เรียนรู้ สู้ออฟฟิศซินโดรม ในงาน Healthcare2019

หลายปัญหาสุขภาพกวนใจ ตั้งแต่ปวดหัว ปวดตามตัว หลัง บ่า ไหล่ เป็นหนึ่งอาการของ “ออฟฟิศซินโดรม” โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน ทำให้หลายคนนอนฝันร้ายมานักต่อนัก ซึ่งส่วนหนึ่งของอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท เกิดจากความเครียดเพราะร่างกายเสียสมดุล ส่วนอาการปวดเมื่อยมาจากการทำงานในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นนั่งทำงานในท่าทางไม่ถูกต้อง ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน ผู้มีอาการจำนวนหนึ่งคิดว่านี่คือภาวะชั่วครั้งชั่วคราว จึงนิยมใช้ยาแก้ปัญหาไปทีละน้อย แต่ท้ายที่สุดปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ ก่อนจะหันไปแก้ปัญหาด้วยการทานยาซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ลองค้นหาว่าต้นตออันเป็นสาเหตุและหาทางบำบัดไปพร้อมกัน

ปวดอย่างไรเรียก ออฟฟิศซินโดรม

อาการของออฟฟิศซินโดรม จะปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ที่พบได้บ่อยๆ คือ อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น อาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยตามบริเวณหลัง ไหล่ บ่า คอ แขน ข้อมือ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วยมีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก

Advertisement

หากปล่อยไปโดยไม่แก้ไข จะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและรุนแรงขึ้น มีอาการเจ็บ ตึง และชา ตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งพัฒนามาจากอาการปวดเรื้อรัง และอาการของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่า และสุดท้ายอาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปไม่บำบัดรักษา หรือป้องกันตั้งแต่ต้น ก็อาจการกลายเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพในภายหลังจนก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด

อาการที่รุนแรงมากอาจทำให้ผู้ป่วยเดินไม่ได้ ต้องทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดเลยทีเดียว และเสี่ยงที่จะมีโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคซึมเศร้าอันมาจากความเครียดสะสม ความกดดัน เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวานความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จากการทานอาหารจุบจิบในเวลาทำงาน และไม่มีเวลาออกกำลังกาย

หยุดปวดทั้งที ต้องไปที่งาน Healthcare2019

Advertisement

เมื่อรู้สึกว่าออฟฟิศซินโดรมเล่นงาน การรักษาควรได้รับการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้วแพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น ยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด การนวดแผนไทย การฝังเข็ม และหนทางสุดท้ายคือการรับประทานยา

ในมหกรรมสุขภาพ “Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27-30 มิ.ย. นี้ ณ อิมแพค ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี เป็นงานเดียวที่จะทำให้คุณเช็คสุขภาพของคุณได้ครบวงจร เพราะมีบริการทางด้านสุขภาพในทุกมิติโดยคุณหมอและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนกว่า 30 แห่ง จะมาให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาฟรี ซึ่งกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม อันเป็นปัญหาใหญ่ของคนทำงานก็เป็นหนึ่งในบริการที่โรงพยาบาลต่างๆ เห็นความสำคัญและนำมาให้บริการ ด้วยอุปกรณ์ที่เพรียบพร้อมและทันสมัย ดังนี้

  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาร่วมให้บริการนวดคอ บ่า ไหล่ บำบัดปวดออฟฟิศซินโดรม, นวดบำบัดด้วยเลเซอร์ และฝังเช็มบำบัดปวดออฟฟิศซินโดรม รวมทั้ง 3 บริการของรพ.ให้บริการวันละ 180 คน งาน 4 วัน จะให้บริการได้ 720 คน
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต นำเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าลดอการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ มาให้บริการวันละ 130 คน รวม 4 วัน 520 คน
  • โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน นำบริการบำบัดกลุ่มผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม สำหรับผู้ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เข่า ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์และกระตุ้นไฟฟ้า Shock wave, Ice electrical Stimulation ลงทะเบียนให้บริการวันละ 16 คน รวม 4 วัน ให้บริการได้ 64 คน
  • สถานพยาบาลมายเนิร์ซ(MyNurz) ให้บริการตรวจรักษาอาการปวดจากการทำงานหรืออฟฟิศซินโดม รวมทั้งตรวจรักษาอาการปวดหลัง ปวดเข่า ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ ทั้งสองบริการรับลงทะเบียนวันละ 65 คน รวม 4 วันให้บริการได้ 260 คน
  • โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล(WMC) นำ Grip Strength เครื่องวัดแรงบีบมือ มาให้ผู้ร่วมงานได้ทดสอบความแข็งแรงของมือ ไม่จำกัดจำนวน
  • กิจกรรม Health Activity : DIY บำบัดอาการออฟฟิศซินโดรมง่ายๆ ด้วยของใช้ใกล้ตัว โดย กภ.อนุสรณ์ เจริญวนวิจิตร ผู้อานวยการอนุสรณ์คลินิกกายภาพบำบัด ในวันศุกร์ที่28 มิ.ย.

การรักษาอาการปวดให้หายร่วมกับบริหารกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง นอกจากนี้ให้หมั่นออกกำลังกาย เพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน นอกจากจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึดแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกาย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการรุนแรงแล้ว แน่นอนว่าอาการนี้ไม่สามารถรักษาได้ในเวลาอันสั้น อาจต้องรักษาโดยใช้ยา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ และให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาให้เท่านั้น หากอาการรุนแรงถึงขั้นขยับร่างกายลำบาก หรือเดินไม่ได้ อาจต้องใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือทำกายภาพบำบัด(physical therapy) ร่วมด้วยเพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติรักษาด้วย

มางาน Healthcare2019 ปีนี้ไม่มีหลง

สำหรับการเดินทางมางาน Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019 ในวันที่ 27- 30 มิถุนายน ไปยังอิมแพ็ค เมืองทองธานี Hall 5 นอกจากการใช้รถส่วนตัวหรือบริการรถแท็กซี่แล้ว ยังมีวิธีการเดินทางขนส่งสาธารณะ ทั้งรถตู้ รถโดยสารประจำทางตามเส้นทางที่แสดงข้างต้น

และพิเศษไปกว่านั้นงานยังมีรถบริการรับส่งพิเศษ ฟรี! จากสถานี BTS หมอชิต (ทางออก 2 และ 4) ถึงเมืองทองธานี เวลา 08.00 น. / 11.00 น. และ 13.00 น. เที่ยวกลับจากเมืองทองธานี ถึงสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต เวลา 13.00 น. / 15.00 น. และ 17.00 น. MRT สถานีสวนจตุจักร ทางออกหมายเลข 3 ฟรีทั้ง 4 วัน

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image