Next Step เดลต้า การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

แนวโน้มเศรษฐกิจและความท้าทายในปี 2024 ทั้งจากเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ อัตราเงินเฟ้อ ยังไม่คลี่คลาย แต่ด้วยประสบการณ์ในสังเวียนธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ “นายแจ็คกี้ จาง” ประธาน บริษัท เดลต้า ประเทศไทย มองข้ามชอตไปถึงการเปลี่ยนผ่านธุรกิจในอนาคต สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยวางเป้าหมายสเต็ปแรก สู่พลังงานหมุนเวียน 100%  หรือ RE 100 ในปี ค.ศ. 2030 ก่อนที่จะขยับ เป็น Net zero ในปี 2050 

Delta เดินหน้า RE100

นายจาง เล่าว่า ในส่วน RE 100 บริษัทเราพยายามคุยกับภาครัฐหลายส่วนงาน เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบ เพราะปัจจุบันกฎเหล่านี้ยังไม่เอื้อให้เอกชนสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดเรื่องการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA ) ซึ่งยังต้องวางระบบ ว่าพลังงงานที่ผลิตจากแหล่ง RE จะส่งผ่านไปยังกริดอย่างไร เรื่องนี้เป็นหนึ่งประเด็นที่ยังคอนเซิล เพราะว่าลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ต้องการให้ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นจากโซลาร์หรือจากลม 

เขาเล่าว่า สินค้าบางส่วนที่บริษัทแม่ที่ไต้หวัน ต้องผลิตเพื่อส่งให้กับลูกค้าระดับโลก ได้รับการเรียกร้องจากลูกค้าให้มีการใช้ RE 100 โดยจะเริ่มปีนี้ แต่เมืองไทยยังทำ RE 100 ไม่ได้ ดังนั้นระยะสั้นบริษัทจึงต้องไปใช้การซื้อขายและขอใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น เพื่อจะขยับให้เข้าใกล้สู่ RE 100 มากขึ้น 

Advertisement

แต่จริง ๆ เดลต้าก็ทำได้ และค่อนข้างจะเกินกว่าแผนเดิม อย่างปีที่แล้วเราตั้งเป้าหมายจะทำ RE 15% แต่ในความเป็นจริงบริษัทสามารถทำ RE 17% ได้ 

ส่วนปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ RE 25% แต่แผนงานที่มีอยู่ในมือตอนนี้คาดว่าเราจะวิ่งได้ถึง RE 40% ส่วนการที่จะไปถึง RE100 หรือไม่ เดลต้าพร้อมจะลงทุนมาก ๆ  เรื่อง RE 100 เป็นความต้องการของลูกค้า แต่อีกส่วนก็สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรเราในการที่จะมุ่งมั่นสร้างสรรค์ในการใช้พลังงานสะอาด ในการที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น  

โรดแมปสู่กรีน

Advertisement

เรื่องนี้สอดคล้องกับโรดแมปการเปลี่ยนผ่านสู่กรีน หรือ Green Transformation Roadmap ซึ่งนอกจาก RE 100 จริงแล้วมองว่าการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charging Infrastructure เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าบริษัทต้องร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในการเปิดตลาดตรงนี้ ในอาเซียนและประเทศไทย เพราะว่าคนซื้ออีวีตอนนี้ไม่มีที่ชาร์จก็เกิดความไม่สะดวกและไม่มั่นใจ นี่จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่บริษัทจะช่วยสนับสนุน เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ 

“ปัจจุบันเดลต้าติดตั้งชาร์จอีวีไปแล้ว 2 ล้านเครื่องทั่วโลกเรียกได้ว่าเป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ที่จะเจาะตลาด ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย อินโดนีเซียและในไทย ซึ่งเราหวังว่านี่จะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียว”

ในเรื่องชาร์จจิ้งนี้ เดลต้าซัพพอร์ตโครงการทั้ง Public Charging หรือ Residential Charging ตามที่พักอาศัย หรือช็อปปิ้งซึ่งผู้ใช้อาจจะมีความกังวลเรื่องข้อจำกัดของกำลังไฟฟ้า เดลต้ามีบริการเข้าไปช่วยลูกค้าออกแบบและติดตั้ง ตัวอัดประจุชาร์จไฟที่จะเหมาะสมกับโครงการแต่ละประเภท

นอกเหนือจาก RE100 จะมีตัว EV100 เป็นอีกหนึ่งอินิชิเอทีฟของเดลต้า  บริษัทต้องการจะจัดหารถอีวีในตลาด ไม่ว่าจะเป็นรถบัสหรือรถตู้ เพื่อสนับสนุนการใช้งานภายใน  

แนวโน้มราคาอุปกรณ์อีวีถูกลง

นายจางมองว่า แนวโน้มราคาอุปกรณ์อีวีก็สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว คือความต้องการกำลังไฟที่มากขึ้นและฟุตพรินต์ที่น้อยลง และมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนมากขึ้น เช่น ตัวชาร์จ ก่อนหน้านี้ เป็นตัว 7.2 กิโลวัตต์ กระแสสลับ ปัจจุบันตัวที่ 22 กิโลวัตต์ ที่เรียกว่า AC Max ที่กำลังไฟสูง ๆ ซัพพอร์ตในสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ 200-250-350 กิโลวัตต์ ลูกค้าต้องการ Cost Efficiency ดีกว่าเดิม

ลุยธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ 

เดลต้าเอ็นเกจในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์อยู่แล้ว กับลูกค้าหลักในยุโรปและสหรัฐ ปัจจุบันก็พยายามจะขยายตลาดเพื่อจะซัพพอร์ตดาต้าเซ็นเตอร์อินเวสต์เมนต์ที่กำลังขยายมาในออสเตรเลีย สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย โดยกลุ่มธุรกิจนี้เรียกว่า Data Center Infrastructure เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำเพื่อซัพพอร์ตการลงทุนของเมเจอร์ไฮเปอร์สเกลเลอร์ที่มาขยายในภูมิภาคนี้คิดว่าอัตราเติบโตค่อนข้างสดใส 

ปัจจุบันก็มีบาง GDPR หรือ General Data Protection Regulation ซึ่งพยายามจะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้กักเก็บอยู่ในประเทศที่มีการใช้งานจริง ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นหนึ่งกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบที่จะทำให้แต่ละประเทศต้องมีการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น มากกว่าจะปล่อยให้ข้อมูลของประชากรไปอยู่ในฐานข้อมูลที่อยู่ในประเทศอื่น หรือว่าอีกตัวคือ Edge Data Center ใกล้กับจุดที่มีการใช้งานจริง มากกว่าจะอยู่ในฮับที่อยู่ไกลออกไป ตรงนี้จะเป็นอีกตัวที่ทำให้เกิดดีมานด์การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น หรือเทคโนโลยี 5G หรือยานยนต์ไร้คนขับ ต้องการการสื่อสารแบบเรียลไทม์ หรือต้องการความหน่วงที่ต่ำมากก เพราะสื่อสารล่าช้าจะทำให้การสื่อสารสะดุด ดังนั้นจึงมีต้องดาต้าเซ็นเตอร์มารองรับการใช้งาน 

“เดลต้าร่วมกับพันธมิตรซัพพอร์ตโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ในอาเซียนอยู่หลายโครงการในปัจจุบัน โดยเรามีผลิตภัณฑ์รองรับ พาวเวอร์ แมเนจเมนต์โซลูชั่น ไม่ว่าจะเป็นระบบ การคูลลิ่งซิสเต็ม การบริหารความร้อนในดาต้าเซ็นเตอร์ UPS ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราทำซัพพอร์ตอยู่”

ภาพสรุปปีนี้

ปี2024 เดลต้ายังมีความมั่นใจว่าธุรกิจจะเติบโตในทางที่สดใส เพราะ ข้อหนึ่ง เทคโนโลยีที่ทำตอนนี้มุ่งไปสู่เมกะเทรนด์ทั้งหมด ยกตัวอย่าง การขับเคลื่อนโดยไม่มีคน หรือเรื่องของธุรกิจเกมมิ่ง หรือเทคโนโลยีเพื่อรองรับการทำงานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ต่างๆ ซึ่งพวกนี้เป็นพวกที่ต้องการพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และก็มีการพัฒนาเพื่อซัพพอร์ตเทคโนโลยีต่าง ๆ  จึงมีความมั่นใจในสัญญาณเชิงบวกสำหรับในระยะกลางและระยะยาว 

ข้อสอง เดลต้าโฟกัสเป้าหมายเรื่องการลงทุนในคนต่อไป ทรัพยากรด้านวิศวกรของประเทศ เป็นประโยชน์กับบริษัทและประเทศด้วย จากที่มีโอกาสพบกับทางท่านนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน คืออยากดึงเซมิคอนดักเตอร์มาลงทุนในไทย ต้องมีรากฐานที่เข้มแข็งปูพื้นไว้ก่อน เพราะไม่อย่างนั้นถ้าทุนมาก็ไม่มีโอกาส ไม่มีทุนนี้ไปซัพพอร์ตการลงทุนพวกนั้น เดลต้า พร้อมจะเป็นแอมบาสซาเดอร์ในการดึงนักลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์และออโตโมทีฟมากขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image