รอคอย อดทน พรรค นักการเมือง รอคอย ‘คสช.’

ต่อแนวโน้มที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง อาจจะ “ล่าช้า” อันอาจทำให้ “การเลือกตั้ง” ต้องเลื่อนออกไป

ท่าทีของ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ว่า

“หากเร่งรีบออกกฎหมายอย่างเดียวแต่ทำให้สังคมเดินหน้าไปไม่ได้ นักการเมืองก็ยินดีจะรอเพราะได้รอมาตั้ง 3 ปีแล้ว จะรอต่อไปอีกนิดคงไม่เป็นไร”

น่าศึกษา

Advertisement

นี่ย่อม “สวน” กับความเห็นอันออกมาจาก 1 คสช. 1 รัฐบาล และ 1 บรรดาคุณห้อย คุณโหน ที่สะท้อนออกมาตรงกันว่านักการเมืองต้องการ “เลือกตั้ง”

ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ คสช.และรัฐบาลเพราะเกรงว่าคนจะลืม

น่าศึกษาเพราะท่าทีเช่นนี้ของ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับนักการเมืองอื่นไม่ว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะมาจากพรรคประชาธิปัตย์

Advertisement

นั่นก็คือ รอได้เพราะรอมาแล้ว

ความจริง นักกรเมืองจำนวนไม่น้อยผ่านประสบการณ์การรอยาวนาน แตกต่างกันไป หลังรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม 2501

นักการเมืองรอร่วม 10 ปีจึงได้เลือกตั้ง

หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 นักการเมืองรอประมาณ 4 ปีก็ได้เลือกตั้งในเดือนเมษายน 2518

หลังรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม 2519 รอ 3 ปี

หลังรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 รอ 1 ปีและก็ได้เลือกตั้งและนำไปสู่สถานการณ์เดือนพฤษภาคม 2535

หลังรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 รอ 1 ปี

ที่บอกว่า “ได้รอมาตั้ง 3 ปี แล้วจะรอต่อไปอีกนิด คงไม่เป็นไร” จาก นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล จึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้

เพียงแต่ว่า “คสช.” และบรรดาคุณห้อย คุณโหนจะเข้าใจหรือไม่

เหมือนกับว่า ก ารรอของนักการเมือง ไม่ว่าจะจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะจากพรรคชาติไทยพัฒนา

เป็นการรออย่างงอก่อ งอขิง

หากดูจากบทบาทของ นายจาตุรนต์ ฉายแสง หากดูจากบทบาทของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หากดูจากบทบาทของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล

ก็จะรับรู้ว่า ไม่ได้งอก่อ งอขิงแต่อย่างใด

แม้จะต้องคดีความ แม้จะถูกยึดพาสปอร์ต แต่ถามว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง ยอมจำนนหรือไม่ตรงกันข้าม กลับออกมาแสดงบทบาทในฐานะ “นักการเมือง” อย่างสม่ำเสมอ

เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เช่นเดียวกับ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล

ขณะเดียวกัน ในท่ามกลางการรอก็เปิดโอกาสให้ คสช. และ “แม่น้ำ 5 สาย” แสดงบทบาทในฐานะผู้เป็นรัฐบาล ผู้บริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มที่

คำถามอยู่ที่ว่า 3 ปีที่ผ่านมายอดเยี่ยมหรือไม่

หากยอดเยี่ยม กรดำรงอยู่ของ คสช. นับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ย่อมสอดรับกับความต้องการของประชาชน จะอยู่ต่ออีก 5 ปีคงไม่มีใครคัดค้านแต่อย่างใด

แต่หากผลเป็น “ตรงกันข้าม” ก็ต้องตัวใคร ตัวมัน

นักการเมือง ไม่ว่าจะมาจาก พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะมาจาก พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะมาจาก พรรคชาติไทยพัฒนา

ล้วนมีประสบการณ์ ล้วนมีบทเรียน

เป็นประสบการณ์ที่ได้เห็นชะตากรรมของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นประสบการณ์ที่ได้เห็นชะตากรรมของพล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นต้น

พวกเขารอได้ และรออย่างเยือกเย็น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image