รายงานหน้า2 : เปิดญัตติ-ผลโหวต2รอบ ก่อนซักฟอก‘บิ๊กตู่-รมต.’หน3

หมายเหตุญัตติและผลการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 ครั้งที่ผ่านมา และการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งที่ 3 ที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะอภิปรายระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึงวันที่ 3 กันยายน โดยจะมีการลงมติในวันที่ 4 กันยายน

00 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.พล.อ.ประยุทธ์ ครั้งที่ 1
การอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ.2563 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เป็นรายบุคคลอีก 5 คน รวม 6 คน โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 5 พรรค
ได้ยื่นญัตติ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2563 และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ 4 วัน คือวันที่ 24, 25, 26 และ 27 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนี้

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ข้อกล่าวหา
ไม่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มล้างรัฐธรรมนูญ
บริหารราชการแผ่นดินโดยขาดความรู้ความสามารถ
ไม่รักษาวินัยการเงินการคลัง
ล้มเหลวในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
ข้อกล่าวหา
กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ ร่ำรวยผิดปกติ

Advertisement

3.นายวิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ข้อกล่าวหา
ใช้ตำแหน่งก้าวก่ายและแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
ตีความกฎหมายเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง

4.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข้อกล่าวหา
ร่วมมือกับบริวาร และพวกพ้องกลั่นแกล้งข้าราชการประจำ
ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในกระทรวง

5.นายดอน ปรมัตถ์วินัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อกล่าวหา
ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ
เอื้อประโยชน์แก่บริษัทข้ามชาติ

Advertisement

6.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้อกล่าวหา
ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล
ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

00 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.พล.อ.ประยุทธ์ ครั้งที่ 2
การอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ.2564 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีก 9 คน รวม 10 คน โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 5 พรรค
ได้ยื่นญัตติเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564 และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ 4 วัน คือวันที่ 16, 17, 18, 19 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564
โดยมีผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนี้

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ข้อกล่าวหา
บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง
มีพฤติการณ์ฉ้อฉล ทุจริต ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตเพื่อสร้างความร่ำรวย มั่งคั่งให้กับตนเอง และพวกพ้อง
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง
ล้มเหลวในการบริหารสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ไม่มีความรอบคอบ ระมัดระวังในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ไม่รักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
สร้างความแตกแยกในสังคม ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ และทำลายผู้เห็นต่าง
ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และสื่อมวลชน
ไม่ยึดมั่นและศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำลายและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม การบริหารราชการแผ่นดิน

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
ข้อกล่าวหา
ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล
ใช้งบประมาณของรัฐเพื่อสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งให้กับตนเอง
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

3.นายอนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข้อกล่าวหา
บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง
ล้มเหลวในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย จนส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำอีกครั้งเป็นรอบที่สอง
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง

4.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ข้อกล่าวหา
บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง
แต่งตั้งบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ เข้ามาเพียงเพื่อแสวงหาประโยชน์
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง

5.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข้อกล่าวหา
ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเอง และพวกพ้อง
ปล่อยปละละเลยให้องค์กรในกำกับมีการทุจริตอย่างกว้างขวาง

6.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อกล่าวหา
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง
ใช้อำนาจแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการประจำ
ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตอย่างกว้างขวาง

7.นายสุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ข้อกล่าวหา
บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง
ปล่อยปละละเลยให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้ใช้แรงงาน
ไม่กำกับควบคุมผู้ใช้แรงงานต่างด้าวให้เป็นระบบ
ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเอง และพวกพ้อง

8.นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ข้อกล่าวหา
บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง
เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนผูกขาดในการดำเนินกิจการของรัฐ
ปล่อยปละละเลยให้องค์กรในกำกับมีการทุจริตอย่างกว้างขวาง
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง

9.นายนิพนธ์ บุญญามณี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข้อกล่าวหา
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง
ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเอง และพวกพ้อง

10.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้อกล่าวหา
บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ผิดพลาดบกพร่องร้ายแรง
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดเผย ปกปิดการกระทำความผิดของตนเอง และพวกพ้อง
ใช้งบประมาณของรัฐเพื่อสร้างความร่ำรวยมั่งคั่งให้กับตนเอง และพวกพ้อง
ไม่มีความรอบคอบ ระมัดระวังในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ไม่รักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ปกปิดข้อมูลความจริงในการยื่น หรือการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล
เสนอให้มีการแต่งตั้งคู่สมรสที่อยู่กินฉันสามีภรรยาเป็นข้าราชการการเมือง โดยไม่คำนึงถึงวุฒิภาวะและความเหมาะสม

00 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.พล.อ.ประยุทธ์ ครั้งที่ 3
การอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ.2564 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เป็นรายบุคคลอีก 5 คน รวม 6 คน โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 5 พรรค
ได้ยื่นญัตติ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ 4 วัน คือวันที่ 31 สิงหาคม จนถึงวันที่ 3 กันยายน และลงมติวันที่ 4 กันยายน 2564
โดยมีผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนี้

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ข้อกล่าวหา
ไร้ความสามารถที่จะเป็นผู้นำประเทศทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤตที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทุจริตต่อหน้าที่ ทั้งเรื่องจัดหาวัคซีนไม่โปร่งใส กระจายวัคซีนโดยเลือกปฏิบัติ ค้าความตายประชาชน
เพิกเฉยละเลยจนทำให้ประชาชนเสียโอกาสที่ไม่เข้าโครงการโคแวกซ์ มีพฤติการณ์ของอาการโอหังคลั่งอำนาจ
กู้เงินมาก แต่ใช้จ่ายอย่างไร้ทิศทาง จัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่อเนื่องทั้งที่ไม่มีสถานการณ์สู้รบ
ทำเศรษฐกิจดิ่งเหว กลายเป็นประเทศที่ไม่ปลอดภัยในสายตาชาวโลก

2.นายอนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข้อกล่าวหา
มีพฤติกรรมคุยโม้โอ้อวด ทุจริตต่อหน้าที่ บริหารงานกระทรวงสาธารณสุขล้มเหลวอย่างร้ายแรง
แสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการวัคซีน และกระจายวัคซีนโดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพของวัคซีน

3.นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ข้อกล่าวหา
ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
มุ่งแต่แสวงหาและกอบโกยผลประโยชน์จากโครงการขนาดใหญ่ของหน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแล
รู้เห็นและปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในการประมูลโครงการขนาดใหญ่
ประพฤติตัวเสเพลไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมโรคเข้าไปในแหล่งอบายมุขจนเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน

4.นายสุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ข้อกล่าวหา
ส่อว่าจงใจและมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ปล่อยให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
แสวงหาประโยชน์จากแรงงานผิดกฎหมาย จนเป็นต้นเหตุการแพร่ระบาดของโควิด-19
ไม่มีมาตรการรองรับจนทำให้ผู้ใช้แรงงานตกงาน นักศึกษาจบใหม่ว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์

5.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้อกล่าวหา
บริหารงานด้านการเกษตรล้มเหลวทั้งระบบ
เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในการเรียกรับผลประโยชน์จากโครงการของหน่วยที่อยู่ในกำกับดูแล
จงใจเบียดบังเอาทรัพยากรของชาติไปให้พวกพ้อง
ปล่อยปละละเลยให้เกิดการแพร่ระบาดโรคในสัตว์

6.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ข้อกล่าวหา
ใช้ตำแหน่งหน้าที่และสื่อของรัฐเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง
สร้างความแตกแยก มุ่งประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าประเทศชาติ และประชาชน

ทั้งนี้ เมื่อเช็กเสียงโหวต ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนี้ 480 เสียง เสียงโหวตที่จะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจ ต้องเกินกึ่งหนึ่ง คือ 240 เสียง
โดยเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลมี 19 พรรค 275 เสียง ประกอบด้วย 1.พลังประชารัฐ 122 เสียง 2.ภูมิใจไทย 61 เสียง 3.ประชาธิปัตย์ 50 เสียง 4.ชาติไทยพัฒนา 12 เสียง 5.รวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง 6.พลังท้องถิ่นไท 5 เสียง 7.ชาติพัฒนา 4 เสียง 8.เศรษฐกิจใหม่ 5 เสียง 9.รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง
10.พลังชาติไทย 1 เสียง 11.ประชาภิวัฒน์ 1 เสียง 12.พลังไทยรักไทย 1 เสียง 13.ครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียง 14.ประชานิยม 1 เสียง 15.พลเมืองไทย 1 เสียง 16.ประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง 17.พลังธรรมใหม่ 1 เสียง 18.ประชาธรรมไทย 1 เสียง 19.ไทรักธรรม 1 เสียง
พรรคฝ่ายค้าน 6 พรรค กับอีก 2 เสียง รวม 212 เสียง ประกอบด้วย 1.พรรคเพื่อไทย 134 เสียง 2.ก้าวไกล 54 เสียง 3.เสรีรวมไทย 10 เสียง 4.ประชาชาติ 7 เสียง 5.เพื่อชาติ 5 เสียง 6.พลังปวงชนไทย 1 เสียง ผนวกกับฝ่ายค้านอิสระ ไทยศิวิไลย์ 1 เสียง ของ มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ และ 1 เสียงของ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พรรคเศรษฐกิจใหม่
แต่เมื่อหัก 5 ส.ส.อดีต กปปส. ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ และศาลฎีกาสั่ง 2 ส.ส.พรรค พปชร.ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลเหลือเสียง 268 เสียง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image