โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เกษตรกรไทยป้องกันได้ด้วย “BIOSECURITY”

      หากเอ่ยถึงโรค ASF ในสุกร เชื่อว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการปศุสัตว์อาจไม่คุ้นชินมากนัก แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นกล่าวถึงโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ African Swine Fever เชื่อว่าหลายคนคงต้องรู้ถึงกิตติศัพท์ความรุนแรงของโรคนี้เป็นอย่างดี  เพราะสามารถทำให้สุกร หรือหมู สัตว์เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับเชื้อมีอัตราการตายสูงถึง 100% เลยทีเดียว และนำไปสู่การเกิดโรคระบาดรุนแรงในสุกร ทำให้สุกรติดเชื้อดังกล่าวและล้มตาย  รวมถึงส่งผล ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมโดยภาพรวมได้

      ซึ่งช่วงนี้เชื้อโรค ASF ในสุกรได้กลับมาระบาดอีกครั้ง ทำให้ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ต้องใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา โดยล่าสุดกรมปศุสัตว์ได้ประกาศเขตเฝ้าระวังในไทยแล้วรวม 27 จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร

      โรค ASF ในสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสแอสฟาร์ (Asfravirus) มีความคงทนในหลายสภาพแวดล้อม และในผลิตภัณฑ์จากสุกรทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเลือด เนื้อ กระดูก หรือสารคัดหลั่ง และอาหารแปรรูปจากสุกรทุกรูปแบบ เชื้อจะหายไปต้องใช้ความร้อนสูง ในระยะเวลาที่นานเพียงพอ 

      โดยในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนใดที่สามารถป้องกัน และควบคุมโรคได้ แต่จริง ๆ แล้วเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกคน สามารถป้องกันโรคเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เริ่มที่สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ อย่าง “อาหารของสุกร” เพราะเชื้อจะติดต่อจากสุกรสู่สุกรด้วยกันเอง ดังนั้นวัตถุดิบต่าง ๆ ที่จะนำมาผลิตอาหารของสุกรที่จะทำให้สุกรห่างไกลโรค ASF ในสุกร ควรมีคุณประโยชน์ครบถ้วน และไม่ปนเปื้อนเชื้อโรค

Advertisement

      นอกจากนี้ คน หรือสิ่งของก็สามารถเป็นพาหะนำโรคไปสู่สุกรได้เช่นกัน หากเป็นไปได้ผู้เลี้ยงสุกรควรเลือกวัตถุดิบผสมอาหารจากแหล่งที่สามารถสร้างความมั่นใจในทุกกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ว่าปลอดเชื้อปนเปื้อน 100% ตระหนักถึงผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารที่มีการนำมาตรการสุดเข้มข้นอย่าง BIOSECURITY มาใช้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบตลอดจนออกสู่ตลาดทั่วประเทศ ซึ่งมาตรการนี้มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะให้ความสำคัญกับความสะอาด และสร้างปลอดภัยสูงสุดอย่างแท้จริง อาทิ มุ่งเน้นที่ความสะอาดของคน รถบรรทุก และสิ่งของที่มีผ่านจังหวัด หรือบริเวณพื้นที่ประกาศเฝ้าระวัง บริเวณฟาร์มสุกร หรือต้องสัมผัสสุกรโดยตรง

      ทั้งนี้ BIOSECURITY ยังมีข้อปฏิบัติอีกมากมายที่สามารถช่วยป้องกันโรค ASF ในสุกร ได้เป็นอย่างดี ลองมาทำความรู้จัก และเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสังคมสุกรไทย จะก้าวสู่การปลอดเชื้อแบบ 100% ได้จริง ด้วยคลิปวิดีโอนี้

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image