‘โรคไต’ ภัยร้ายของสายปิ้งย่าง แต่ป้องกันได้โดย ‘ลด ละ เลิก และตรวจคัดกรอง’

‘ปิ้งย่าง’ อาหารอร่อยปาก แต่ลำบาก ‘ไต’

เวลาที่เราเห็นโพสต์อาหารปิ้งย่างทั้งประเภทหมูกระทะแบบไทยๆ หรือหมักซอสโคชูจังแนวกังนัมสไตล์ นอกจากจะรู้สึกสะเทือนใจ (เพราะอยากกิน) แล้ว ควรต้องรู้ว่าเป็นอาหารที่สะเทือน ‘ไต’ ด้วย เพราะเนื้อสัตว์ประเภทหมักเหล่านี้อุดมไปด้วยโซเดียมจากผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู และซอสต่างๆ ยิ่งเมื่อรวมเข้าไปกับน้ำจิ้มสุดแซ่บด้วยแล้ว จะมีโซเดียมมากกว่าอาหารปกติ 5-10 เท่า

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่อาหารประเภทนี้ที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคไต แต่ยังรวมไปถึงอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด อาหารแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อที่คนเลือกบริโภคตามวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบ หรือแม้แต่ขนมซองกรุบกรอบ ยำใส่ปลาร้าสุดนัว แซลมอนดองและกุ้งดองที่กำลังฮิต หรืออาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก แหนม สารพัดลูกชิ้น ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ต้องฟอกไตได้ในอนาคต

สถานการณ์โรคไตในประเทศไทยกำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าโควิด 

Advertisement

เพราะนอกจากพฤติกรรมการกินตามที่กล่าวมา ยังมีสาเหตุมาจากแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งทั้ง 2 โรคมีผลทำให้การทำงานของไตแย่ลง ผลที่ตามมาก็คือมีภาวะไตเสื่อมและจะเสื่อมเร็วขึ้นหากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง โดยมีข้อมูลทางวิชาการระบุว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 หรือประมาณ 8 ล้านคน และเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไตก็ทำได้เพียงปีละ 500 รายเท่านั้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าไตของเราเริ่มป่วย

Advertisement

    ไตมีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย หากไตมีปัญหาจะทำให้ประสิทธิภาพในการขับของเสียลดลง และอาจส่งผลให้เกิดไตวาย หรือภาวะไตล้มเหลวได้หากปล่อยไว้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงเป็นโรคไตมักจะชะล่าใจ เนื่องจากอาการของโรคในระยะเริ่มต้นนั้นแทบไม่มีสัญญาณเตือน แต่มักจะปรากฏในช่วงระยะท้ายๆ เนื่องจากอวัยวะเสียหายไปมากแล้ว

    อาการของโรคไตที่สังเกตได้ในระยะต้นๆ มีดังนี้ หน้าและเท้าบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางรายน้ำหนักลดแต่บางรายน้ำหนักขึ้นพร้อมกับตัวบวม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปากขม บ้างก็ไม่สามารถรับรสอาหารได้ ผิวหนังซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย อาจจะคลำพบก้อนเนื้อตรงบริเวณไต ในภาวะโรคไตเรื้อรัง ปัสสาวะจะเป็นฟอง ซึ่งเกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ และเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืนบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะ และไม่สามารถนอนราบได้เพราะในร่างกายมีของเสียคั่งค้าง

เพราะโรคไตน่ากลัว มาลดความเสี่ยงกันเถอะ

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคไตนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากเลย อย่างแรกก็คือกินอาหารปรุงแต่งน้อยหรือมีรสจืด เพื่อให้ไตไม่ต้องทำงานหนักจากการขจัดของเสีย ลดการกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป ใครที่ไม่ชอบอาหารรสจืดชืดอาจจะใช้เครื่องเทศอย่างกระเทียม พริกไทย เป็นผู้ช่วยเพิ่มรสชาติแทนเครื่องปรุงต่างๆ ส่วนน้ำปลา น้ำจิ้มสุกี้ หรือสารพัดซอสต้องหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง แม้แต่น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวก็ห้ามซดหมดชาม หรืออาจจะใช้เครื่องปรุงรสสูตรลดโซเดียม (Low Sodium) ซึ่งมีปริมาณโซเดียมน้อยลงจากกรรมวิธีการผลิตแบบต่างๆ เช่น ใช้ส่วนผสมของเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ทดแทนเกลือโซเดียมคลอไรด์ โดยในปัจจุบันสามารถหาซื้อเครื่องปรุงรสสูตรลดโซเดียมได้ง่ายขึ้น

นอกจากลดความเสี่ยงด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคแล้ว ก็ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีโดยที่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรองไตรวมอยู่ด้วย เพื่อความสบายใจ เนื่องจากโรคไตมักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่มอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น 

เครื่องฟอกไต แบบประสิทธิภาพสูง HDF

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไตเบื้องต้น ละเอียดและครอบคลุม

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา มีแผนกอายุรกรรมโรคไต โดยมีโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไตเบื้องต้นที่ตรวจดูการทำงานของไต ทั้งหมด 8 รายการ เพื่อป้องกันการเกิดในอนาคต รวมถึงเฝ้าติดตามสภาวะการทำงานของไตในผู้ป่วยโรคไตได้ ดังนี้

  • ตรวจร่างกายและสรุปผลการตรวจจากอายุรแพทย์โรคไต (Nephrologist)
  • ตรวจเลือดดูการทำงานของไต (BUN, Creatinine)
  • ตรวจระดับเกลือแร่ (Electrolyte)
  • ตรวจปัสสาวะเบื้องต้น (Urine Examination)
  • ตรวจปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (UMA : Urine Micro Albumin)
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS:Fasting Blood Sugar)
  • ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง (HbA1C)
  • ตรวจอัลตราซาวด์ดูลักษณะของไต ท่อปัสสาวะ และ กระเพาะปัสสาวะ (Ultrasound KUB : Ultrasound Kidney Urethra Bladder) 

รวมทั้งหมดในราคา 2,800 บาท โดยจองผ่าน Shopee ของโรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา
หรือคลิกที่นี่ https://bit.ly/31EVeRZ

ใครที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อ้วน และมีคนในครอบครัวมีประวัติว่าเป็นโรคไต รวมถึงมีพฤติกรรมบริโภคอาหารสุ่มเสี่ยงมาเป็นเวลานาน  ยิ่งโดยเฉพาะหากเริ่มมีอาการหนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม ปวดบริเวณไตหรือบริเวณบั้นเอวด้านหลัง ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือด และปัสสาวะถี่ในเวลากลางคืน ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคไตเบื้องต้น หรือแม้แต่คนทั่วไปที่รักสุขภาพก็อาจจะขอรับปรึกษาจากแพทย์เพื่อประเมินว่าควรได้รับการตรวจด้วยโปรแกรมนี้ทุกปีหรือไม่

ตรวจสุขภาพเชิงรุก ไม่ต้องรอให้ถึงวันที่เจ็บป่วย

อย่างที่กล่าวข้างต้นถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่เร่งรีบในปัจจุบัน จนทำให้ต้องบริโภคอาหารทำร้ายสุขภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการทำร้ายไตเท่านั้น แต่ยังทำให้เป็นการสะสมความเครียดและเป็นที่มาของโรคต่างๆ ที่บางครั้งก็ไม่รู้ตัว เพียงส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้าด้วยอาการปวดเรื้อรัง หรือมีลักษณะของภูมิแพ้ที่กินยาแล้วก็เพียงบรรเทาแต่ไม่หายขาด ก็ต้องลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งเรื่องของอาหาร ทำจิตใจให้สบายเพื่อไม่ให้เกิดความเครียด หมั่นออกกำลังกายทุกสัปดาห์

แต่ถ้าไม่ดีขึ้น อาจจะขอคำปรึกษาที่ ‘Wellness Center’ ของโรงพยาบาลสินแพทย์รามอินทรา ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพเชิงรุกโดยใช้หลักเวชศาสตร์บูรณาการ Integrative Medicine ให้การดูแลโดยแพทย์อายุกรรมที่จบการศึกษาเวชศาสตร์ชะลอวัยจาก The American Academy of Anti Aging Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกา และ World Society of Anti Aging Medicine แห่งทวีปยุโรป โดยบูรณาการการรักษาร่วมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอายุรกรรม

อย่ารอให้ถึงวันที่คุณหมอวินิจฉัยว่าเราคือผู้ป่วย เพราะการมีสุขภาพแข็งแรงที่จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีนั้น ทุกคนสามารถเลือกได้

สนใจโปรแกรม Wellness คลิกที่นี่ https://bit.ly/3C7Xy0j

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image