น.3คอลัมน์ : ปัจจัย ตัวแปร กำหนด เกม เลือกตั้ง กำหนด กระแส

กฎ กติกา และโครงสร้างของการเลือกตั้ง อาจเป็นเครื่องมือ 1 ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญ ต่อการเลือกตั้งว่า จะดำเนินไปในทิศทางอย่างไร

แต่เรื่องนี้ก็สามารถ “แก้” ได้

ดังที่มีการแตกพรรคจาก 1 เพื่อไทย ไปเป็น 1 เพื่อธรรม และไปเป็น 1 เพื่อชาติ และยิ่งหากนับเอา 1 ประชาชาติเข้ามาอีก

ยิ่งเห็นถึง “กลยุทธ์” และความพยายาม

Advertisement

กระนั้น ที่สำคัญมากยิ่งกว่าน่าจะเป็นในเรื่องการสร้างกระแสเพื่อกำหนดให้ทิศทางของ “การเลือกตั้ง” ดำเนินไปอย่างไร

เหมือนที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง มาพร้อมกับ “ฝาเข่ง”

เหมือนที่ นายทักษิณ ชินวัตร มาพร้อมกับคำว่า “คิดใหม่ ทำใหม่” อันมีพื้นฐานมาจากการคิดนอกกรอบจากความเคยชินทางการเมืองเก่า

Advertisement

และกำชัยอย่างถล่มทลายเมื่อเดือนมกราคม 2544

ต้องยอมรับว่าการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ได้นำไปสู่ “แนวโน้ม” บางแนวโน้มในทางความคิดที่ทวีความแหลมคมมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

แนวโน้มนี้เหมือนกับจะเริ่มจาก นายพิชัย รัตตกุล

นั่นก็คือ ข้อเสนอด้วยความห่วงใยที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรจะจับมือกับพรรคเพื่อไทยและก่อรูปพันธมิตรในทางการเมืองเพื่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.

เท่ากับตีเข้าตรงจุด

เพราะว่าการดำรงอยู่ของ คสช.นับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 จนกระทั่งผ่านเดือนพฤษภาคม 2561 มาแล้วหลายเดือน

เด่นชัดว่าดำรงอยู่บนฐานความขัดแย้ง แตกแยก

เป็นความขัดแย้งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จุดขึ้นก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และ กปปส.ขยายผลให้ใหญ่โตมากยิ่งขึ้นก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

กลายเป็น “ภักษาหาร” อันโอชะของ “คสช.”

บทสรุปจาก นายพิชัย รัตตกุล ได้รับการขยายอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นจาก ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักกฎหมายผู้มากด้วยความจัดเจนในทางการเมือง

นั่นก็คือ การก่อรูปของ 2 ความคิด

ความคิด 1 คือ ความคิดที่จะนำไปสู่การสืบทอดอำนาจของ คสช.บนรากฐานแห่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกัน

เท่ากับเป็นการรักษา “อำนาจ” ของ คสช.ให้ยาวนานออกไป

ขณะเดียวกัน ความคิด 1 คือ การนำเสนอให้เห็นว่า ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในสังคมขณะนี้มิได้เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนต่อประชาชน

หากเป็นความขัดแย้งระหว่าง “คสช.” กับ “ประชาชน”

หากเป็นความขัดแย้งระหว่างอำนาจของ คสช.ที่ได้มาจากการรัฐประหาร แล้ววางกฎกติกาผ่านรัฐธรรมนูญเพื่อการสืบทอดอำนาจต่อไปบนความสูญเสียสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

หากประชาชนไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันก็ยากที่จะเอาชนะได้

คําถามอยู่ที่ว่าพรรคและกลุ่มการเมืองใดจะนำเสนอความขัดแย้งที่เป็นจริงให้อยู่ในความเชื่อและความคิดของประชาชนได้

เป็น “คสช.” หรือว่าเป็นคู่ต่อกรกับ คสช.

คำถามอยู่ที่ว่าใครจะเป็นฝ่ายก่อกระแสระหว่างฝ่ายที่ต้องการสืบทอดอำนาจกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจ

“กระแส” ตรงนี้แหละจะเป็นปัจจัยกำหนด “เกม”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image