เริ่มต้นที่การให้‘ลอตเตอรี่พลัส’ ร่วมเดินทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

เพราะ ‘ภาวะโลกร้อน’ มีสาเหตุหลักมาจากมนุษย์ ทุกภาคส่วนทั่วโลกโดยเฉพาะภาคธุรกิจจึงร่วมช่วยกันหาแนวทางบรรเทา เพื่อมีส่วนร่วมในการปรับสมดุลทางธรรมชาติ จนเกิด เป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ขึ้น ซึ่งคำนิยามของคำว่า ความยั่งยืน หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน ถูกนิยามโดยคณะกรรมาธิการโลกด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ที่ให้คำนิยามไว้ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน โดยไม่ทำให้การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นถัดไปนั้นลดลง 

แต่ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้องมีแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งแนวทางนั้นคือการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการมีธรรมาภิบาล (Governance) หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า ESG ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ที่จะช่วยลดผลกระทบกับทุกคนในสังคม ให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่แบบระยะยาวไปถึงคนรุ่นต่อไปในอนาคต   

ที่ผ่านมาภาคธุรกิจของไทย รวมถึงภาคการเงินและธนาคารต่างๆ มีความตื่นตัวและพัฒนาความยั่งยืนในแต่ละมิติ ซึ่งหนึ่งในภาคการเงินที่หลายคนรู้จักนั่นก็คือ บริษัท ลอตเตอรี่พลัส จำกัด ภายใต้การนำทัพของ ‘นอท – พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนเช่นกัน โดย เริ่มต้นจากการ “ให้”  

Advertisement

“ให้” คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่ออนาคตของชาติ และของโลก

เมื่อคุยถึงเรื่องภาวะโลกร้อน CEO ลอตเตอรี่พลัส บอกว่า ตัวเขาเองให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย และคิดหาแนวทางเพื่อร่วมบรรเทา ซึ่งเขาเล็งเห็นว่า “การศึกษา” และ “การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” คือสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อคนได้รับการพัฒนา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ย่อมรู้ถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมา และให้ความร่วมมือโดยไม่ต้องบังคับ

“เราจะไปเปลี่ยนความคิดใครไม่ได้หรอก แต่ปลูกฝังเขาได้” 

Advertisement

 ดังนั้น สิ่งที่ พันธ์ธวัช ทำ คือการลงมือทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง เริ่มจากการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารเรียน การมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การสร้างห้องน้ำ การติดโซลาเซลล์ ฯลฯ โดยตั้งเป้าว่าหลังจากนี้จะไปช่วยเหลือเดือนละ 1 โรงเรียน

หนึ่งในโรงเรียนที่ พันธ์ธวัช เคยเข้าไปให้ความช่วยเหลือ คือ โรงเรียนบ้านเขามุสิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ติดต่อไปตอนที่พันธ์ธวัชไลฟ์สดอยู่ ว่าทางโรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์ที่จะมาช่วยเด็กทำการเกษตร คือแผงโซลาร์เซลล์กับปั๊มน้ำ 

ซึ่งทางอาจารย์คิดค้นให้มีกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ทำการเกษตร เพื่อให้เด็กมีทักษะอาชีพ ได้มีโอกาสเท่ากับเด็กในเมือง มีทักษะการเรียนรู้นอกเหนือจากในวิชาเรียน และคิดว่าการเกษตรสามารถตอบโจทย์ได้ในอนาคต 

มอบความช่วยเหลือ ให้โรงเรียนบ้านเขามุสิ จังหวัดกาญจนบุรี

เช่นเดียวกับ โรงเรียนวัดใดยาว จังหวัดลพบุรี ที่ขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คุณครูต้องสอนคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนด้วยกระดาษ พันธ์ธวัช จึงเข้าไปช่วยสร้างอาคารศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยี ศูนย์

การเรียนรู้ให้เด็กๆ และนำคอมพิวเตอร์มาให้คุณครูเพื่อใช้สอนเด็กๆ ต่อไป

 “สิ่งที่เราช่วยอาจจะดูเล็กน้อย ไม่ได้มากมายอะไร แต่ผมคิดว่าเงินเพียงเล็กน้อยที่เราบริจาคมา จะช่วยสานต่อทั้งความฝันของเด็ก รวมทั้งอาจารย์และผู้อำนวยการได้”

 อีกโรงเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือคือ โรงเรียนบ้านแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีห้องน้ำเพียง 2 ห้อง ไม่เพียงพอต่อการใช้งานที่นักเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้น อีกทั้งห้องน้ำมีอายุการใช้งานค่อนข้างนานและชำรุด สุขภัณฑ์ชำรุด ไม่มีฝาชักโครก ประตูปิดไม่สนิท นักเรียนหญิง

ที่เข้าไปรู้สึกไม่ปลอดภัย ทางโรงเรียนได้รับงบจัดสรรจาก สพฐ. แต่สุดท้ายงบที่ได้มาไม่เพียงพอต่อการซ่อมแซมและปรับปรุง 

ซึ่งคุณครูเห็นผ่านทางโซเชียลที่ทางลอตเตอรี่พลัสได้ไปบริจาคเรื่องทุนการศึกษา หรือไปทำบุญต่างๆ จึงทำหนังสือขอไปและได้การตอบรับมา ซึ่งรู้สึกดีใจมาก โดยได้รับทุนเพื่อสร้างห้องน้ำ ทางโรงเรียนจึงนำไปสร้างห้องน้ำส่วนหนึ่ง และแบ่งไปทำกระเบื้องอาคาร เนื่องจากเดิมเป็นพื้นปูน พร้อมทั้งสนามเปตอง ซึ่งเป็นกีฬาที่นักเรียนชื่นชอบ แต่ไม่มีสนามในการเล่นและซ้อม ซึ่งได้มาพร้อมทั้งประตูอาคารเรียน 2 ประตู ทำให้คุณภาพชีวิตนักเรียนดีขึ้น ระยะทางที่นักเรียนจะต้องเดินเข้าห้องน้ำก็ร่นระยะทาง ทำให้สะดวกในการจัดการเรียนการสอน ไม่ได้เสียเวลาไปกับการเข้าห้องน้ำ 

 “ตอนที่ผมมาคุยกับ ผู้อำนวยการโรงเรียนครั้งที่แล้ว โรงเรียนได้งบมาสร้างอาคาร แต่เป็นอาคารที่ไม่มีห้องน้ำ และเคยมีเรื่องดราม่า

ว่าจ้างครูได้เงินเดือนน้อย เพราะเกิดจากข้อจำกัดตรงนี้ด้วย สิ่งที่จำเป็นที่สุดในประเทศสำหรับผมมองอยู่ 2 อย่าง 1. ครู 2. ตำรวจ ครูจะมีพลังไปสอนนักเรียนได้ยังไง ถ้าเขายังลำบากอยู่ จะให้ตำรวจไปปกป้องกฎหมาย แต่เงินเดือนน้อยมาก มันจะเป็นไปได้ยังไง โรงพยาบาล โรงเรียน ถ้ามีอะไรขาดเหลือแล้วติดต่อมา ถ้าเราสามารถสนับสนุนได้ เราก็จะสนับสนุน ประเทศชาติไม่ได้พัฒนา

แต่ผู้ใหญ่ แต่ประเทศชาติพัฒนาจากเด็กที่กำลังจะโตขึ้นไป  “ล่าสุดที่ไปมา 3 – 4 โรงเรียน ผมเคยได้คุยกับผู้อำนวยการ

โรงเรียนเล็กๆ โรงเรียนหนึ่งแล้วพบว่า ค่าใช้จ่ายที่มันผูกพันจริงๆ จะเป็นพวกค่าจ้างครูอัตราจ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ เลยมองเห็นว่าถ้าสมมติเราใช้เทคโนโลยีอย่างโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยให้เขาไม่เสียค่าไฟได้ 

มันจะช่วยประหยัดได้ในระยะยาวทั้งปี อีกทั้งยังรักษ์โลกด้วย อย่างโรงเรียนที่ขอนแก่น เราก็ไปสร้างห้องน้ำให้เขาประมาณ 5 แสนกว่าบาท ซึ่งเด็กๆ ที่เคยใช้ห้องน้ำเก่าๆ ภาพมันก็ดีขึ้น และเขาก็มีความสุขมากขึ้น” 

“ผมไปสร้างห้องน้ำ ให้โรงเรียนที่ขอนแก่น ประมาณ 5 แสนกว่าบาท เด็กๆ ที่เคยใช้ห้องน้ำเก่าๆ เขาก็มีความสุขมากขึ้น”

“โลกใบนี้มีใบเดียว ทรัพยากรมันก็ลดน้อยลงทุกวัน อะไรประหยัดได้ก็ประหยัด อะไรช่วยโลกได้ก็ช่วย” “ให้” แก้วคนในองค์กร ปลูกฝังรักษ์สิ่งแวดล้อม

เมื่อให้ความช่วยเหลือในภาคสังคมแล้ว สิ่งที่ พันธ์ธวัช ทำอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอดควบคู่กันก็คือ การให้ความใส่ใจ “คนในองค์กร” ซึ่งสิ่งที่เขามอบให้ สอดคล้องกับแนวทาง ESG ด้าน ธรรมาภิบาลและสิ่งแวดล้อม พันธ์ธวัช ปลูกฝังคนในองค์กรให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม โดยแจกแก้วให้พนักงานทุกคน เพื่อนำมาเติมกาแฟฟรีที่บริษัท มีนโยบายให้พนักงานช่วยกันแยกขยะแต่ละประเภทก่อนทิ้ง สิ่งใดนำกลับมาใช้ใหม่ได้ให้นำกลับมาใช้

 “เราก็ปลูกฝังเขา อย่างทำแก้วเก็บความเย็นแจกให้คนละใบ ถ้าไม่มีแก้ว คุณมาเอากาแฟไม่ได้นะ วันนึงเราเลี้ยงกาแฟ 2 แก้ว เขาก็จะต้องดูแล รวมถึงหลอดของเขาด้วย พยายามปลูกฝัง เราจะไปเปลี่ยนความคิดใครไม่ได้หรอก แต่เด็กสมัยนี้ค่อนข้างเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ทำให้คุยง่าย ส่วนใหญ่ผมจะบอกว่า เฮ้ย! เดี๋ยวเต่าตาย อย่าไปใช้หลอดพลาสติก ส่วนเรื่องงาน เราไม่จำเป็นต้องปรินต์กระดาษอะไรมากมาย เพราะทำงานออนไลน์ ส่วนขยะเราก็ให้เขาแยกขยะตามปกติ”

สำหรับเรื่องลอตเตอรี่ ที่แม้ พันธ์ธวัช จะมีแพลตฟอร์มออนไลน์ในการจำหน่าย แต่ก็มีลอตเตอรี่จริงที่เป็นกระดาษอยู่ ซึ่งในเวลานี้

มีลอตเตอรี่จำนวนกว่า 200 กว่าล้านใบ ที่เขาเก็บไว้ในโกดัง พันธ์ธวัช บอกว่าต้องเก็บไว้ประมาณ 1 ปี เพื่อพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า  เขาขายลอตเตอรี่จริง ไม่ได้ขายลอตเตอรี่เงา โดยเล็งหนทางการไปต่อของกระดาษลอตเตอรี่เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อโลกมากที่สุด หรือทำลายโลกน้อยที่สุด โครงการที่เขาเล็งไว้คือ การนำลอตเตอรี่ ไปพับเป็นดอกไม้จันทน์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ต้องทำลายโลก 

“เราจะไปเปลี่ยนความคิดใคร ไม่ได้หรอกแต่เด็กสมัยนี้ ค่อนข้างเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้คุยง่าย ส่วนใหญ่ผมจะบอกว่า เฮ้ย ! เดี๋ยวเต่าตาย อย่าไปใช้หลอดพลาสติก”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image