AIS ปรับกลยุทธ์ทันสถานการณ์ พร้อมรับมือยุค New Normal

ในห้วงเวลาที่มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายภายใต้บททดสอบที่ชื่อว่า โควิด-19 ความสามารถในการปรับตัวได้ไวเท่าทันสถานการณ์เป็นหัวใจสำคัญที่จะให้สามารถก้าวข้ามผ่านบททดสอบนี้ไปได้ หนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่มีบทบาทไม่น้อยคือ “เทคโนโลยี” เพราะสำหรับยุคนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของวิถีชีวิตให้ต่างออกไปจากเดิม แต่การอุบัติขึ้นของโควิด-19 เหมือนเป็นอัตราเร่งที่ทำให้ผู้คนต้องปรับตัวให้รวดเร็วที่สุดท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว ภายใต้นิยาม “ความปกติใหม่ หรือ New Normal”

ไม่ต่างจากเอไอเอส องค์กรด้านโทรคมนาคมเบอร์หนึ่งของไทย ต้องปรับตัวภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างสรรค์บริการที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการให้กับลูกค้า และมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้ใช้บริการ

  • เสริมทัพดิจิทัลแพลตฟอร์มสร้างประสบการณ์บันเทิง

เปิดศักราชปี 2021 เอไอเอส จึงสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ให้กับคนไทยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ด้วยการฉลองรับ  ปีใหม่ในรูปแบบเสมือนจริง “AIS 5G The Future of Virtual Celebration 2021” เป็นครั้งแรก ปรับรูปแบบจัดเคาต์ดาวน์เข้าสู่ปีใหม่จากออฟไลน์สู่ออนไลน์ นำเอาเทคโนโลยีที่เอไอเอสมีรังสรรโชว์สุดพิเศษบนแพลตฟอร์ม AIS PLAY ให้ประสบการณ์เสมือนจริงจริง (Virtual)  โดยรับชมได้แบบ 360° ผ่านเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) เสมือนได้นั่งอยู่ในบรรยากาศของการเฉลิมฉลองเข้าปีใหม่พร้อมกับศิลปิน ดาราที่ขนการแสดงมาให้รับชมอย่างคับคั่ง ถือเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงบรรยากาศความรื่นเริงของการเฉลิมฉลองเข้าปีใหม่แต่ปลอดภัยเหมาะกับภาวะในปัจจุบัน

Advertisement

ทั้งนี้ จากการประกาศว่าเอไอเอสจะผันตัวเป็น ผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ (Digital life Service Provider) สิ่งหนึ่งที่สำคัญและเอไอเอสมุ่งมั่นจะพัฒนาคือ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม อันจะเป็นรากฐานสำคัญให้เอไอเอสได้ต่อยอด พัฒนาบริการลูกค้าอย่างตรงใจ หนึ่งในนั้นคือเป็นผู้ให้บริการ “ดิจิทัลแพลตฟอร์มคอนเทนต์”

Advertisement

ทำไมดิจิทัลแพลตฟอร์มคอนเทนต์จึงน่าสนใจ? จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและสถาบันไอเอ็มซี ระบุว่า มูลค่าดิจิทัลคอนเทนต์และบิ๊กดาต้าของไทยในปี 2561-2562 (แอนิเมชัน เกม คาแร็กเตอร์ และบิ๊กดาต้า) มีมูลค่ารวม 31,080 ล้านบาท โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11.51% ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนได้ดีว่าตลาดคอนเทนต์มีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ 5G จะช่วยส่งเสริมอัตราการเติบโตของตลาดดิจิทัลคอนเทนต์

ด้วยความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายของเอไอเอสพร้อมให้บริการ 5G บนเครือข่ายมากที่สุดกว่า 1420 MHz ผสานด้วยแพลตฟอร์ม AIS PLAY เพื่อตอบรับโอกาสการเติบโตของตลาด สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปรับชมบริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งเพิ่มมากขึ้น ตอบสนองผู้บริโภคด้วยคอนเทนต์ที่หลากหลาย ครบทุกความบันเทิง ไม่ว่าจะหนัง ซีรีส์ การ์ตูน สารคดี กีฬา นอกจากนี้ เอไอเอสยังนำเสนอแอพพลิเคชั่น AIS 5G Cloud games ที่สามารถเล่นเกมพีซีและคอนโซลกว่า 360 เกมในแอพพ์เดียว เสริมกับพลังของ 5G จะทำให้เล่นเกมได้ลื่น ไว ไม่แลค  

  • Digitalization drive the way of life

ดิจิทัลเข้ามาสั่นสะเทือนโลกใบเดิม ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนผันแปร รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้คนปรับไปตามโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ในโจทย์ท้าทายอย่างโควิด-19 ‘เทคโนโลยี’ ถูกยกให้เป็นผู้ช่วยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงาน นำเอาความสามารถของเทคโนโลยีมาปรับยุคใช้กับสถานการณ์ขณะนี้

สำหรับเอไอเอสได้เตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรด้วยแผนสำรองในการทำงาน (Business Continuity Plan หรือ BCP ซึ่งในยุค Digital Transformation ในจุดนี้มีส่วนอย่างมากที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร ให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ในช่วงโควิด-19 เสริมโครงสร้างด้าน ICT ของบริษัท สร้างความแข็งแกร่งของระบบการทำงาน ข้อมูลต่างๆ ซัพพอร์ตขึ้นบน Cloud ใช้ระบบ VPN สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงาน เชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นภายในองค์กรทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง Internet Bandwidth สามารถปรับความรวดเร็วได้ตามความต้องการ Virtual workspace จำลองพื้นที่ทำงาน ที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดก็สามารถทำงานได้เสมือนในออฟฟิศ เป็นต้น เพื่อให้การทำงานของเอไอเอสนั้นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด พร้อมที่จะให้บริการลูกค้าเอไอเอสได้ทุกเมื่อไม่ขาดตอน

  • ผันตัวเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลไลฟ์ พร้อมขับเคลื่อน 5G

ภายใต้ความตั้งใจของ AIS ที่มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ (Digital life service provider) จึงเร่งพัฒนาความแข็งแกร่งของธุรกิจ ในการให้บริการด้านดิจิทัลได้อย่างตรงจุด ขับเคลื่อนและพัฒนาแสวงหาช่องทางใหม่ๆ ในการให้บริการได้ตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ ปัจจุบันเอไอเอสได้ขับเคลื่อนบริการดิจิทัลเซอร์วิส ครอบคลุมทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร ทั้งหมด 5 ด้าน คือ ธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ (Mobile Money)  วิดีโอแพลตฟอร์ม (VDO Platform) คลาวด์สำหรับองค์กร (Business Cloud) บริการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (IoT) และบริการแพลตฟอร์มอื่นๆ

ด้วยความคิดที่ว่า “ที่ 1 ดูแลด้วยใจ ให้ชีวิตดิจิทัล” เพิ่มช่องทางบริการทางออนไลน์ (Online Channel) ผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น myAIS ทำให้ลูกค้าสามารถรับบริการของเอไอเอสได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ศูนย์บริการ สอดคล้องกับช่วงเวลาที่โรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด ช่วยลดความเสี่ยงให้กับลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังศูนย์บริการ ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าประสบกับปัญหาด้านการใช้บริการ นอกจากติดต่อเข้ามาที่คอลเซ็นเตอร์ 1175 แล้ว เอไอเอสยังมีช่องทาง Ask Aunjai ที่ผสานเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) แชตบอต รวมถึง Smart Knowledge Base มาใช้ตอบคำถามให้กับผู้ใช้บริการของเอไอเอสได้อุ่นใจเมื่อพบปัญหาที่เกิดจากการใช้งาน โดยมีตัวเลขผู้ใช้บริการ Ask Aunjai เพิ่มขึ้นถึง      3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยเอไอเอสยังมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนแอพพลิเคชั่น my AIS ให้เป็น Everyday Application อันดับหนึ่งด้วย

ในยุคที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ประจำวัน AIS สร้างปรากฏการณ์จัดงาน AIS 5G Thailand Virtual Expo โดยได้ขนเอาสินค้าไอที สินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ อาหาร จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและร้านค้าต่างๆ 500 ร้าน จับจ่ายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช้อปได้ปลอดภัย มั่นใจไม่เสี่ยงโรค เปิดประสบการณ์ใหม่แห่งการช้อปปิ้งออนไลน์แบบเสมือนจริง (Virtual) มุมมอง 360 องศา เหมือนได้เดินเลือกซื้อสินค้าจริงๆ ในงานเอ็กซ์โป โดยจัดไป 5 วัน มีผู้เยี่ยมชมงานกว่า 9.7 แสนคน จากทั่วประเทศ แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของงานแสดงสินค้ารูปแบบใหม่

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันแปรไปของโลก เอไอเอส พร้อมที่จะปรับตัว เปลี่ยนองค์กรให้รวดเร็วเพื่อพร้อมรองรับในทุกสถานการณ์ พัฒนาช่องทางการให้บริการลูกค้า ตอบโจทย์ความต้องการเพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้มากกว่า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image