จุดเปลี่ยน เส้นแบ่ง สุจิตต์ วงษ์เทศ หักเลี้ยว ในทาง ‘ความคิด’

หากการเสนอบทเรียนจากหนังสือ “6 ตุลา ลืมไม่ได้จำไม่ลง” ของ ธงชัย วินิจจะกูล ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งในทางความคิด

ต่อ “ทานตะวัน” ต่อ “แบม”

หากการจัดรายการ “ทอดน่อง” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ และ ขรรค์ชัย บุนปาน ส่งผลสะท้อนอย่างลึกซึ้งในทางความคิด

ต่อเยาวชนอย่าง “ไอติม พริษฐ์” คำถามก็คือ แล้วรากฐานแห่ง “ผลสะเทือน” ในทางความคิดของ สุจิตต์
วงษ์เทศ ขรรค์ชัย บุนปาน และ ธงชัย วินิจจะกูล ดำเนินมาอย่างไร

Advertisement

คำตอบอาจเห็นจาก “ทวาทศมาส” คำตอบอาจสัมผัสได้จาก “สุนทรภู่”

ขณะเดียวกัน หากสืบสาวไปยังบรรยากาศอันดำรงอยู่ภายในหมู่ “นักเรียน” ของสวนกุหลาบวิทยาลัยก่อนเดือนตุลาคม 2516 ก็จะเข้าใจ

“รากฐาน” จึงสำคัญและทรงความหมาย

Advertisement

หากใครมีหนังสือ “อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย” อันเป็นงานล่าสุดของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ก็จะสัมผัสได้ในร่องรอย

ร่องรอยแห่ง “ความคิด” ร่องรอยแห่ง “รากฐาน”

เป็นรากฐานจากความเป็น “เด็กวัด” เป็นรากฐานจากการศึกษาและร่ำเรียนในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

เป็นรากฐานจากการเป็น “นักหนังสือพิมพ์”

แต่ที่ไม่ควรมองข้ามยังเป็นหลังอ่านหนังสือเรื่อง “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯ”
ของ จิตร ภูมิศักดิ์

(เขียนในคุกก่อน พ.ศ.2509พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519)

ความคิดของผมทางภาษาและวรรณกรรมไทย (รวมทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี) ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

นี่ย่อมสะท้อนอาการอย่างที่เรียกว่า “คิดตก”

หากมองจากศัพท์สำนวนในทาง “เซน” นี่ย่อมเป็นลักษณะแห่ง “ซาโตริ” อย่างแหลมคมยิ่ง

นั่นก็คือ เกิดอาการ “ตื่นรู้”

คอกำลังภายในอาจเกิดนัยประหวัดไปยัง “สภาพ” และ “อาการ” เดียวกัน ของจอมยุทธ์โดดเดี่ยวอย่าง “อาฮุย”

เมื่อเดินออกจากเรือนของ “เซียวลิ้มยี่”

ว. ณ เมืองลุง ถอดความจากการสรุปของ “โกวเล้ง” ว่า เป็นอาการ “คิดตก” ของอาฮุยอันทรงความหมายยิ่ง

เทียบระดับเดียวกับ “องค์ศากยมุนี”

บทบาทของ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯ” บทบาทของ จิตร ภูมิศักดิ์ จึงใหญ่หลวง

ใหญ่หลวงต่อ สุจิตต์ วงษ์เทศ

จุดตัดของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กลายเป็น “เส้นแบ่ง” ในทางความคิดและส่งผลสะเทือนต่อการทำงาน

“สำคัญ” และทรง “ความหมาย” การดำรงอยู่ของ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอมฯ”
ก็ทรงความหมายและสำคัญ

นั่นก็อยู่ที่มี “ความเป็นมา”อย่างไร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image