พร้อม พรก.ฉุกเฉิน มาตรการเยียวยา ผู้ประสบภัยไวรัส

พร้อม พรก.ฉุกเฉิน มาตรการเยียวยา ผู้ประสบภัยไวรัส

พร้อม พรก.ฉุกเฉิน มาตรการเยียวยา ผู้ประสบภัยไวรัส

พร้อมกับการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ครั้งนี้รัฐบาลมีมาตรการเยียวยา-รองรับผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและปากท้องมาด้วย

แยกเป็นสองกลุ่มใหญ่

Advertisement

กลุ่มแรก-ผู้ประกอบอาชีพะอิสระที่ตกงานหรือว่างงาน ทั้งชั่วคราวและถาวร คาดว่าจะมีประมาณ 3 ล้านคน ได้แก่

1.สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน เฉพาะแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

ส่วนผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มให้กรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงานรับเงิน ไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน

Advertisement

2.สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อรายโดยไม่ต้องมีหลักประกัน วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน

3.สินเชื่อพิเศษ 5 หมื่นบาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน โดยต้องมีหลักประกัน

4.สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2 พันล้านบาท คิดดอกเบี้ยจากประชาชนอัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน

5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออกไปเป็นเดือน ส.ค.63

6.เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท

7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์

8.ฝึกอบรมมีเงินใช้ เพิ่มทักษะอาชีพ รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้

ขั้นตอนการขอรับเงินเยียวยาดังนี้คือ

– ลงทะเบียน ตรวจสอบคุณสมบัติ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com หรือยื่นคำร้องผ่านธนาคารของรัฐ ที่ธนาคารออมสิน กรุงไทย, ธ.ก.ส. อย่างไรก็ตาม ได้แนะนำให้
ยื่นผ่านเว็บไซต์ เพื่อลดการพบปะคนอื่น

– ยื่นเอกสารประกอบ บัตรประชาชน พร้อมเพย์ เอกสารนายจ้าง (ถ้ามี)

– ยื่นคำร้องเหตุผลที่ขอการช่วยเหลือ

– หลังจากยื่นเอกสาร ได้รับเงินภายหลังจากยื่นเอกสาร 5 วัน โดยนำเงินเข้า พร้อมเพย์ หรือโอนผ่านบัญชี

กลุ่มที่สอง-ผู้ประกอบการ ได้แก่

2.1 สินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบได้แก่ ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง (รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า) บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ต่อรายไม่เกิน 3 ล้านบาท

2.2 เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.3 เลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษีทุกประเภทที่กรมสรรพากรจัดเก็บ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

2.4 ขยายเวลาการชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

2.5 ขยายเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีของสถานบริการ สถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากการให้ปิดสถานที่ ได้แก่ ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ ค็อกเทลเลานจ์ โดยรวมถึงสถานที่ที่จำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานอาบน้ำหรืออบตัว และนวด สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ

2.6 ยกเว้นอากรขาเข้าของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา (COVID-19)

2.7 มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

(1) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้สำหรับ เงินได้ที่ได้จากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้

(2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้สำหรับเงินได้จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

(3) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้สำหรับเงินได้ที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ ที่จำนองเป็นประกันหนี้

(4) ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การ จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้สำหรับหนี้ที่เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้

นโยบายที่ครอบคลุมช่วยคลายความกังวลใจในเปลาะแรก

คำถามอยู่ที่การปฏิบัติ ว่าจะราบรื่นมีประสิทธิภาพเพียงใด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image