“เอสไอจี”ร่วมลงนาม มทร.ธัญบุรีสร้างศูนย์เรียนรู้เคลื่อนที่ นำสังคมรีไซเคิลกล่องยูเอชทีอย่างถูกวิธี

“เอสไอจี”ร่วมลงนาม มทร.ธัญบุรีสร้างศูนย์เรียนรู้เคลื่อนที่ นำสังคมรีไซเคิลกล่องยูเอชทีอย่างถูกวิธี

นายซามูเอล แอนเดร้ ซิลวีโอ้ แดมเบรวิลล์ ผู้อำนวยการและกรรมการบริหาร เอเชียแปซิกฟิก บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ ได้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ ของ เอส ไอ จี ในการขับเคลื่อนองค์กรด้านความยั่งยืน ตลอดจนสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของการรีไซเคิลกล่องยูเอชที เอส ไอ จี โรดแมพ มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวทางความรับผิดชอบที่เรียกว่า “Way Beyond Good”

นายวัชรพงศ์ อึงศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค กล่าวว่า เอส ไอ จี ได้สนับสนุนโครงการรีไซเคิลกล่องยูเอชที หลายโครงการในประเทศไทย ซึ่งศูนย์การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่นี้ เป็นโครงการฯที่สร้างความแตกต่าง เพราะเป็นโมเดลที่ให้ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการรีไซเคิลกล่องยูเอชทีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ บริษัทฯ ยืนหยัดในการสนับสนุน โครงการนี้ให้กับทางมหาวิทยาลัยฯ เพื่อผลักดันให้ศูนย์การเรียนรู้แบบเคลื่อนเป็นโครงการต้นแบบ ที่ทำเราสร้างความตระหนักรู้กับสังคมถึงวิธีการรีไซเคิลกล่องยูเอชทีที่ถูกต้อง และสามารถนำวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องยูเอชที มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าโดยไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม

กล่องยูเอชที ประกอบด้วย 3 วัสดุหลักคือ เยื่อกระดาษ, พลาสติกและอลูมิเนียมฟอยล์ ผนึกกันเป็นชั้นๆ ซึ่งทั้ง 3 สิ่ง นี้เมื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ นอกเหนือจากนั้น เรายังให้ความรู้เรื่องการคัดแยก รวมไปถึงเทคโนโลยีการรีไซเคิลกล่องยูเอชที นี่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง

Advertisement

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนินท์ มีมนต์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า การที่ผู้คนในสังคมสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีรีไซเคิลกล่องยูเอชทีที่ผ่านการบริโภคและได้ลงมือทำการรีไซเคิลด้วยตัวเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับกลับคืนมาอย่างถ่องแท้

“เทคโนโลยีเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก เอส ไอ จี ล้วนถูกติดตั้งอยู่ในศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่ เป็นโซลูชั่นขนาดกะทัดรัดที่เข้าใจง่าย ลงมือทำได้จริง และได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถสร้างองค์ความรู้และจิตสำนึกต่อการลดปัญหากล่องยูเอชทีที่ผ่านการบริโภคมาแล้วได้อย่างดี” ดร.อนินท์ กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image