แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จากปราสาทสระกำแพงน้อย

แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดศรีษะเกษ ที่เคยใช้ในพระราชพิธีสำคัญ มีจำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ บ่อน้ำหน้าวัดเขียน, บ่อน้ำบ้านบก, บ่อน้ำบ้านลำภู ซึ่งทั้ง ๓ บ่อนี้อยู่ใน อ.ขุขันธ์ และบ่อน้ำที่ปราสาทสระกำแพงน้อย ในบริเวณวัดเทพปราสาท บ้านกลาง หมู่ที่ ๔ ต.ขะยูง อ.อุทุมพรพิสัย

เมื่อมีหมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันแล้ว ทางจังหวัดศรีสะเกษจึงได้คัดเลือกบ่อน้ำที่ปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่จะใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเฉพาะการประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒  

น้ำจากบ่อน้ำที่ปราสาทสระกำแพงน้อย ได้เคยนำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา  ๘๐  พรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ อีกทั้งยังเคยถูกใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกด้วย

Advertisement

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ปราสาทสระกำแพงน้อย คือ สระน้ำที่อยู่นอกกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทสระกำแพงน้อย ลักษณะของสระมีคันขอบก่อกรุด้วยศิลาแลงทอดเป็นขั้นๆ ลงไปยังก้นสระ มีน้ำขังตลอดทั้งปี

รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายถึงปราสาทดังกล่าว ในเว็บไซต์ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี ไว้ดังนี้

“ปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นหนึ่งในศาสนสถานประเภท ‘อโรคยศาล’ หรือสถานพยาบาลซึ่งปรากฏหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามจารึกปราสาทตาพรหมระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พุทธศตวรรษที่ ๑๘) โปรดให้สร้างขึ้นจำนวน ๑๐๒ แห่งในทุกๆวิษัย (เมือง)

Advertisement

อนึ่ง ในประเทศไทยมีการพบปราสาทประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแผนผังแบบเดียวกัน คือ ประกอบไปด้วยปราสาทประธานตรงกลาง บรรณาลัยทางด้นทิศใต้ โคปุระ กำแพงล้อมและสระน้ำทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปราสาทแบบนี้บางหลังพบจารึก ‘โรงพยาบาล’ ซึ่งทำให้ทราบได้ว่าปราสาทแบบนี้ก็คืออโรคยศาลตามที่ระบุไว้ในจารึกปราสาทตาพรหมนั่นเอง

ปราสาทแห่งนี้คงเคยเป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาล อาจเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรค ขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์ ๒ พระองค์ คือพระสูรยประภาและพระจันทรประภา ซึ่งพระนามทั้งสามนี้ปรากฏในจารึกโรงพยาบาลทุกหลัก ส่วนสถานพยาบาลนั้นคงสร้างด้วยไม้และสูญหายไปแล้วในปัจจุบัน

อนึ่ง เนื่องจากเป็นพระบรมราชโองการจากส่วนกลาง จึงทำให้ปราสาทในกลุ่มนี้ สร้างขึ้นด้วยความรีบเร่ง อันแสดงจากการสร้างด้วยศิลาแลงอย่างง่ายๆ ซึ่งแสดงถึงความรีบเร่งในการสร้าง บางครั้งมีการนำเอาของเก่ามาใช้ใหม่ เช่น ปราสาทสระกำแพงน้อยแห่งนี้ มีการนำเอาทับหลังและส่วนประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่เป็นหินทรายจากปราสาทสมัยบาปวนแห่งหนึ่งมาสร้าง”

ลักษณะสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีที่น่าสนใจของปราสาทสระกำแพงน้อย คือ

ทับหลังด้านทิศตะวันออกของโคปุระ

ประกอบด้วยท่อนพวงมาลัยและ ‘เสี้ยว’ ซึ่งแบ่งคั้นพวงมาลัยจนขาด เสี้ยวดังกล่าวเป็นลักษณะที่พบเป็นประจำสำหรับทับหลังในศิลปะบาปวน-นครวัดในประเทศไทยในการสร้างอโรคยศาลในสมัยบายนมักเป็นการสร้างอย่างรีบเร่ง ซึ่งทำให้มีการนำเอาองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเก่าๆ เช่นทับหลังหรือเสาประดับกรอบประตูมาใช้เป็นจำนวนมาก ทับหลังชิ้นนี้ก็เช่นกัน น่าสังเกตว่า ทับหลังชิ้นนี้ได้ถูก ‘ตัด’ ก่อนที่จะนำมาประกอบใหม่ จึงทำให้ทับหลังไม่มีความสมมาตร

ทับหลังด้านทิศตะวันตกของโคปุระ

ประกอบด้วยหน้ากาลทางด้านล่างคายท่อนพวงมาลัย บุคคลด้านบนหน้ากาล และใบไม้ตั้งขึ้น-ใบไม้ตกลงที่ด้านบนและด้านล่างของท่อนพวงมาลัยในการสร้างอโรคยศาลในสมัยบายนมักเป็นการสร้างอย่างรีบเร่ง ซึ่งทำให้มีการนำเอาองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเก่าๆ เช่นทับหลังหรือเสาประดับกรอบประตูมาใช้เป็นจำนวนมาก ทับหลังชิ้นนี้ก็เช่นกัน

ทับหลังปราสาทประธานของปราสาทสระกำแพงน้อย ด้านตะวันออก

ประกอบด้วยหน้ากาลทางด้านล่างคายท่อนพวงมาลัย บุคคลด้านบนหน้ากาล และใบไม้ตั้งขึ้น-ใบไม้ตกลงที่ด้านบนและด้านลางของท่อนพวงมาลัยในการสร้างอโรคยศาลในสมัยบายนมักเป็นการสร้างอย่างรีบเร่ง ซึ่งทำให้มีการนำเอาองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเก่าๆ เช่นทับหลังหรือเสาประดับกรอบประตูมาใช้เป็นจำนวนมาก ทับหลังชิ้นนี้ก็เช่นกั

ทับหลัง บรรณาลัยของปราสาทสระกำแพงน้อย

ในการสร้างอโรคยศาลในสมัยบายนมักเป็นการสร้างอย่างรีบเร่ง ซึ่งทำให้มีการนำเอาองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเก่าๆ เช่น ทับหลังหรือเสาประดับกรอบประตูมาใช้เป็นจำนวนมาก ทับหลังในบรรณาลัยของปราสาทแห่งนี้ก็เช่นกันทับหลังชิ้นนี้เป็นแบบบาปวนที่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงครึ่งชิ้น โดยยังคงปรากฏท่อนพวงมาลัยรวมถึงใบไม้ตั้งขึ้น-ใบไม้ตกลงที่ด้านบนและด้านล่างของท่อนพวงมาลัย

ปราสาทสระกำแพงน้อย เป็นหนึ่งอโรคยศาลในจำนวน ๓๐ หลังที่พบในประเทศไทย และอโรคยศาลบางหลังพบจารึกที่สำคัญ ทำให้เราทราบถึงความห่วงใยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ทรงมีต่อประชาชนว่า “โรคทางกายของปวงชนนี้ เป็นโรคทางจิตใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นทุกข์ของเจ้าเมือง”

ในครั้งนี้ จะนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกเจริญพระพุทธมนต์ ในวันจันทร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ และจะเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก ในวันอังคารที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ณ วัดมหาพุทธราราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image