดี เพื่อให้ครุ่นคิดเกี่ยวกับการทิ้งอาหาร และอาจมีสักคนที่เปลี่ยนใจในที่สุด

สำหรับผู้เริ่มต้น ให้ใช้ “เทปสีแดง” และ “เทปสีขาว” ทำเป็นเครื่องหมายในตู้เย็น เพื่อสงวนไว้สำหรับอาหารที่หมดอายุเร็ว หรือเอาไปติดไว้บนผลิตภัณฑ์ที่ต้องกิน เพื่อช่วยดึงดูดความสนใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำถาดพลาสติก หรือภาชนะใส แบบเปิดด้านบน เพื่อทำให้เห็นอาหารที่ใกล้เน่าเสียได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เข้าถึงอาหารเหล่านี้ง่ายขึ้น



เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ดาวกับดวง โดย พิมพ์พรร วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2568
ชื่อ ‘สุวรรณภูมิ’ มีที่มาจากการเป็นแหล่งวัตถุ และเทคโนโลยีการผลิต ‘ทองสำริด’
“พล.อ.ประวิตร”ส่งสัญญาณแรง หลังมีคลิปหลุดผู้นำเขมรสั่งไล่ล่าคนเห็นต่างบนแผ่นดินไทย ลั่น ไทยต้องไม่ถูกมองว่าอ่อนแอ ถาม“แพทองธาร”กล้าที่จะยืนข้างประชาชนหรือไม่ ?
“เท้ง ณัฐพงษ์” เสนอใช้กลไกสภาแก้ปัญหาประชาชนอย่างเร่งด่วน ประธานนัดประชุม 3 ก.ค.ทันที – รัฐบาลถอนร่างเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
พิชัย รับลูก นายกฯ กำชับทีมพาณิชย์ ดูแล ปชช. ในพื้นที่ชายแดนใกล้ชิด ลดผลกระทบการค้า เร่งกระจายผัก-ผลไม้ ช่วยพี่น้องเกษตรกร
ดร.เอ้ เขียน”จดหมายเปิดผนึก” ถึง ว่าที่ “รมว.ศึกษาธิการ” และ ว่าที่ “รมว.อุดมศึกษาฯ ชี้20ปีใช้ รมต.ไปเกือบ20คน สะท้อนความไม่ใส่ใจ
เมื่อ AI รับตำแหน่ง CEO!
ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา จากแว่นของสหรัฐอเมริกาและจีน
เจาะโครงการ ‘น้ำ-คมนาคม’ ของบประมาณ 1.57 แสนล้าน เร่งปั๊ม ศก.-รักษาฐานเสียง รบ.
ชายแดนใต้ ‘เทศกาลอีดิ้ลอัฎฮา’ ระเบิด เชือดสัตว์พลีทาน และฟุตบอล
ลูกหลานเราจะเติบโตอย่างไร ถ้าเราดูแลครูของเราไม่ดี
MatiTalk ‘เสธ.หิ’ หิมาลัย ผิวพรรณ เปิดใจจุดพลิกผันในชีวิต จากทหารสู่เวทีการเมือง มองอนาคตพรรค ‘รทสช.’