“ช่องทางเดินเรือ” เครื่องบ่งชี้ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี” เคารพวิถีริมโขง 

โลกที่หมุนไปข้างหน้า การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตย่อมเกิดขึ้นไม่หยุดยั้ง ทว่า สิ่งสำคัญคือการเคารพซึ่งวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อิงอาศัยในผืนแผ่นดิน เฉกเช่นวิสัยทัศน์ของ บริษัทสัญชาติไทย “บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower ผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ที่สร้างบนแม่น้ำโขงตอนล่าง ช่วงแขวงไซยะบุรี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) 

หนึ่งในวิถีวัฒนธรรมของผู้คนริมฝั่งโขง สายน้ำสำคัญในอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือการเดินเรือ ทั้งเรือเล็กของชาวบ้าน จนถึงเรือท่องเที่ยว และเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ที่สัญจรขวักไขว่จนเป็นภาพคุ้นตา 

ด้วยความเข้าใจและตระหนักในวิถีชีวิตริมลำน้ำและมุ่งมั่นพัฒนาคนท้องถิ่นริมโขง CKPower ผู้บริหารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จึงให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เอื้อต่อเดินเรือและเอื้อต่อสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง โดยมี ‘ช่องทางเดินเรือ’ หรือ Navigation Lock อำนวยความสะดวกให้เรือใหญ่น้อยเดินทางผ่านทั้งขาขึ้นและขาล่องตามวิถีชีวิตปกติ ด้วยความกว้าง 12 เมตร ยาวกว่า 700 เมตร รองรับเรือพ่วงขนสินค้า ขนาดพ่วงขนาด 500 ตัน (2×500 Ton convoys) นอกจากนี้ ยังอำนวยความสะดวกให้เรือขนาดเล็กที่ใช้ในการประมงหรือใช้ไปมาหาสู่กันระหว่างหมู่บ้าน ทางทีมผู้สร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ได้เตรียมรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กคอยลากเรือจากหัวน้ำและท้ายน้ำไว้ให้บริการตลอดทั้งปี 

รถแทรกเตอร์แอนด์เทรลเลอร์ ไว้สำหรับลากเรือประมงและเรือขนาดเล็กของชาวบ้านจากหัวน้ำและท้ายน้ำ เพื่อย่นระยะการเดินทาง 

นายอานุภาพ วงศ์ละคร รองกรรมการผู้จัดการ งานเดินเครื่องและบำรุงรักษา บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า “แต่เดิมบริเวณที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะมีเกาะแก่ง ทำให้การเดินเรือทำได้ลำบากในหน้าแล้ง โดยเฉพาะเรือขนส่งสินค้าหรือเรือขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะติดแก่งไม่สามารถผ่านไปได้ในหน้าแล้ง แต่เมื่อมีการก่อสร้างช่องทางเดินเรือ หรือ Navigation Lock ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ปัญหาการติดเกาะแก่งในหน้าแล้งของเรือขนาดใหญ่ก็หมดไป ปัจจุบันมีเรือขนส่งสินค้า และเรือท่องเที่ยวที่สัญจรผ่านเส้นทางนี้ทุกวัน แต่ละสัปดาห์ หอบังคับการของเนวิเกชั่นล็อค มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง/สัปดาห์ สูงสุดถึงเดือนละ 40 ลำ โดยนักท่องเที่ยวมักออกมายืนที่ระเบียงเรือ เพื่อชมการเปิดประตูน้ำทั้ง 3 ชุด ระหว่างที่เรือเข้าสู่เนวิเกชั่นล็อค โดยใช้เวลาในการปรับระดับน้ำทั้งสิ้น 40 นาที” 

Advertisement
การทำงานของหอควบคุมช่องทางเดินเรือ เจ้าหน้าที่จะปิดประตูทีละบาน ทำการปรับลดหรือยกระดับน้ำ เพื่อให้เรือแล่นออกไปอย่างปลอดภัย

สำหรับหลักการทำงานของช่องทางเดินเรือ หรือ Navigation Lock อาศัยหลักการปรับระดับน้ำด้วยประตูน้ำซึ่งแบ่งการปรับระดับด้วยประตู 3 ชุด และปรับระดับน้ำ 2 ระดับ ที่หัวน้ำระดับ 275 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และท้ายน้ำ ในแต่ละช่องที่กั้นด้วยประตูนั้น เรียกว่าแชมเบอร์ (Chamber) 

ในการปรับระดับน้ำ อาศัยการไหลของน้ำตามธรรมชาติจากที่สูงมาที่ต่ำด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก Gravity Flow เพื่อปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามทิศทางการเดินเรือ เช่น จากท้ายน้ำไปเหนือน้ำ จะมีน้ำจาก Upper Lock Chamber ไหลเข้าสู่ Lower Lock Chamber เพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้น ในทางกลับกัน น้ำที่มาจากเหนือน้ำซึ่งระดับสูงกว่า ใน Upper Lock Chamber นั้น จะถูกลดระดับโดยไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำกว่า เพื่อปรับให้ระดับน้ำเท่ากับทางท้ายน้ำก่อนปล่อยเรือออกไป

หลักการทำงานก็คือ เมื่อหอควบคุมได้รับสัญญาณจากเรือ เจ้าหน้าที่จะปิดประตูทีละบานเพื่อปรับยกระดับน้ำให้เท่ากับระดับน้ำหัวน้ำก่อนปล่อยเรือให้ออกไปในขาขึ้น ถ้าเป็นเรือขาล่อง เจ้าหน้าที่จะเปิดประตูเหนือน้ำให้เรือเข้ามาอยู่ในช่องที่หนึ่ง แล้วค่อยๆ ปรับระดับน้ำลดลง 2 ระดับจนเท่ากับท้ายน้ำ จึงเปิดให้เรือผ่านออกไป ใน 1 รอบใช้เวลา 40 นาที 

Advertisement
ก่อนทางเข้าช่องทางเดินเรือ (Navigation Lock) จะมีเสาผูกเรือสำหรับเรือที่รอเข้าช่องทางเดินเรือ 

ช่องทางเดินเรือนี้ ไม่ได้มีประโยชน์เพียงเป็นทางสัญจรของเรือเท่านั้น ด้วยโครงสร้างและกลไกที่โรงไฟฟ้าได้ออกแบบมาอย่างรอบคอบ จึงมีประโยชน์อีกอย่างคือ ทำหน้าที่เป็น ทางปลาผ่านอีกช่องทางหนึ่ง 

“โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี” เป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่เพียงเคารพวิถีท้องถิ่น ทว่า ยังเอื้อประโยชน์แก่ผู้คนริมน้ำโขงด้วยเทคโนโลยีและวิสัยทัศน์อันยาวไกลที่ บมจ.ซีเค พาวเวอร์ หรือ CKPower มุ่งมั่นที่จะสร้างโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image