ประภัตร ไฟเขียว มกอช. จัดทำ 4 ร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร ตาม ASEAN GAP 

ประภัตร ไฟเขียว มกอช. จัดทำ 4 ร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร สอดคล้องมาตรฐาน ASEAN GAP เน้นคุณภาพ-ปลอดภัย

เมื่อวันที่ 22 กันยายน นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4 / 2564 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) จัดทำมาตรฐานเพิ่มเติมตามที่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเสนอ 2 เรื่อง ได้แก่ การปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่รุ่น , การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุทุเรียน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการเพื่อจัดทำร่างมาตรฐานขึ้นทั้งสองคณะ

นายประภัตร กล่าวว่า ที่ประชุมได้ ให้ความเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร 4 เรื่อง 1. เกษตรอินทรีย์ ซึ่งหมายถึง การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ตามที่ได้รวบรวมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ.9000 เล่ม1-6 ไว้เป็นมาตรฐานฉบับเดียว จากที่เคยประกาศแยกเป็นรายกลุ่มสินค้า ได้แก่ พืชอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ ปลาสลิดอินทรีย์ อาหารสัตว์น้ำอินทรีย์ การเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ปศุสัตว์อินทรีย์ ผึ้งอินทรีย์ พร้อมขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมอาหารสัตว์ ในส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์และแมลงที่บริโภคได้ โดยให้เพิ่มความชัดเจนในบางข้อกำหนดและวัตถุประสงค์ให้เป็นไปตามมาตรฐานอาเซียนโดยเฉพาะเรื่องของการผลิตพืช

นายประภัตร กล่าวว่า 2.สตอรว์เบอร์รี่ จัดทำมาตรฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการผลิต คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อความเป็นธรรมทางการค้าโดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัย การจัดเตรียมและบรรจุหีบพอ ที่จะใช้กับพันธุ์ ที่ผลิตเป็นการค้าเพื่อจำหน่ายในรูปผลิตผลสดแก่ผู้บริโภค แต่ไม่รวมกรณีที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรม ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน80 พันธุ์พระราชทาน88 พันธุ์ 329 พันธุ์อากิฮิเมะ (Akihime) พันธุ์แมฮยัง (Maehyang) และพันธุ์ลองเสตม (Long-stem)

Advertisement

นายประภัตร กล่าวว่า 3. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร 4. แนวทางปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหารซึ่งทั้ง 2 ร่างมาตรฐานนี้ครอบคลุมข้อกำหนด การปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ การผลิตพืช เพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น พืชผัก ผลไม้ พืชไร่ พืชเครื่องเทศ พืชสมุนไพร โดยทุกขั้นตอนของการผลิต การจัดการหลังเก็บเกี่ยวในระดับฟาร์มเพื่อจำหน่าย มีคุณภาพเหมาะสมในการบริโภคโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของการปฎิบัติงาน

นายประภัตร กล่าวว่า และให้ดำเนินการปรับแก้ไขข้อกำหนดให้สอดคล้องมาตรฐาน ASEAN GAP คือ การไม่เก็บสารเคมีชนิดเหลวอยู่บนชั้นที่เหนือกว่าสารเคมีชนิด ให้มีมาตรการเพื่อลดผลกระทบหากวิธีเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ควัน ฝุ่น และเสียงรบกวน โดยให้ปรับแก้ข้อกำหนดนั้นให้มีความชัดเจนมากขึ้น อาทิ ให้เก็บตัวอย่างน้ำหรือดินเพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่าเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image