เตรียมสมอง ทันโลกยุคอนาคตด้วยไมอีลิน

“สมอง” ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากสมองได้รับการพัฒนา ก็จะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการเพิ่มความสามารถทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการจดจำ การมีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การควบคุมตนเอง จนถึงการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางการแก้ไข เป็นต้น1,2

อย่างไรก็ดี แม้ว่าสมองมนุษย์มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับสัตว์ทั่วไป แต่ก็เล็กกว่าสมองของช้างหรือวาฬ ดังนั้น ขนาดของสมองที่ใหญ่จึงไม่ได้บ่งบอกถึงความสามารถทางสติปัญญามากกว่าสมองที่เล็ก คำถามคือ แล้วมีปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อระดับสติปัญญาของมนุษย์จนทำให้เกิดความแตกต่าง

“สมอง” กับช่วงวัยแรกของชีวิตชีวิต3,4 

จากบทความ The Basics of Brain Development, Neuropsychol ของ Joan Stiles และ Terry L. Jernigan. บอกว่า ระบบประสาทของคนจะเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์หลังจากมีการปฏิสนธิของไข่และสเปิร์มเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยโครงสร้างพื้นฐานของระบบประสาทจะมีลักษณะเป็นท่อยาวๆ เรียกว่า “หลอดประสาท” เมื่ออายุครรภ์เริ่มมากขึ้น ส่วนหน้าสุดของหลอดประสาทก็จะมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นสมอง

Advertisement

การขยายตัวจะเกิดร่วมกับกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ที่เป็นเซลล์ตั้งต้น หรือที่เรียกกันว่า “สเต็มเซลล์” จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นเซลล์ประสาทชนิดต่างๆ และเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สนับสนุนเซลล์ประสาทนั้นๆ ส่วนหลอดประสาทส่วนที่เหลือจะพัฒนาต่อและกลายไปเป็นส่วนของไขสันหลัง

เสริมสร้างสมอง เริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ครรภ์4

วงจรประสาทเกิดจากการที่เซลล์ประสาทส่งแขนงประสาทนำออก หรือ”แอกซอน” ไปยังเซลล์ประสาทอีกตัว เพื่อบอกว่าต้องตอบสนองอย่างไร  เช่น ส่งสัญญาณต่อ หรือยับยั้งการทำงาน
การสร้างวงจรประสาทในสมองของคนจะพัฒนาหรือเกิดขึ้นตามความจำเป็นในการทำงาน โดยวงจรประสาทในส่วนของหน้าที่พื้นฐานในการมีชีวิตรอด ประกอบด้วยวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและระบบประสาทรับความรู้สึก จะมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาไปจนถึงช่วงปีแรกหลังคลอด

Advertisement

เมื่อเด็กน้อยมีอายุ 35 ขวบ วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสารก็จะมีการพัฒนา และตามมาด้วยวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นสูงของสมอง ที่เป็นพื้นฐานของความสามารถทางสติปัญญา เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การยับยั้งตนเอง การควบคุมตนเอง โดยวงจรประสาทในด้านนี้จะพัฒนามากในช่วงวัยเรียนจนถึงวัยรุ่น และสิ้นสุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

หลังจากนั้นโครงสร้างสมองและวงจรประสาทจะค่อนข้างคงที่ แต่ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้บ้างตามการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ จึงเป็นที่มาของประโยคที่ว่า “หากต้องการจะส่งเสริมการสร้างวงจรประสาทในส่วนใด ควรทำตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก” นั่นเอง

เสริมสร้างสมอง เสริมสร้างไมอีลิน แล้วเกี่ยวอะไรกับสฟิงโกไมอีลิน?

ยังมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาทก็คือ การสร้างไมอีลินโดยไมอีลิน เป็นเยื่อหุ้มเส้นใยประสาทมีส่วนช่วยทำให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด คือส่งได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งพ่อแม่สามารถเสริมสร้างไมอีลินให้กับลูกรักได้โดยการจัดหาสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองของลูกในช่วงนั้นๆ5-8

ช่วงขวบปีแรก ควรเน้นการกอดและสัมผัสเพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการรับสัมผัส เลือกของเล่นที่มีสีสันเพื่อกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการมองเห็น แม้แต่หมั่นพูดคุยกับลูกและใช้เสียงดนตรีในการเล่น จะเป็นการกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทการรับเสียงและภาษา

ช่วงอายุ 13 ขวบ เน้นการกระตุ้นวงจรประสาทของภาษา เช่น การชี้อวัยวะบนใบหน้า การเรียกชื่อสิ่งของในชีวิตประจำวัน หรือการเล่านิทานให้ลูกฟัง นอกจากนี้ยังควรฝึกทักษะของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การต่อของเล่น การใช้ช้อนตักอาหาร เพื่อช่วยการสร้างปลอกไมอีลินของวงจรประสาทในการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและการมองเห็นที่จะเป็นพื้นฐานของการฝึกเขียนหนังสือ รวมไปถึงการฝึกการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน เช่น การจับคู่สิ่งของที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ก็จะช่วยให้มีการสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทส่วนของการเรียนรู้ได้

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น การฝึกให้รู้จักแก้ไขปัญหาที่เจอในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการสอนความเป็นเหตุและผลของสิ่งต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ก็จะช่วยให้การสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทส่วนของการทำงานขั้นสูงของสมองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นรากฐานของการเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น การคิดวิเคราะห์ การควบคุมตนเอง และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่จะมีการพัฒนาต่อไปในช่วงวัยเด็กโตและวัยรุ่น

สำหรับการทำงานของสมองในด้านกระบวนการทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด จำเป็นต้องอาศัยการติดต่อเชื่อมโยงวงจรประสาทจากหลายส่วน จึงจะทำให้มนุษย์สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน ยับยั้งและควบคุมตนเองได้ ดังนั้น การส่งสัญญาณประสาทของลูกน้อยจึงสามารถพัฒนาได้ด้วยการกระตุ้นที่เหมาะสมกับช่วงอายุ รวมไปถึงการได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้สมองมีวัตถุดิบเพียงพอในการนำไปใช้สร้างเซลล์ในระบบประสาท รวมไปถึงการสร้างปลอกไมอีลิน อันเป็นพื้นฐานในการส่งสัญญาณประสาทอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

เมื่อไมอีลิน เป็นตัวช่วยสมองส่งกระแสสัญญาณประสาทเพื่อการส่งข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สฟิงโกไมอีลิน ก็คือสารอาหารตัวหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินค่ะ แต่ไม่ใช่มีแค่สฟิงโกไมอีลินเท่านั้นนะ สารอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลิน เช่น ดีเอชเอ โคลีน เป็นต้นเป็นต้น9

แต่ถ้าพูดถึงสฟิงโกไมอีลินแล้ว จะไปหารับประทานได้จากไหนบ้างล่ะ เพราะเป็นสารอาหารที่แม่ๆ อย่างเราคงยังไม่คุ้นชินหูเท่าไหร่นัก

คำตอบคือ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่หลากหลายเป็นประจำ ไข่ นม ครีม ชีส ก็เป็นแหล่งอาหารที่คุณแม่มั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับสฟิงโกไมอีลินอีกทางหนึ่งค่ะ

แหล่งอ้างอิงที่มาของบทความ

  1. Dean Falk, et al. The cerebral cortex of Albert Einstein: a description and preliminary analysis of unpublished photographs, Brain 2013: 136; 1304–1327
  2. Tao Sun and Robert F. Hevner. Growth and folding of the mammalian cerebral cortex: from molecules to malformations, Nat Rev Neurosci. 2014 April ; 15(4): 217–232
  3. Joan Stiles, Terry L. Jernigan. The Basics of Brain Development, Neuropsychol Rev (2010) 20:327–348
  4. Robert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission – The Mind Project. http://www.mind.ilstu.edu/curriculum/neurons_intro/neurons_intro.php
  5. Mind’s Machine, 2e, Figure 2.1The Major Parts of the Neuron. https://2e.mindsmachine.com/figures/02/02.01.html. Textbook Reference: The Nervous System Is Composed of Cells, p. 22
  6. Hiroaki Asou, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
  7. Otwin Linderkamp, Ludwig Janus, et al. Time Table of Normal Foetal Brain Development. Int. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine Vol. 21 (2009) No. 1/2, pp. 4–16
  8. Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Increased Conduction Velocity as a Result of Myelination Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
  9. Georgieff MK. The American Journal of Clinical Nutrition, Volume 85, Issue 2, 1 February 2007, Pages 614S–620S
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image