โศกนาฏกรรมโควิด สังเวยชีวิต สังเวยเศรษฐกิจ

โศกนาฏกรรมโควิด สังเวยชีวิต สังเวยเศรษฐกิจ

โศกนาฏกรรมโควิด สังเวยชีวิต สังเวยเศรษฐกิจ

ข่าวสะเทือนใจของวัน

คือข่าวการฆ่าตัวตายของ น.ส.ปลายฝน อ่ำสาริกา อายุ 20 ปี

ที่วาดภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

Advertisement

พร้อมข้อความระบายความในใจอย่างชวนสลดใจ

ข้อความ โดยรวมบ่งบอกความทุกข์ใจท่ี่ไม่มีเงินเหลือซื้อนมให้ลูกกิน ตัดพ้อต่อว่าการทำงานของรัฐบาลไปพร้อมกัน

บางข้อความโดยสรุป ดังนี้

Advertisement

เป็นภาพวาดที่วาดแล้วรู้สึกไม่อยากวาดต่อ เป็นภาพที่รู้สึกว่า วาดบนกระดาษแผ่นไหนก็ได้

วาดด้วยอารมณ์ที่ไม่มีเงิน ตังซื้อนมให้ลูกไม่พอ ค่านู่นค่านี่แพงไปหมด

วาดด้วยอารมณ์ที่ทำงาน 12 ชม.ต่อวัน แล้วไม่เหลือไรเลย

เห็นคนที่ต้องตาย เพราะไม่มีทางไปต่อ ฆ่าตัวตาย เพราะไม่เหลืออะไรเลย

คือยุคที่รู้สึกว่า รัฐบาลใจร้ายมาก

วาด เขียนรูปนี้ด้วยน้ำตา เสียใจ ร้องไห้ ที่ไม่เหลือเงินซื้อนมให้ลูกกิน

ฯลฯ

นายวิชัย เหมหิม อายุ 29 ปี แฟนหนุ่มของผู้เสียชีวิตเปิดเผยว่า

วันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา ทางญาติโทรหาตนบอกว่าให้พาน้องไปทำงานด้วย แต่ว่า ตนนั้นกำลังเข้าเวร ไม่สามารถพาไปได้

ขณะเดียวกัน ทางด้านน้องก็ร้องไห้หนักมากและพยายามอยากจะมาทำงานด้วย กระทั่งตนยอมให้มา

แต่ตนไม่สามารถจะขับรถออกไปหาได้ เนื่องจากตอนนั้นมันช่วงประมาณ 4 ทุ่ม ติดเคอร์ฟิว

เมื่อเลิกงาน ตนก็รีบกลับไปหาเลย แต่ว่าเคาะประตูยังไงก็ไม่เปิด จึงได้เรียกเพื่อนมา แล้วพังประตูเข้าไป ปรากฏว่า พบน้องได้ผูกคอเสียชีวิตแล้ว

ก่อนที่น้องจะเสียชีวิต น้องโทรไปหาปู่ แล้วร้องไห้บอกว่า คิดถึงลูก คิดถึงที่บ้าน

โดยเราตกลงกันเอาไว้ว่า วันที่ 30 นี้ จะกลับบ้านไปด้วยกัน แต่น้องก็ก่อเหตุเสียก่อน

สาเหตุนั้น น่าจะมาจากน้องเครียด เพราะว่าเพิ่งจะได้ทำงานเป็น รปภ. ไม่กี่เดือน ได้เงินไม่เต็มเดือน

และป่วยเป็นโรคประจำตัว จำเป็นต้องหยุดงาน

แต่ก็ต้องส่งเงินให้ลูกและครอบครัวที่ต่างจังหวัด

ซึ่งพอเกิดโควิด-19 ทางบ้านก็รายได้ลด เงินเยียวยา 5,000 ก็ไม่ได้

กรณีของ น.ส.ปลายฝน ไม่ใช่กรณีแรก ที่ผู้ใกล้ชิดกับผู้เสียชีวิตชี้ว่า การฆ่าตัวตายมาจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน โครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง ก็ระบุว่า

ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวลงหลังการระบาดของไวรัสโควิด-19

จำนวนผู้พยายามฆ่าตัวตายด้วยสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ

สูงเท่ากับจำนวนผู้เสียชีวิตจากตัวโรคระบาดเองแล้ว

แต่การฆ่าตัวตายด้วยสาเหตุเช่นนี้ สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีกได้

ด้วยมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพของรัฐ

มาตรการและกลไกที่ว่านี้จะมีประสิทธิภาพเพียงใด

ชีวิตและจำนวนโศกนาฏกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้จะเป็นตัวชี้วัด

หากคาดหวังว่าโศกนาฏกรรมเช่นนี้จะต้องไม่เกิดซ้ำ

ก็ต้องคาดหวังการเยียวยาที่ทั่วถึง เท่าเทียม และทันเวลาด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image