พลัง การเมือง นิว โหวตเตอร์ ‘รุ่นใหม่’ กับการเลือกตั้ง

คอลัมน์หน้า 3 : พลัง การเมือง นิว โหวตเตอร์ ‘รุ่นใหม่’ กับการเลือกตั้ง

คาประกาศปักธงที่ขอนแก่นและ ตะลุยไปยึดครองตลอด 130 เขต ภาคอีสานจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นคำประกาศอันทรง ความหมาย

เท่ากับ “ท้าทาย” ไปยัง “เพื่อไทย”

เป็นคำประกาศภายหลังจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ควงแขน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ลงไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ประสานกับการปักหลักที่ภาคเหนือ ตอนบนของ “ผู้กอง”

Advertisement

ความหมายจึงมิได้สร้างความมั่นใจว่า ไม่เพียงแต่พรรคพลังประชารัฐจะ ความหมายจึงมิได้สร้างความมั่นใจ รุกคืบไปในพื้นที่ภาคเหนืออย่างเอาการเอางาน

หากแต่ “อีสาน” ก็ไม่ยอม “ปล่อยวาง”

นี่ย่อมเป็นสัญญาณสงตรงไปยัง พรรคเพื่อไทย เพราะว่าฐานอันแข็งแกร่ง ของพรรคเพื่อไทยคือภาคอีสานและภาคเหนือ

Advertisement

สัญญาณนี้คือ คำประกาศการรบครั้งใหญ่

พลันที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มีผลทางการปฏิบัติ โดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน เป็นต้นไป

นี่คือ การพลิกเปลี่ยน “ระบบ” เลือกตั้ง

อย่างน้อยก็พลิกเปลี่ยนจากที่เคยใช้ใน การเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 เข้าไป อยู่ในพิมพ์เดียวกับการเลือกตั้งเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2548

นี่ย่อมจุดประกายแห่ง “ความหวัง” ให้กับพรรคเพื่อไทย

เพราะในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ชัยชนะ 377 เสียงของ พรรคไทยรักไทยได้นำไปสู่มิติการเมือง 2 พรรค

นั่นคือ พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์

ขณะที่พรรคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทย ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติพัฒนา ได้กลายเป็นพรรคระดับท้องถิ่น พรรคระดับจังหวัด

เนื่องจากอิทธิฤทธิ์ของ 400 เขต 100 บัญชีรายชื่อ

คำถามก็คือ ผลสะเทือนจากการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2544 จะส่งผลให้กับการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้มากน้อยเพียงใด

เหมือนกันโอกาสจะอวยให้กับ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ

กระนั้น ก็ไม่สามารถมองข้ามบทบาท และความหมายของ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคก้าวไกลไปได้เป็นอันขาด

เพราะเวลาจากเดือนมีนาคม 2562 อยู่ ในความเปลี่ยนแปลง

ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงอันทำให้ “ภูมิทัศน์” ทางการเมืองแตกต่างไปจาก สภาพที่ดำรงอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะการดำรงอยู่ของ “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560”

โดยเฉพาะการลุกขึ้นมาสร้างบทบาทในแบบพายุกระหน่ำอย่างใหญ่หลวงนับ แต่มีการยุบพรรคอนาคตใหม่ในเดือน กุมภาพันธ์ 2563

เป็นการลุกขึ้นมาของ “คนรุ่นใหม่”

แม้บทบาทของ “คนรุ่นใหม่” จะดำเนินไปอย่างอึกทึกครึกโครม แต่ก็ต้องยอมรับต่อการดำรงอยู่ของ “คนรุ่นเก่า” ว่าไม่น้อยด้วยปริมาณ

พรรคใดยึดครอง “เขต” ได้มาก หมาย ถึง “ชัยชนะ”

ขณะเดียวกัน ก็มองข้ามบทบาทของ “นิวโหวตเตอร์” ทั้งในระดับเขต และในระดับบัญชีรายชื่อไม่ได้เหมือนกัน

คำถามอยู่ที่ว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผล สะเทือนอย่างไรต่อการเลือกตั้ง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image