รู้รอบเรื่องโควิด 19  “วัคซีนไฟเซอร์” สู้ไวรัสเดลต้า ปกป้องบุคลากรแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่อยู่ในขั้นวิกฤตจาก การกลายพันธุ์ของไวรัส จนสร้างสถิตินิวไฮแทบทุกวัน ทางออกที่จะมาแก้วิกฤตนี้ ได้แก่ การฉีดวัคซีนชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ อินเดียหรือเดลต้าให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุขด่านหน้า แม้ว่าที่ผ่านมาจะได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว แต่ จำเป็นต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ด้วยการรับวัคซีนต่างชนิดกันเป็นเข็มที่ 3

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ประเทศไทยได้รับบริจาควัคซีนไฟเซอร์จาก สหรัฐอเมริกาจำนวน 1,503,450 โดส ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันโรคโควิด 19 ได้ถึงร้อยละ 95 สำหรับเกณฑ์การจัดสรรวัคซีนไฟ เซอร์นั้น มีการวางแผนและการกระจายด้วยความโปร่งใส ประชาชนสามารถ ตรวจสอบได้ โดย นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธาน คณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด 19 (Pfizer) อธิบายที่ศูนย์แถลง ข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข ว่า คณะ กรรมการบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด 19 (Pfizer) ได้พิจารณาจัดสรรวัคซีน ไปยังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ครอบคลุมทั้งผู้ปฏิบัติงาน ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โดยตรง และผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มี ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ทั่วประเทศ จำนวน 7 แสนโดส

นอกจากนี้ ยังจัดสรรให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้ ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรังตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ที่อยู่ ในจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด ชาวต่างชาติที่เป็นผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวม ถึงคนไทยที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา เพื่อ การศึกษาวิจัย และสำหรับควบคุมการระบาดจากสายพันธุ์เบต้าและหากมีวัคซีน เพิ่มเติมหรือส่วนต่างจากการจัดสรรครั้งแรกจะมีการนำมาพิจารณาจัดสรรเพิ่ม เติมอีกครั้ง ในส่วนของกลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุข รวมทั้งนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิด 19 จากการ ปฏิบัติงาน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และประธานคณะ กรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กล่าวเสริมถึงแนวทางการให้วัคซีนแต่ละ ประเภทว่า หากได้รับวัคซีนซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มครบ 2 เข็มแล้ว จะพิจารณาให้ วัคซีนไฟเซอร์กระตุ้น 1 เข็ม ผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว 1 เข็ม พิจารณาให้วัคซีนไฟ เซอร์เป็นเข็มที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างระหว่างโดสตามชนิดของวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นหลัก ส่วนผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนเลย พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม

 โดยมีระยะห่างกัน 3 สัปดาห์ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 และยังไม่เคยได้วัคซีนมา ก่อน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม โดยมีระยะห่างจากวันที่พบการติดเชื้อ อย่างน้อย 1 เดือน

Advertisement

แต่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคเข็มแรกและแอสตร้าเซน เนก้าเข็มที่ 2 หรือสูตรสลับไขว้ หรือได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าครบ 2 เข็ม หรือ ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และได้รับเข็มกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มไป แล้วนั้น ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้น เนื่องจากตามหลักฐาน วิชาการ ทั้ง 3 แบบยังมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ โดยให้ขึ้นทะเบียนราย ชื่อไว้ เมื่อมีข้อมูลวิชาการสนับสนุน และมีวัคซีนที่เข้ามาเพิ่มขึ้นจะพิจารณาฉีดให้ ต่อไปและนอกจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ทางกรม ควบคุมโรคยังได้มีการจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ อีก 20 ล้านโดส โดยจะส่งมอบตาม แผนภายในไตรมาส 4 ของปี 2564 เมื่อรวมกับแอสตร้าเซเนก้า 61 ล้านโดสและ ซิโนแวค 19 ล้านโดส ที่จะส่งมอบภายในปีนี้แล้ว กระทรวงสาธารณสุข ก็จะ สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ล้านโดส ตาม เป้าหมาย ดังนั้น อย่าลืมไปฉีดวัคซีนโควิด 19 เมื่อถึงคิวฉีดวัคซีนเพื่อสังคมไทย สู้โควิด ที่มาประทรวงสาธารณสุข

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image