เครือข่ายโบราณคดีสามัญชน ล่ารายชื่อประณามไล่รื้อป้อมมมหากาฬ นักปวศ.-อ.มหา’ลัย ลงนามอื้อ “สุจิตต์”ร่วมด้วย

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. เครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาประวัติศาสตร์-โบราณคดีของสามัญชน ออกแถลงการณ์เรื่องขอประณามกรุงเทพมหานครในการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานที่มิได้ให้ความสำคัญกับความคิดเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและชุมชนตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ในพันธกิจ โดยอ้างถึงอำนาจบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่มีการผ่อนปรน หรือปรับแปรให้สอดคล้องกับภาวะเป็นจริง จึงขอประณามการดำเนินการของกรุงเทพมหานครต่อชุมชนป้อมมหากาฬทั้งในทางที่แจ้งและที่ลับ ถึงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมได้แก่การใช้อำนาจ ข่มขู่ ใช้กฎหมายเพียงหน้าเดียว และความไร้วิสัยทัศน์ในด้านวัฒนธรรม ที่เห็นได้จากการพยายามไล่รื้อชุมชนชานพระนครแห่งสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์โดยปราศจากการตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ดังกล่าวนี้แสดงถึงศักยภาพอันอ่อนด้อยในการปฏิบัติงานบริหารและการเข้าถึงประชาชนของกรุงเทพมหานครที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด และเป็นการละเมิดต่อสิทธิในการครอบครองที่ดินตามประเพณี (customary land) ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับของหลายประเทศทั่วโลก

ทั้งนี้ มีผู้ร่วมลงชื่อแนบท้าย 101 ราย ประกอบด้วยนักประวัติศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก อาทิ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร , ผศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ผู้เขียนหนังสือ ‘วัดร้างในบางกอก’ , ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง, ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, นายกำพล จำปาพันธ์ นักประวัติศาสตร์ ผู้เรียบเรียงหนังสือ ‘นาคยุดครุฑ’ เป็นต้น

รายละเอียดในแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์เครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาประวัติศาสตร์-โบราณคดีของสามัญชน

Advertisement

เรื่อง ขอประณามกรุงเทพมหานครในการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ

จากความคืบหน้าที่ค่อนข้างน่าพอใจในการเจรจาร่วมกันระหว่างชุมชนป้อมมหากาฬกับกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2559 โดยมีการรับปากจากทางตัวแทนของกรุงเทพมหานครว่าจะไม่ไล่รื้อชุมชนทั้งหมดเพียงแต่รื้อเฉพาะบ้านหลังที่ผู้อยู่อาศัยได้รับการเยียวยาไปแล้วจำนวน 12หลัง และจะร่วมกันตั้งคณะภาคีร่วมขึ้นเพื่อจัดการพัฒนาชุมชนป้อมมหากาฬต่อไปนั้น อย่างไรก็ตามเพียงหนึ่งวันหลังจากนั้นคือในวันที่ 4 กันยายน 2559 เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้ละเมิดคำสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการรื้อบ้านไม้นอกเหนือจากที่ตกลงไว้เนื่องจากกล่าวอ้างว่ามีผู้รับเงินเพิ่มเติมจากเดิม

พฤติกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทางกรุงเทพมหานครมิได้มีความจริงใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชน อีกทั้งยังมักใช้การแสดงอำนาจ ก้าวร้าว ข่มขู่ด้วยความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อสะสางความรับผิดชอบซึ่งละเมิดสิทธิขั้นมูลฐาน  ตรงกันข้ามกับความอดทนต่ออำนาจกดทับและพยายามใช้หลักสันติเพื่อคลี่คลายปัญหาของชาวชุมชน

Advertisement

ชุมชนป้อมมหากาฬ เป็น “ชุมชนชานพระนคร” แห่งสุดท้าย ซึ่งอยู่อาศัยสืบกันมาตามความทรงจำไม่น้อยกว่า 100 ปี และมากกว่านั้นหากอ้างอิงกับหลักฐานทางโบราณคดีว่าเป็นชุมชนชานพระนครที่มีการตั้งถิ่นฐานกันตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

“ชานพระนคร” นี้หมายถึงที่ว่างระหว่างกำแพงเมืองและคูเมืองซึ่งเป็นเขตกันชนระหว่างภายในและภายนอกราชธานี จึงมีบ้านเรือนของทั้งขุนนางและสามัญชนตั้งอยู่ปะปนกัน และขับเคลื่อนความเป็นเมืองผ่านอายุสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์มาโดยตลอด แม้ปัจจุบันพื้นที่ภายในชุมชนจะแปรสภาพเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนทั่วไป แต่ก็ยังนับว่ามีกลิ่นอายของย่านเก่าที่ยังคงมีชีวิตเพราะเป็นที่พักอาศัยของชาวเมือง มีกิจกรรมและสภาพกายภาพที่สมบูรณ์ เช่น บ้านไม้โบราณ ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นปอดของกรุงเทพฯ  ตัวป้อมปราการและกำแพงเมือง-คลองคูเมือง คุณค่าของชุมชนป้อมมหากาฬจึงมิได้มีอยู่เพียงบ้านไม้โบราณหรือประวัติศาสตร์ แต่เป็นแหล่งชุมชนเก่าที่มีชีวิตชีวาแวดล้อมด้วยหลักฐานทางโบราณคดีและธรรมชาติ ซึ่งหาไม่ได้อีกแล้วในเขตเมืองหลวง

ที่ผ่านมาเป็นเวลานับ 20 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีแผนแม่บทจัดการเกาะรัตนโกสินทร์ ชุมชนป้อมมหากาฬได้พยายามเจรจาหาทางออกทั้งในแง่หลักนิติธรรม วัฒนธรรม เพื่อจัดการให้ชุมชน ได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต จัดเวรยามดูแลรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา ซึ่งตอบโจทย์การเป็น “แหล่งท่องเที่ยว” ที่ทางราชการปรารถนาให้เกิดขึ้นภายในเกาะรัตนโกสินทร์ ทว่าทางกรุงเทพมหานครกลับมองเห็นว่าชุมชนเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยซึ่งอาจไล่รื้อได้โดยง่าย อีกทั้งมองการจัดการให้พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นแหล่งที่ไร้ชีวิต คือปลอดจากคนอยู่อาศัยในลักษณะ “ชุมชนเทียมแท้” จึงได้มีการใช้ทั้งตัวบทกฎหมายและกลวิธีที่หน่วยงานราชการไม่พึงกระทำ เข้ามาบีบคั้นให้ชุมชนต้องยอมรับการไล่รื้อดังกล่าว จนในที่สุดทางชุมชนได้ทำข้อตกลงให้กรุงเทพมหานครเข้ารื้อบ้านเฉพาะบางหลังดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น แต่ก็ยังมีท่าทีคุกคามชุมชนโดยไม่สนใจกับข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเมื่อมีการเจรจาข้อตกลงในวันที่ 3 กันยายน 2559 นั้น ทางกรุงเทพมหานครไม่ยอมทำให้ข้อเจรจาเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักฐานขึ้นมา

ทั้งหมดนี้สะท้อนว่ากรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานที่มิได้ให้ความสำคัญกับความคิดเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและชุมชนตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ในพันธกิจ โดยอ้างถึงอำนาจบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่มีการผ่อนปรน หรือปรับแปรให้สอดคล้องกับภาวะเป็นจริง ซึ่งต้องยอมรับว่ากฎหมายซึ่งเป็นเรื่องการตรากฎเกณฑ์ทางสังคมไม่อาจนำมาใช้การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุมชนป้อมมหากาฬได้เคารพต่อกฎหมายและพยายามใฝ่หาทางออกร่วมกันอย่างกลมกลืนมาโดยตลอดเพื่อพัฒนาพื้นที่นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกรุงเทพฯที่สืบมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างพระนคร ที่ยัง “มีชีวิต” อยู่

ทาง เครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาประวัติศาสตร์-โบราณคดีของสามัญชน จึงขอประณามการดำเนินการของกรุงเทพมหานครต่อชุมชนป้อมมหากาฬทั้งในทางที่แจ้งและที่ลับ ถึงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมได้แก่การใช้อำนาจ ข่มขู่  ใช้กฎหมายเพียงหน้าเดียว และความไร้วิสัยทัศน์ในด้านวัฒนธรรม ที่เห็นได้จากการพยายามไล่รื้อชุมชนชานพระนครแห่งสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์โดยปราศจากการตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ดังกล่าวนี้แสดงถึงศักยภาพอันอ่อนด้อยในการปฏิบัติงานบริหารและการเข้าถึงประชาชนของกรุงเทพมหานครที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด และเป็นการละเมิดต่อสิทธิในการครอบครองที่ดินตามประเพณี (customary land) ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับของหลายประเทศทั่วโลก

รายนามผู้ลงชื่อ (จำนวน 101  คน)

  1. นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ศิษย์เก่าคณะโบรารคดี ม.ศิลปากร
  2. ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3. ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  4. ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. อ.สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  7. อ.ธีระวัฒน์ แสนคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
  8. อ.ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  9. อ.รุจาดล นันทชารักษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  10. อ.ดร.ธีระนันท์ วิชัยดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  11. อ.ปติสร เพ็ญสุต คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
  12. อ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหิดล
  13. อ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  14. ว่าที่ ร.อ.ดร.อัครินทร์ พงษ์พันธ์เดชา นักวิชาการอิสระ
  15. นายกมลาศ เพ็งชะอุ่ม จบสาขาโบราณคดี จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันทำงานที่ กรมศิลปากร
  16. นายกำพล จำปาพันธ์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  17. นฤมล กองแก้ว คณะศิลปศาสตร์ (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  18. สสิทรา ณ ป้อมเพ็ชร์ ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  19. ชิดชนก ถิ่นทิพย์ ศิษย์เก่าภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  20. นายนวพล ลินติดต่อ  อดีตนักศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  21. นางสาวอภิษฐา ดวงมณี นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  22. นางสาวพันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
  23. อนรรฆ พิทักษ์ธานินทร์ บัณฑิตคณะโบราณคดี สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  24. นางสาวพรทิวา ปักษาไพร นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  25. นายชนากร ปรีชา ศิษย์เก่าภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  26. นายเฉลิมพล โตสารเดช วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  27. พิชยพรรณ ช่วงประยูร นักศึกษาปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  28. ธรรมาภรณ์ ไพรีพินาศ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  29. นายธนพล บึงอำพันธ์ นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  30. อรวรรณ จิตรรัมย์ คณะโบราณคดี สาขาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  31. ฆนัท นาคถนอมทรัพย์ นักทำสารคดีบริษัท 3000 BC
  32. ปฐมนต์ สารสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  33. ธนัยนันท์ ราชกิตวาณิชย์ al jamea tus sia fiyah surat india สาขา อิสลามศึกษา ทำงานอิสระ
  34. สมศักดิ์ อมรพงศ์ชัย
  35. จิณห์วรา ช่วยโชติ มานุษยวิทยา
  36. อภิยุทธ สุตัญตั้งใจ สาขารัฐประศาสนศาตร์ คณะวิทยาการจัดการ ศิลปากร ปัจจุบันข้าราชการพลเรือน
  37. น.ส.อาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  38. น.ส.ศศิฉาย ตั้งเกษมสัน จบคณะโบราณคดี สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  39. นายศิวกร โรจน์ขจรนภาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  40. นำชัย พยัฆชาญศิลป์ ครุศาสตร์ สังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  41. ณัฐฐินันท์ สระทองจันทร์ น.ศ. คณะศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยว เทคนิคกรุงเทพ
  42. น.ส.ปัญญาภรณ์ พราหมณ์โต จบโบราณคดี สมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  43. น.ส. เจนจิรา เบญจพงศ์ นักวิชาาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
  44. ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี จบ สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  45. สุทธิสาร์ ถีติปริวัตร์ จบสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  46. สวิตรา ดวงประทีป นักข่าวหนังสือพิมพ์
  47. ขวัญชัย สินปรุ สาขาศิลปไทย คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  48. ณรงค์ แสงเพชร คณะศิลปกรรม ออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  49. โรจนะ ธรรมเนียม อาชีพอิสระ
  50. บัณฑิต หอมเกษ สมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน
  51. นาย ภควัต พรหมทัต, วิศวกร
  52. นายจิรวัฒน์ ตั้งจิตรเจริญ นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  53. ปลาสร้อย กล่ำกล่อมจิตร สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  54. นายพงษ์ภัค พิทยชินโชติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  55. นายนคร เชียงของ นายช่างโยธา องค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน สถาปนิกอิสระ
  56. นายภาณุฤทธิ์ สารสมบัติ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  57. นางสาว วิราวรรณ นฤปิติ ประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักวิชาการอิสระ
  58. สมศักดิ์ โอภาสโศภณ
  59. นาย วารุต ขำเจริญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  60. สาริศ วัฒนากาล โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  61. ณัฐพล ศรีใจ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  62. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  63. ปรีชา ศรีตุลยโชติ ชุมชนศุภมิตร2(นางเลิ้ง)
  64. นายวงศ์ศรุต วนบุญญานนท์ นักศึกษาเอกประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  65. ศิวพงศ์ สีเสียดงาม นักวิชาการอิสระ
  66. วันวิสาข์ ธรรมานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  67. นายวรวุฒิ ศักดิ์สุริยผดุง นิสิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  68. ชลเทพ ปั้นบุญชูครับ ศิษย์เก่า คณะโบราณคดี สาขา มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  69. ภัคธร ชาญฤทธิเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏกาญจนบุรี
  70. พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ นักโบราณคดีอิสระ
  71. นัทกฤษ ยอดราช ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  72. ภูมินทร์ จังอินทร์ นักศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  73. ชาติตระการ นิลหัติ ศิษย์เก่าคณะโบราณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  74. ประเทือง นรินทรางกูล ณ อยุธยา ศิษย์เก่าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  75. อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล ศิษย์เก่าประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  76. ประยุทธ สายต่อเนื่อง ศศ.บ ประวัติศาสตร์ ศศ.ม ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  77. ศตรัญชน์ อมรวงศ์ คณะโบราณคดี เอก มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  78. นราธิป ทองถนอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พนักงานบริษัท
  79. แพรว วงค์สอาด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พนักงานบริษัท
  80. ภูดิศ วรรณพรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นักร้องอิสระ
  81. มาริษา อังกุลดี บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  82. ปุณณดา แจ้งพลอย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครู สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  83. ณัฐสุมล สวยงาม บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  84. สรัล เสริฐบุตร บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  85. อภิวัฒน์ สุขวัฒนวดี บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  86. นรสิงห์ พรหมวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครู สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  87. ณัฐปภัสร์ เก่งรักษา บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  88. วสุ เสมาเพชร บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฝ่ายบุคคล
  89. นายกรกต สวาทภักดิ์ บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  90. สุลักษณ์ ศรีอรุณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พนักงานเอกชน ตำแหน่งนักวิชาการ
  91. บานชื่น ผกามาศ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียและบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  92. ณัชพร ม่วงเกลี้ยง บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  93. ธนิศา ปากสมุทร บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  94. ชญานิษฐ์ สุดาเทพ บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  95. ประทีป ฉายลี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  96. ดร.สายป่าน ปุริวรรณชนะ นักวิชาการอิสระ
  97. นางสาว สีวลี หลักเมือง บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ ม.มหาสารคาม
  98. ประภัสสร เลิศเสถียร จบสาขาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำงาน media online agency
  99. น.ส. นิสา อาลี บัณฑิตคณะโบราณคดี สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ
    มหาวิทยาลัยศิลปากร
  100. ชนานุช คำสุข ดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล อาชีพแม่บ้าน
  101. สรรเสริญ บุญเกษม นักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image